ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนพระรามที่ 1"

พิกัด: 13°44′57″N 100°31′01″E / 13.749028°N 100.516806°E / 13.749028; 100.516806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
}}
}}
{{ทางแยก | กม. = 2+826 | ขนาด = 2 | ชื่อ = [[แยกราชประสงค์]] | ซ้าย = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนราชดำริ]] ไป[[ถนนเพชรบุรี]], [[ถนนราชปรารภ]]| ขวา = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนราชดำริ]] ไป[[ถนนพระรามที่ 4]], [[ถนนสีลม]]}}
{{ทางแยก | กม. = 2+826 | ขนาด = 2 | ชื่อ = [[แยกราชประสงค์]] | ซ้าย = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนราชดำริ]] ไป[[ถนนเพชรบุรี]], [[ถนนราชปรารภ]]| ขวา = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนราชดำริ]] ไป[[ถนนพระรามที่ 4]], [[ถนนสีลม]]}}
{{ทางแยก | ต่อ = yes | จาก = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนเพลินจิต]]}}
{{ทางแยก | ต่อ = yes | ตรง = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนเพลินจิต]]}}
{{ทางแยก/จบ}}
{{ทางแยก/จบ}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:45, 24 มิถุนายน 2563

พระรามที่ 1
ป้ายถนนพระรามที่ 1 บริเวณแยกราชประสงค์ พ.ศ. 2561
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกถนนบำรุงเมือง / ถนนกรุงเกษม ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศใต้ถนนราชดำริ / ถนนเพลินจิต ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ถนนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ พ.ศ. 2549

ถนนพระรามที่ 1 (อักษรโรมัน: Thanon Rama I) เป็นถนนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) ตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) และไปสิ้นสุดที่ถนนราชดำริบริเวณสี่แยกราชประสงค์ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องออกไปคือถนนเพลินจิต

ประวัติ

ถนนพระรามที่ 1 เดิมชื่อ "ถนนปทุมวัน" สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนปทุมวัน ตั้งแต่สะพานยศเส (สะพานกษัตริย์ศึก) ถึงถนนราชดำริ เป็น "ถนนพระรามที่ 1" เพราะถนนสายนี้เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในสมัยธนบุรีใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินกลับจากราชการที่เขมรเข้ามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยผ่านเส้นทางถนนพระรามที่ 1 ผ่านจุดที่เป็นสะพานยศเสซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานกษัตริย์ศึก และได้ทรงพักทำพิธีสระสนานที่วัดสะแกซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็นวัดสระเกศ

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ถนนพระรามที่ 1 ทิศทาง: กษัตริย์ศึก – ราชประสงค์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
พระรามที่ 1 พระรามที่ 1 (กษัตริย์ศึก – ราชประสงค์)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกกษัตริย์ศึก เชื่อมต่อจาก: ถนนบำรุงเมือง
ถนนกรุงเกษม ไปถนนหลานหลวง, ถนนนครสวรรค์, ถนนราชสีมา, ถนนราชดำเนินนอก, ถนนสามเสน ถนนกรุงเกษม ไปถนนหลวง, ถนนพระรามที่4
สะพานกษัตริย์ศึก ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม
สะพานกษัตริย์ศึก ข้ามแม่แบบ:SRT Lines, แม่แบบ:SRT Lines
0+161 ไม่มี ถนนรองเมือง ไปถนนจรัสเมือง, ถนนเจริญเมือง
0+439 แยกพงษ์พระราม ถนนพระรามที่ 6 ไปถนนเพชรบุรี ถนนพระรามที่ 6 ไปถนนจารุเมือง
0+782 แยกเจริญผล ถนนบรรทัดทอง ไปถนนเพชรบุรี ถนนบรรทัดทอง ไปถนนพระรามที่ 4
1+500 แยกปทุมวัน ถนนพญาไท ไปถนนเพชรบุรี ถนนพญาไท ไปถนนพระรามที่ 4, ถนนสี่พระยา
2+100 แยกเฉลิมเผ่า ไม่มี ถนนอังรีดูนัง ไปถนนพระรามที่ 4, ถนนสุรวงศ์
2+826 แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ ไปถนนเพชรบุรี, ถนนราชปรารภ ถนนราชดำริ ไปถนนพระรามที่ 4, ถนนสีลม
ตรงไป: ถนนเพลินจิต
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

กายภาพ

  • ความยาว 2,826 เมตร จากสะพานกษัตริย์ศึก-ถนนราชดำริ
  • เขตถนน 24.5-29 เมตร
  • ผิวจราจร 15.5-21.5 เมตร แบบแอสฟัลต์
  • ทางเท้า ด้านซ้าย กว้าง 3.5-6 เมตร ด้านขวากว้าง 5 เมตร[1]
  • เกาะกลางถนน เป็นเส้นทางยกระดับของรถไฟฟ้าบีทีเอส ตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติของสายสีลม ถึงสี่แยกราชประสงค์ โดยถนนพระรามที่ 1 เป็นที่ตั้งของสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีสยาม ซึ่งเป็นสถานีร่วมของสายสีลมและสายสุขุมวิท

สถานที่สำคัญ

  1. กระทรวงพลังงาน
  2. อาคารศรีจุลทรัพย์
  3. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  4. พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน
  5. สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
  6. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
  7. วัดปทุมวนาราม
  8. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  9. โรงพยาบาลตำรวจ
  10. เซ็นทรัลเวิลด์

อ้างอิง

  1. สถิติจราจร ปี 2548 สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′57″N 100°31′01″E / 13.749028°N 100.516806°E / 13.749028; 100.516806