การรถไฟแห่งประเทศไทย
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
State Railway of Thailand | |||||||||||
เส้นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||
ภาพรวม | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีให้บริการ | 82 สถานี | ||||||||||
บริษัทแม่ | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||
สํานักงานใหญ่ | เลขที่ 1 ถนนรองเมือง, แขวงรองเมือง, เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร 10330 | ||||||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||||||
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) | ||||||||||
ที่ตั้ง | ประเทศไทย | ||||||||||
วันที่ให้บริการ | พ.ศ. 2494–ปัจจุบัน[1] | ||||||||||
ก่อนหน้า | กรมรถไฟ | ||||||||||
ข้อมูลเทคนิค | |||||||||||
ช่วงกว้างราง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีเตอร์เกจ | ||||||||||
ช่วงกว้างรางเดิม | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ | ||||||||||
ความยาว | 4,070 km (2,530 mi) | ||||||||||
อื่น ๆ | |||||||||||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของการ | ||||||||||
|
การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. (อังกฤษ: State Railway of Thailand ย่อว่า SRT) เป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านรถไฟของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494[4] มีทางรถไฟอยู่ภายใต้ขอบเขตดำเนินการทั้งหมด 4,070 กิโลเมตร แต่เดิมมีสถานะเป็นส่วนราชการระดับกรม อยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2433 ปัจจุบัน (17 กันยายน พ.ศ. 2567) นาย จิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธานกรรมการ นาย วีริศ อัมระปาล เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
กำเนิดกรมรถไฟ
[แก้]รถไฟเป็นระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ซึ่งถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นที่สหราชอาณาจักร และมีใช้ในอังกฤษก่อนที่ใด ๆ ในโลก การที่อังกฤษจะนำระบบคมนาคมแบบใหม่เข้ามาใช้ในเมืองขึ้นของตนจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่กลับเป็นความน่าตื่นเต้นสำหรับคนไทยซึ่งไม่เคยมีรถไฟและไม่เคยเห็นรถไฟมาก่อน แค่จะได้นั่งรถไฟก็ยังต้องเดินทางไปขึ้นถึงในอังกฤษ
คนไทยเห็นรถไฟจากอังกฤษครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1855 (พ.ศ. 2398) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นเพียงรถไฟ “ของเล่น” เท่านั้น ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร ได้ทรงจัดส่งรถไฟจำลองเข้ามาถวาย โดยให้ราชทูตชื่อ นายแฮร์รี่ ปาร์คส์ (Harry Parkes) เข้ามาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1855 ดังข้อความตามหลักฐานของทางการไทยตอนหนึ่งว่า
“ในปีเถาะ เดือน 4 นั้น มิสเตอร์ฮารีปักซึ่งเป็นทูตเข้ามาทำสัญญาด้วย เซอร์ยอน เบาริง แต่ก่อนนั้น นำหนังสือออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษแล้ว กลับเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาซึ่งประทับตรากรุงเทพพระมหานคร มีพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเป็นอันมาก มิสเตอร์ฮารีปักเข้ามาด้วยเรือกลไกชื่อ ออกแกลน ถึงกรุงเทพพระนครทอดอยู่ที่หน้าป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก ณ วันอังคาร เดือน 4 แรม 3 ค่ำ ได้ยิงปืนสลุตธงแผ่นดิน 21 นัด ทั้ง 2 ฝ่าย ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 ค่ำ มิสเตอร์ฮารีปักกับขุนนางอังกฤษ 17 นาย เข้าเฝ้าออกใหญ่ถวายพระราชสาส์น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ถวายเครื่องราชบรรณาการอย่างรถไฟ 1 อย่าง กำปั่นไฟ 1 กระจกฉากรูปควีนเป็นกษัตริย์ฉาก 1 กระจกฉากรูปควีนวิคตอเรียเมื่อมีบุตร 8 คน กับเครื่องเขียนหนังสือสำรับ 1 และของต่างๆ เป็นอันมาก เจ้าพนักงานในตำแหน่งทั้งปวงมารับไปต่อมือฮารีปักเองเนืองๆ เจ้าพนักงานกรมท่า จึงได้บัญชีไว้บ้าง