ท่อหู
ท่อหู | |
---|---|
หูชั้นนอกและชั้นกลาง ในภาพเรียกท่อหูว่า auditory tube | |
หูชั้นกลางโดยมีท่อหู (auditory tube) อยู่มุมล่างขวา | |
รายละเอียด | |
การออกเสียง | /juːˌsteɪ.ʃən/ |
คัพภกรรม | first pharyngeal pouch |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | Tuba auditiva, tuba auditivea, tuba auditoria |
MeSH | D005064 |
TA98 | A15.3.02.073 |
TA2 | 6926 |
FMA | 9705 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ท่อหู หรือ ท่อยูสเตเชียน (อังกฤษ: Eustachian tube, auditory tube, pharyngotympanic tube[1]) เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างคอหอยและหูชั้นกลาง ในมนุษย์โตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 33 มม. และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม.[2] ได้รับการตั้งชื่อตามบาร์โตโลมีโอ ยูสเตชี (Bartolomeo Eustachi) นักกายวิภาคศาสตร์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16[3]
ปกติแล้วหูชั้นกลางและช่องหูของมนุษย์และสัตว์บกชนิดอื่นบรรจุด้วยอากาศ อย่างไรก็ตามอากาศในหูชั้นกลางไม่ได้สัมผัสกับอากาศข้างนอกร่างกายโดยตรง ท่อหูเชื่อมจากห้องของหูชั้นกลางไปยังด้านหลังของคอหอย ในเวลาปกติท่อหูจะอยู่ในสถานะยุบตัว ทว่าจะเปิดออกขณะกลืนและเมื่อมีแรงดันบวก การที่แรงกดอากาศรอบ ๆ ลดลงขณะเครื่องบินยกระดับสูงขึ้นทำให้อากาศในหูชั้นกลางขยายตัวและดันกลับไปยังด้านหลังของจมูกและปาก ขณะเครื่องบินลดระดับปริมาณอากาศในหูชั้นกลางลดลงทำให้เกิดสุญญากาศเล็กน้อย เป็นเหตุให้ต้องมีการเปิดท่อหูเพื่อปรับแรงดันของหูชั้นกลางและบรรยากาศรอบ ๆ เท่ากัน นักดำน้ำก็ประสบกับการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเช่นกัน ทว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าทำให้ยิ่งต้องเปิดท่อหูบ่อยขึ้นเมื่อดำน้ำลึกซึ่งมีแรงกดสูง
โครงสร้าง
[แก้]ท่อหูตั้งอยู่จากผนังด้านหน้าของหูชั้นกลางจนถึงผนังด้านข้างของคอหอยส่วนจมูก ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระดูกและส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน
ส่วนกระดูก
[แก้]ส่วนกระดูกอยู่ติดกับหูชั้นกลางและมีความยาวประมาณ 12 มม. เริ่มข้างในผนังด้านหน้าของโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) ใต้ septum canalis musculotubarii และค่อย ๆ แคบลงจนจบที่มุมของจุดต่อระหว่างส่วนพีทรัสและส่วนสความัสของกระดูกขมับ ส่วนปลายมีรอยหยักเพื่อให้ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนสามารถยึดเกาะได้[4]
ส่วนกระดูกอ่อน
[แก้]ส่วนกระดูกอ่อนของท่อหูมีความยาวประมาณ 24 มม. เป็นอีลาสติกไฟโบรคาร์ทีเลจ (elastic fibrocartilage) รูปสามเหลี่ยม โดยส่วนยอดเชื่อมเกับขอบของจุดสุดใกล้กลางของส่วนกระดูก ส่วนฐานตั้งอยู่ใต้เยื่อเมือกของคอหอยส่วนจมูก เป็นส่วนที่ยกระดับ หรือ torus tubarius ด้านหลังรูเปิดคอหอยของท่อหู (pharyngeal opening of the auditory tube)
กล้ามเนื้อ
[แก้]การทำงานของท่อหูควบคุมโดยกล้ามเนื้อสี่มัด
- Levator veli palatini (เลี้ยงโดยเส้นประสาทเวกัส)
- Salpingopharyngeus (เลี้ยงโดยเส้นประสาทเวกัส)
- Tensor tympani (เลี้ยงโดย mandibular nerve ของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5)
