รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่น โดยจะประกาศรางวัลในต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี และมอบรางวัลในวันที่ 18 สิงหาคม ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" โดยถือเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการว่ารางวัลนี้เป็นรางวัลสูงสุดของประเทศสำหรับนักวิทยาศาสตร์พื้นฐานและนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีรางวัลเป็นโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเงินรางวัล 200,000–400,000 บาท พระราชทานโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ที่งานมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติพร้อมกันกับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนี้สนับสนุนโดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สวทช. สกว. และเครือซีเมนต์ไทย
รางวัลนี้ริเริ่มโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีความห่วงใยต่อสภาวการณ์ที่วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งเป็นเสมือนเสาหลักสำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ได้รับความสนใจและสนับสนุนเท่าที่ควรจากผู้บริหารและประชาชนทั่วไปในขณะนั้น เยาวชนไทยมีความสนใจมากกว่าในวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งที่ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่มีศักยภาพสูงอยู่ไม่น้อย และหากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง จะสามารถส่งต่อผลงานเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ต่อไปได้ จึงได้เกิดความคิดที่จะรณรงค์ให้คนไทยตื่นตัวและภูมิใจในนักวิทยาศาสตร์ไทย เป็นที่มาของการจัดมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี นอกจากรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังจัดมอบ รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ อีกด้วย
รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- รางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
- รางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
- รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น
- เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
- รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเร ประเทศไทย
- รางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น สกว.-สกอ.
- รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
- รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่
- TWAS Prize for Young Scientists in Thailand
- รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น สกว.-สกอ.