ตัวอย่างต้นยุคอ้างอิง
คริสต์ศักราชเป็นต้นยุคอ้างอิงของปฏิทินกริกอเรียนและปฏิทินจูเลียน
ก่อนปัจจุบัน (Before Present) อิงถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1950 ถูกใช้เป็นการระบุวันจากการหาอายุของคาร์บอน
การปฏิวัติซินไฮ่ถูกใช้เป็นต้นยุคอ้างอิงของปฏิทินหมินกั๋ว
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของรัตนโกสินทร์ศก

ในสาขาวิทยาการลำดับเวลาและการแบ่งยุค ต้นยุคอ้างอิง (อังกฤษ: epoch) หมายถึง เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและถูกเลือกให้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยหนึ่ง "ต้นยุคอ้างอิง" จึงเป็นเสมือนจุดอ้างอิงจากเวลาที่วัด หน่วยการวัดเวลาจะถูกนับจากต้นยุคอ้างอิง เพื่อที่ว่าวันที่และเวลาของเหตุการณ์จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน

ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนต้นยุคอ้างอิงนั้นสามารถกำหนดวันที่ได้โดยการนับย้อนหลังต้นยุคอ้างอิงไป แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้ว จะมีต้นยุคอ้างอิงนิยามไว้ในอดีต และต้นยุคอ้างอิงถูกใช้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยต่อไป จึงเป็นเสมือนจุดสิ้นสุดของยุคสมัยก่อนหน้าด้วย วัตถุประสงค์และเกณฑ์การนิยามดังนี้เพื่อสร้างความชัดเจนและประสานวิชาเกี่ยวกับช่วงเวลา ซึ่งในบางครั้งสามารถใช้ได้แก่ศาสตร์หลายแขนง

ต้นยุคอ้างอิงโดยทั่วไปแล้วจะถูกเลือกให้สะดวกหรือสำคัญโดยมติของผู้ใช้เดิมของมาตรกาล (time scale) หรือโดยคำสั่งของผู้ปกครอง ต้นยุคอ้างอิงมักถูกนิยามโดยเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง เงื่อนไขหรือเกณฑ์ ซึ่งช่วงเวลาหรือยุคสมัยนั้นมักถูกอธิบายหรือแสดงลักษณะ