ของถวายในพระบวรราชวังก็มีเป็นอันมาก ท่านก็ให้เจ้าพนักงานมารับไปเหมือนกัน”[5]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้แผ่ขยายมาถึงบริเวณแหลมอินโดจีน พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง จึงเห็นว่าควรสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลที่ติดต่อกับชายแดนอื่นก่อน เพื่อความสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน เป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางให้สามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา และมีทางแยกตั้งแต่เมืองลพบุรี - เชียงใหม่ 1 สาย จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงอีก 1 สาย และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย - เชียงแสนหลวงอีก 1 สาย โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ หรือประมาณ 24,500 บาทต่อกิโลเมตร ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430[6]
และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ [7] แรกเริ่มที่ก่อตั้งกรมรถไฟนั้น ทางราชการได้แบ่งส่วนราชการกรมรถไฟ ในกระทรวงโยธาธิการ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 ตอน 24 ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2442 หรือ ร.ศ. 118 ไว้ดังต่อไปนี้[8]
- ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงโยธาธิการ รัตนโกสินทร ศก 118
- กรมรถไฟ
- กองกลาง
- กองแบบอย่าง
- เซกชั่นบางกอก
- เซกชั่นปากเพรียว
- เซกชั่นหินลับ
- เซกชั่นหมวกเหล็ก
- เซกชั่นจันทึก
- เซกชั่นคลองไผ่
- เซกชั่นสีคิ้ว
- เซกชั่นโคราช
- เซกชั่นท่าเรือ
- เซกชั่นลพบุรี
พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ธงมีตราเครื่องหมายสำหรับกรมรถไฟ ตามประกาศกระทรวงโยธาธิการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 ตอน 50 ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2442 หรือ ร.ศ. 118 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [9]
ธงช้างทรงเครื่องยืนแท่นตามพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118 มาตรา 5 ที่มุมมีตรารูปล้อรถมีปีกมีพระมหาพิไชยมงกุฎอยู่เบื้องบน
และทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ (หัวลําโพง) ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 (ปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด) จากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟเส้นทางรถไฟสายแรกของสยาม คือ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา กรมรถไฟจึงถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลสำคัญที่ผลักดันให้กิจการรถไฟของไทยเติบใหญ่อย่างมั่นคงในเวลาต่อมา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่วิทยาลัยตรีนิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้รับฉายาว่าพระบิดาแห่งการรถไฟไทย โดยปี พ.ศ. 2453 ได้รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ต่อมาได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันเป็นกรมรถไฟหลวง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2460 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรกซึ่งเป็นคนไทย แลดูเหมือนจะเป็นพระราชประสงค์จำนงหมายไว้แต่เดิมมากกว่าเป็นการบังเอิญจากสงคราม เพราะต่อมาในเดือนพฤจิกายนปีเดียวกัน ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นส่วนพระองค์แสดงความในพระราชหฤทัยที่ทรงมีอยู่ (พระราชหัตถเลขาลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงกล่าวว่า
“รู้สึกว่า ราชการกรมรถไฟ เป็นราชการสำคัญและมีงานที่ต้องทำมาก เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และอาจพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้ ฉันจึงได้มารู้สึกว่า
1) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี....
2) ฉันเห็นว่า เธอควรจะต้องให้เวลาและกำลังส่วนตัวสำหรับกิจการรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น....
จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”
เปลี่ยนนามกระทรวงโยธาธิการใหม่ เป็นกระทรวงคมนาคม
[แก้]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศจัดราชการและให้เปลี่ยนนามกระทรวงโยธาธิการใหม่ เป็นกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ร.ศ. 130 พ.ศ. 2455 (1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ขณะนั้น)
- มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้
- 1.กรมรถไฟ (ยังไม่ใช้ชื่อกรมรถไฟหลวง)
- 2.กรมไปรษณีย์โทรเลข
- 3.กรมทาง
ประกาศเปลี่ยนนามแห่งกรมรถไฟ
[แก้]เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามจาก “กรมรถไฟ” เป็น “กรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม” ส่วนตัวย่อให้ใช้ ร.ฟ.ล. (Royal State Railways of Siam R.S.R.)[10]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดาแห่งการรถไฟไทย
[แก้]โดยพระปรีชาสามารถกอร์ปด้วยพระวิริยภาพอันแรงกล้าของพระองค์เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งพระองค์ท่านเป็นพระองค์แรกที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง พระองค์ได้ทรงจัดการไม่แต่ให้การคมนาคมโดยทางรถไฟติดต่อเชื่อมถึงกันได้โดยสะดวกแต่ภายในพระราชอาณาจักรเท่านั้น ยังทรงเป็นผู้นำชื่อเสียงและเกียรติคุณของกรมรถไฟแห่งราชอาณาจักรไทยไปอุโฆษในต่างประเทศ จนได้รับความยกย่องในสมรรถภาพและประสิทธิภาพว่า เป็นกรมรถไฟไทยที่ไม่ต้องใช้วิศวกรชาวต่างประเทศ เป็นเหตุให้ประชาชาติในนานาประเทศสนใจในการเดินทางท่องเที่ยว หรือเพื่อธุรกิจอย่างอื่นเข้ามาในราชอาณาจักรไทยกันมากหลาย และไม่เฉพาะแก่การรถไฟเท่านั้นที่พระองค์ได้ทรงกอบเกื้อ หรือปลุกปล้ำทะนุบำรุงให้รุ่งเรืองวัฒนามาแต่สมัยนั้นจนกาลบัดนี้ ถึงในด้านอื่นๆ เกี่ยวกับการคมนาคมของประเทศทุกสาขา พระองค์ก็ได้ทรงฟื้นฟูให้ก้าวหน้าทันสมัยด้วยเหมือนกัน แนวนโยบายเกี่ยวกับการรถไฟหลวงที่ผู้บัญชาการกรมรถไฟพระองค์แรกได้ทรงวางไว้ กรมรถไฟ ก็ได้ถือเป็นหลักปฏิบัติและดำเนินการตามตลอดมาจนถึงกาลปัจจุบันนี้
นับแต่แรกที่ทรงปฏิบัติราชการในกรมรถไฟ พระองค์ทรงฝึกให้ข้าราชการไทย โดยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง และโดยจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาสวมตำแหน่งสำคัญๆ แทนชาวต่างประเทศดั่งที่เคยจำเป็นต้องจ้างมาใช้แต่ก่อน ได้ทรงเริ่มนโยบายนี้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2461 และรุ่นสุดท้าย ได้ส่งไปในปี พ.ศ. 2466 รวมเป็นนักเรียน 51 คน นโยบายนี้ได้รับผลอันสมบูรณ์ราวต้นปี พ.ศ. 2475 นอกจากนั้นยังทรงรับโอนนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศแล้วมาเป็นนักเรียนใช้ทุนของกรมรถไฟหลวงก็อีกหลายนาย ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดชักนำให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรมรถไฟมีความรู้สึกฉันมิตรซึ่งกันและกัน ร่วมมือฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นไปเยี่ยงนายกับบ่าว ความร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของข้าราชการกรมรถไฟนับแต่สมัยพระองค์ทรงบังคับบัญชา เป็นผลความเจริญแก่กรมรถไฟมาจนทุกวันนี้
การรวมกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพาณิชย์
[แก้]ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศรวมหน้าที่ราชการกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป็นกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2468 และได้ประกาศเปลี่ยนนามใหม่เป็น กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2468 กรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม จึงอยู่ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ยุคหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
[แก้]ในปีพ.ศ. 2476 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง กรมรถไฟได้ถูกปรับปรุงให้มาสังกัดกระทรวงเศรษฐการ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 770 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงเศรษฐการ ดังนี้ [11]
- มาตรา 20 หน้าที่ราชการในกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็น
- 1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- 2) สำนักงานปลัดกระทรวง