- Tensor veli palatini (เลี้ยงโดย mandibular nerve ของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5)
ท่อเปิดออกระหว่างการกลืนโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ tensor veli palatini และ levator veli palatini ซึ้งเป็นกล้ามเนื้อของเพดานอ่อน[1]
หน้าที่
[แก้]ปรับแรงดัน
[แก้]ในเวลาปกติท่อหูของมนุษย์จะอยู่ในสถานะปิด ทว่าสามารถเปิดเพื่อให้อากาศจำนวนไม่มากผ่านเพื่อปรับแรงดันระหว่างหูชั้นกลางและชั้นบรรยากาศเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ความแตกต่างของความดันสามารถส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องแบบชั่วคราวจากการลดการขยับของเยื่อแก้วหูและกระดูกหู[5] มีหลายวิธีที่สามารถใช้เพื่อปรับแรงดันในหู เช่น การหาว การกลืน หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง โดยเป็นการตั้งใจเปิดท่อหู คนจะได้ยินเสียงดังเปาะเบา ๆ เมื่อเกิดการปรับแรงดันขึ้น มักเกิดเวลาขึ้นเครื่องบิน ดำน้ำ หรือขับรถบนพื้นที่ภูเขา เครื่องมือที่สามารถช่วยปรับแรงดันให้เท่ากันได้แก่ลูกโป่งที่ใช้กับจมูกซึ่งทำให้พองด้วยแรงดันอากาศบวก[6]
ระบายมูก
[แก้]ท่อหูยังทำหน้าที่ระบายมูกออกจากหูชั้นกลาง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรืออาการภูมิแพ้สามารถทำให้ท่อหูหรือเยื่อคลุมรูเปิดมีอาการบวม และอาจมีน้ำขังเป็นแหล่งเติบโตสำหรับแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของหูติดเชื้อ อาจบรรเทาอาการบวมได้โดยการใช้ยาหดหลอดเลือด ตัวอย่างเช่น ซูโดอีเฟดรีน, ออกซีเมตาโซลีน และฟีนิลเอฟรีน[7] อาหารหูติดเชื้อพบบ่อยในเด็กเนื่องจากเด็กมีท่อยูเสเชียนสั้นกว่าทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ง่ายกว่าและด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางที่แคบกว่าทำให้การเคลื่อนตัวของน้ำเป็นไปได้ยากกว่า นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาและสุขอนามัยที่ไม่ดีทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่า
รูปเพิ่มเติม
[แก้]-
รูปตัดตามยาวผ่านหูข้างซ้ายส่วนครึ่งบน
-
มุมมองของผนังด้านในของเยื่อแก้วหู (ขยายใหญ่)
-
เยื่อแก้วหูด้านขวาโดยมีกระดูกค้อนและเส้นประสาทคอร์ดาทิมพานี เมื่อมองจากด้านในทางด้านหลังและด้านบน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Keith L. Moore; Arthur F. Dalley; A. M. R. Agur (13 February 2013). Clinically Oriented Anatomy. Lippincott Williams & Wilkins. p. 970. ISBN 978-1-4511-1945-9.
- ↑ http://www.medicinenet.com/eustachian_tube_problems/article.htm
- ↑ Eustachian tube ใน Who Named It?
- ↑ 'Ear – Dissector Answers เก็บถาวร 2006-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at University of Michigan Medical School
- ↑ Page 152 in:Rex S. Haberman (2004). Middle Ear and Mastoid Surgery. New York: Thieme Medical Pub. ISBN 1-58890-173-4.
- ↑ Leunig, A.; Mees, K. (2008). "Mittelohrbelüftung mit dem Otovent®-Latexmembran- System". Laryngo-Rhino-Otologie. 74 (6): 352–354. doi:10.1055/s-2007-997756. PMID 7662078.
- ↑ "Middle Ear, Eustachian Tube, Inflammation/Infection Treatment & Management". Medscape. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.