ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนพระรามที่ 1"

พิกัด: 13°44′57″N 100°31′01″E / 13.749028°N 100.516806°E / 13.749028; 100.516806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bp101697 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 114: บรรทัด 114:
* เขตถนน 24.5-29 เมตร
* เขตถนน 24.5-29 เมตร
* ผิวจราจร 15.5-21.5 เมตร แบบแอสฟัลต์
* ผิวจราจร 15.5-21.5 เมตร แบบแอสฟัลต์
* จำนวนช่องจราจร 5 ช่อง (แยกกษัตริย์ศึกถึงแยกปทุมวัน และบริเวณ[[สถานีสยาม]]) และ 6 ช่อง (แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ ยกเว้นบริเวณด้านใต้ของสถานีสยาม)
* ทางเท้า ด้านซ้าย กว้าง 3.5-6 เมตร ด้านขวากว้าง 5 เมตร<ref>'''สถิติจราจร ปี 2548''' สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร</ref>
* ทางเท้า ด้านซ้าย กว้าง 3.5-6 เมตร ด้านขวากว้าง 5 เมตร<ref>'''สถิติจราจร ปี 2548''' สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร</ref>
* เกาะกลางถนน เป็นเส้นทางยกระดับของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] ตั้งแต่[[สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ]]ของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม|สายสีลม]] ถึงสี่แยกราชประสงค์ โดยถนนพระรามที่ 1 เป็นที่ตั้งของสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และ[[สถานีสยาม]] ซึ่งเป็นสถานีร่วมของสายสีลมและ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|สายสุขุมวิท]]
* เกาะกลางถนน เป็นเส้นทางยกระดับของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] ตั้งแต่[[สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ]]ของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม|สายสีลม]] ถึงสี่แยกราชประสงค์ โดยถนนพระรามที่ 1 เป็นที่ตั้งของสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และ[[สถานีสยาม]] ซึ่งเป็นสถานีร่วมของสายสีลมและ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|สายสุขุมวิท]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:09, 2 กุมภาพันธ์ 2566

พระรามที่ 1
ป้ายถนนพระรามที่ 1 บริเวณแยกราชประสงค์ พ.ศ. 2561
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1.756 ไมล์ (2.826 กิโลเมตร)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถนนบำรุงเมือง / ถนนรองเมือง ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถนนราชดำริ / ถนนเพลินจิต ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ถนนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ พ.ศ. 2549

ถนนพระรามที่ 1 (อักษรโรมัน: Thanon Rama I) เป็นถนนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) และไปสิ้นสุดที่ถนนราชดำริบริเวณสี่แยกราชประสงค์ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องออกไปคือถนนเพลินจิต

ประวัติ

ถนนพระรามที่ 1 เดิมชื่อ "ถนนปทุมวัน" สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนปทุมวัน ตั้งแต่สะพานยศเส (สะพานกษัตริย์ศึก) ถึงถนนราชดำริ เป็น "ถนนพระรามที่ 1" เพราะถนนสายนี้เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในสมัยธนบุรีใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินกลับจากราชการที่เขมรเข้ามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยผ่านเส้นทางถนนพระรามที่ 1 ผ่านจุดที่เป็นสะพานยศเสซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานกษัตริย์ศึก และได้ทรงพักทำพิธีสระสนานที่วัดสะแก ซึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็นวัดสระเกศ

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ถนนพระรามที่ 1 ทิศทาง: กษัตริย์ศึก – ราชประสงค์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
พระรามที่ 1 ถนนพระรามที่ 1 (กษัตริย์ศึก – ราชประสงค์)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกกษัตริย์ศึก เชื่อมต่อจาก: ถนนบำรุงเมือง
ถนนกรุงเกษม ไปสะพานขาว ถนนกรุงเกษม ไปถนนหลวง, ถนนพระรามที่4
สะพานกษัตริย์ศึก ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม
สะพานกษัตริย์ศึก ข้ามแม่แบบ:SRT Lines, แม่แบบ:SRT Lines
0+161 ไม่มี ถนนรองเมือง ไปถนนจรัสเมือง, ถนนเจริญเมือง
0+439 แยกพงษ์พระราม ถนนพระรามที่ 6 ไปอุรุพงษ์ ถนนพระรามที่ 6 ไปจารุเมือง
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 1 ไป เจริญผล
0+782 แยกเจริญผล ถนนบรรทัดทอง ไปสะพานเหลือง ถนนบรรทัดทอง ไปเพชรพระราม
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 1 ไป ปทุมวัน
1+500 แยกปทุมวัน ถนนพญาไท ไปราชเทวี ถนนพญาไท ไปสามย่าน
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 1 ไป เฉลิมเผ่า
2+100 แยกเฉลิมเผ่า ไม่มี ถนนอังรีดูนังต์ ไปอังรีดูนังต์
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 1 ไป ราชประสงค์
2+600 แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ ไปประตูน้ำ ถนนราชดำริ ไปศาลาแดง
ตรงไป: ถนนเพลินจิต
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

กายภาพ

  • ความยาว 2,826 เมตร จากสะพานกษัตริย์ศึก-ถนนราชดำริ
  • เขตถนน 24.5-29 เมตร
  • ผิวจราจร 15.5-21.5 เมตร แบบแอสฟัลต์
  • จำนวนช่องจราจร 5 ช่อง (แยกกษัตริย์ศึกถึงแยกปทุมวัน และบริเวณสถานีสยาม) และ 6 ช่อง (แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ ยกเว้นบริเวณด้านใต้ของสถานีสยาม)
  • ทางเท้า ด้านซ้าย กว้าง 3.5-6 เมตร ด้านขวากว้าง 5 เมตร[1]
  • เกาะกลางถนน เป็นเส้นทางยกระดับของรถไฟฟ้าบีทีเอส ตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติของสายสีลม ถึงสี่แยกราชประสงค์ โดยถนนพระรามที่ 1 เป็นที่ตั้งของสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีสยาม ซึ่งเป็นสถานีร่วมของสายสีลมและสายสุขุมวิท

สถานที่สำคัญ

หน่วยงานราขการ

  1. กระทรวงพลังงาน
  2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สถาบันการศึกษา

  1. โรงเรียนวัดชัยมงคล
  2. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

ศาสนสถาน

  1. วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม)
  2. วัดชัยมงคล (วัดช่างแสง)
  3. วัดปทุมวนาราม

ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า

  1. เทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 1
  2. เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
  3. สยามสแควร์
  4. สยามสแควร์วัน
  5. สยามดิสคัฟเวอรี
  6. สยามเซ็นเตอร์
  7. สยามพารากอน
  8. เซ็นทรัลเวิลด์

อาคารสำนักงาน

  1. อาคารศรีจุลทรัพย์
  2. เซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิสเศส

พิพิธภัณฑ์/หอศิลป

  1. พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน
  2. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สนามกีฬา

  1. สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)

โรงพยาบาล

  1. โรงพยาบาลตำรวจ

อ้างอิง

  1. สถิติจราจร ปี 2548 สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′57″N 100°31′01″E / 13.749028°N 100.516806°E / 13.749028; 100.516806