- 3) กรมทะเบียนการค้า
- 4) กรมพาณิชย์
- 5) กรมวิทยาศาสตร์
- 6) กรมสหกรณ์
- ราชการส่วนเกษตร
- 1) กรมการประมง
- 2) กรมเกษตร
- 3) กรมชลประทาน
- 4) กรมที่ดินและโลหกิจ
- 5) กรมป่าไม้
- ราชการส่วนคมนาคม
- 1) กรมการขนส่ง
- 2) กรมเจ้าท่า
- 3) กรมไปรษณีย์โทรเลข
- 4) กรมรถไฟ
เปลี่ยนชื่อจากกรมรถไฟหลวงมาเป็นกรมรถไฟ
[แก้]รัฐบาลคณะราษฎรได้เปลี่ยนชื่อ กรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม เป็น กรมรถไฟ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 770 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476[12]
การปรับปรุงการบริหารงาน
[แก้]หลังจากได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการของกรมรถไฟแล้วเสร็จ รัฐบาลจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 หน้า 142 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2481 [13]
- มาตรา 10 กรมรถไฟแบ่งส่วนราชการดังนี้
ราชการฝ่ายธุรการ
- 1. สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณ (2) แผนกประวัติ (3) แผนกสถิติ
- 2. กองพัสดุ แบ่งเป็น 8 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกบัญชี (3) แผนกจัดหาพัสดุ (4) แผนกโรงพิมพ์ (5) แผนกคลังพัสดุกลาง (6) แผนกคลังครุภัณฑ์ (7) แผนกคลัง
พัสดุโรงงาน (8) แผนกคลังพัสดุของคืน
- 3. กองแพทย์
- 4. สำนักงานอาณาบาล
ราชการฝ่ายการเดินรถ
- 1. กองเดินรถ แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกรถสินค้า (3) แผนกรถโดยสาร (4) แผนกกำหนดเวลาเดินรถ
- 2. กองสินค้าและที่ดิน แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสินค้า (2) แผนกเสาะแสวง (3) แผนกที่ดิน (4) แผนกขนส่ง
- 3. กองโดยสาร แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
- (1) แผนกโดยสาร (2) แผนกโฆษณา
- 4. กองโรงแรมบ้านพักและรถเสบียง แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
- (1) แผนกบ้านพักและรถเสบียง (2) แผนกโรงแรมราชธานี (3) แผนกโรงแรมหัวหิน
- 5. กองศิลา แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
- (1) แผนกทำศิลา (2) แผนกจำหน่ายศิลา
- 6. กองจัดการเดินรถภาคต่าง ๆ
ราชการฝ่ายการบัญชี
- 1. กองสารบัญชี แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกบัญชีก่อสร้าง (3) แผนกบัญชีต่างประเทศ (4) แผนกควบคุมงบประมาณ
- 2. กองรวบรวม แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
- (1) แผนกประมวล (2) แผนกบัญชีพัสดุ (3) แผนกตรวจรายจ่าย
- 3. กองคลังเงิน แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
- (1) แผนกตั๋วโดยสาร (2) แผนกคลังเงิน (3) แผนกจ่ายเงินท้องที่
- 4. กองตรวจบัญชี แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกตรวจบัญชีค่าระวาง (2) แผนกตรวจบัญชีโดยสาร (3) แผนกตรวจบัญชีรายได้ (4) แผนกตรวจบัญชีท้องที่
ราชการฝ่ายการช่างกล
- 1. กองช่างกล แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกสถิติ (3) แผนกแบบแผน (4) แผนกเครื่องจักร
- 2. กองโรงงาน แบ่งเป็น 5 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกโรงจักร (3) แผนกซ่อมรถจักร (4) แผนกซ่อมรถโดยสาร (5) แผนกซ่อมรถบรรทุก
- 3. กองลากเลื่อน แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
- (1) แผนกรถจักร (2) แผนกรถพ่วง
- กองไฟฟ้า
- (1) แผนกเครื่องทำไฟ้ฟ้า (2) แผนกไฟฟ้าจุด (3) แผนกหม้อไฟฟ้า
ราชการฝ่ายการช่างโยธา
- 1. กองแบบแผน แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกออกแบบ (3) แผนกสถาปัตยกรรม (4) แผนกกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- 2. กองบำรุงทางและสถานที่ แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกงานใหม่ (3) แผนกโรงงานซ่อม (4) แผนกไม้และฟืน
- 3. กองสื่อสาร แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
- (1) แผนกสารบรรณและประวัติ (2) แผนกก่อสร้างเสาสาย (3) แผนกโทรเลขโทรศัพท์ (4) แผนกอาณัติสัญญาณ
- 4. กองก่อสร้าง
ในปีพ.ศ. 2484 กรมรถไฟได้ถูกปรับปรุงให้กลับมาสังกัดกระทรวงคมนาคมตามเดิม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2484 ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 1044 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้[14]
- มาตรา 17 หน้าที่ราชการในกระทรวงคมนาคม แยกเป็น
- 1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- 2) สำนักงานปลัดกระทรวง
- 3) กรมการขนส่ง (กองการบินพาณิชย์เดิม สังกัดกระทรวงเศรษฐการ)
- 4) กรมเจ้าท่า (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
- 5) กรมไปรษณีย์โทรเลข (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
- 6) กรมทาง (เดิมเป็นกองทางสังกัด กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
- 7) กรมรถไฟ (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
กรมรถไฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ครั้นราชอาณาจักรไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สองตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2484 เป็นเหตุให้กิจการรถไฟได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม ต้องรับภาระในการขนส่งทหารและร่วมมือกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อขนส่งทหารเข้าสู่ยุทธภูมิ โดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีหน่วยทหารขนส่งรถไฟ มีนายพลอิชิดาฯเป็นผู้บังคับหน่วย มีนายทหารขนส่งรถไฟส่งไปประจำทุกย่านสถานีรถไฟของไทย คอยควบคุมการขนส่งของหน่วยทหารญี่ปุ่น ดูแลให้มีการขนขึ้นลงให้ทันภายในกำหนดเวลาเดินรถของกรมรถไฟ ควบคุมการบรรทุกอาวุธหนักยานพาหนะ การผูกมัดรัดตรึงให้มั่นคง ตักเตือนระเบียบวินัยการเดินทางแก่ทหารในขบวนรถพิเศษนั้น ขบวนรถพิเศษญี่ปุ่นในระยะหลังได้ใช้ล้อเลื่อนโดยสารและรถสินค้าที่ทหารญี่ปุ่นนำมาจากมลายู อินโดจีนฝรั่งเศส และชะวา คละกันไปและใช้รถแซมเพื่อการผสมขอพ่วงเป็นขบวนรถเดินทางต่อไปได้ คงใช้รถจักรของกรมรถไฟไทย มีพนักงานขับรถ (พขร.) และช่างไฟ (ชฟ.1,2) เป็นผู้ขับ ส่วนใหญ่เดินในทางสายใต้ พอพ้นปาดังเบซาร์ก็เปลี่ยนเป็นรถจักรของทหารขนส่งรถไฟญี่ปุ่นนำขบวนรถนั้นต่อไปในมลายู บางครั้งความไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้ากรมรถไฟของไทยและเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น ก่อให้เกิดปัญหาในการเดินรถ ดังเช่นกรณีเจ้าหน้าที่รถไฟญี่ปุ่นที่ตามทหารญี่ปุ่นเข้ามาควบคุมการเดินรถและสับเปลี่ยนรถที่ย่านสถานีสำคัญๆของกรมรถไฟไทยไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระเบียบการเดินรถของกรมรถไฟ จนมีเหตุทะเลาะวิวาทชกต่อยกันไม่เว้นแต่ละวันเพราะสื่อภาษากันไม่รู้เรื่อง จนต้องให้นักเรียนไทยที่จบจากญี่ปุ่นเข้ามารับราชการเป็นล่ามประจำสถานีรถไฟ หรือใช้ล่ามคนญี่ปุ่นที่พูดภาษาไทยแบบต้องเอียงหูฟัง หนักเข้าก็เกิดเหตุการณ์กรณีนายสถานีรถไฟสงขลาถูกทหารญี่ปุ่นรุมชกต่อยจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และกรณีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2485 ทหารญี่ปุ่นได้รุมทุบตีนายฉัตร์ พนักงานขับรถจักร และนายพุฒ คนการโรงรถจักรหาดใหญ่ของกรมรถไฟ ขณะทำขบวนรถไฟจากสถานีสุไหงโกลกไปชุมทางหาดใหญ่ เมื่อรถจอดที่ชุมทางหาดใหญ่ ทหารญี่ปุ่นก็รุมทุบตีซ้ำอีกจนถึงเวลา 17.30 น.ก็ยังไม่ยอมหยุดทุบตี
ในช่วงปลายสงครามฯการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรหนักหน่วงมากขึ้นเนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นประสบความเพลี่ยงพล้ำในสมรภูมิ กล่าวคือ บรรดาอาคารบ้านพักข้าราชการ อาคารสถานี สะพาน ล้อเลื่อน โรงงานโรงรถจักร อาณัติสัญญาณประจำที่และทางรถไฟ ฯลฯ ได้รับความเสียหายจากภัยทางอากาศทั่วถึงกันทุกแห่ง คือ ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นภูมิภาค คำนวณค่าเสียหายทั้งสิ้นตามราคาเดิม เมื่อก่อนสงครามตกเป็นเงินประมาณ 37,333,100 บาท หากคำนวณตามราคาปัจจุบันจะสูงขึ้นอีกประมาณ 14 เท่า มีข้าราชการกรมรถไฟได้รับอันตรายจากภัยสงครามและประสบภัยทางอากาศ เป็นอันตรายถึงสิ้นชีวิต 103 คน บาดเจ็บ 9 คน และถึงความสิ้นเนื้อประดาตัว 1,370 คน
เครื่องแบบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ
[แก้]- สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกกฎ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิย์ กรมรถไฟ มีเครื่องแบบเฉพาะต่างจากข้าราชการกระทรวง ทะบวง กรม อื่นๆ โดยได้ออกกฎฯรวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ อันได้แก่
- กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482
- กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2485
- กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ 38) พ.ศ. 2491
- กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ 42) พ.ศ. 2493
- กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2494
กำเนิดการรถไฟแห่งประเทศไทย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2494 สมัยรัฐบาลที่มีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เลขที่ 40 หมวด ก ฉบับพิเศษ ลงในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 และให้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม และให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ รวมไปถึงข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ลูกจ้าง และสายงานทั้งหมด ของกรมรถไฟไปอยู่ในการดำเนินงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีพลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก และเป็นอธิบดีกรมรถไฟคนสุดท้าย ซึ่งมีพิธีส่งมอบกิจการของกรมรถไฟให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับมาดำเนินการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2494 จัดขึ้น ณ วังสวนกุหลาบ โดยมี ฯพณฯจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและได้กล่าวมอบกิจการรถไฟให้กับคณะกรรมการรถไฟชุดแรก นายเล้ง ศรีสมวงศ์ ประธานกรรมการรถไฟ เป็นผู้กล่าวรับมอบ
กรรมการชุดแรก
[แก้]- นายเล้ง ศรีสมวงศ์ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ
- นายเกษม ศรีพยัคฆ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- พระภัทรกิจโกศล (เทียม โดษะนันทน์) ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- พลโทจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- พระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- พันเอกประมาณ อดิเรกสาร ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
กรรมการชุดปัจจุบัน
[แก้]- นาย จิรุตม์ วิศาลจิตร ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ
- ดร. ศันสนะ สุริยะโยธิน ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- นาย วิม รุ่งวัฒนจินดา ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- นาย อารีศักดิ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- นาย อาทิตย์ สุริยาภิวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- นาย อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อยดำรงตำแหน่ง กรรมการ
- นาง ศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ [15]
- นาย วีริศ อัมระปาล ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขานุการ
เครื่องหมายราชการของการรถไฟแห่งประเทศไทย
[แก้]การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอพระบรมราชานุญาตใช้เครื่องหมายราชการของกรมรถไฟ (รูปล้อปีกภายใต้พระมหามงกุฎและมีรัศมีครอบ) ประกอบเป็นตราเครื่องหมายของการรถไฟฯ และทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
เครื่องหมายราชการแห่งกรมรถไฟ ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศ (ฉบับที่ 12) กำหนดภาพเครื่องหมายราชการนี้ ตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 15 เล่ม 59 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2485 ซึ่งมีลักษณะดังนี้
"เป็นรูปล้อปีก เบื้องบนมีอุณณาโลมและมีพระมหามงกุฎมีรัศมี เบื้องล่างมีคำว่า "กรมรถไฟ" [16]
รายนามผู้บริหารจากอดีตถึงปัจจุบัน
[แก้]เส้นทางเดินรถ
[แก้]การรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้บริการรถไฟทางไกลทุกสาย โดยปัจจุบันมีสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) เป็นสถานีปลายทางของขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีปลายทางของกลุ่มขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง และขบวนรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวน มีสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง เป็นที่ทำการรับส่งสินค้าหลัก ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,044 กิโลเมตร แบ่งเป็นเส้นทางรถไฟทางเดี่ยว 2847.1 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟทางคู่ 1089.9 กิโลเมตร ได้แก่ ช่วงกรุงเทพ (หัวลําโพง) - ลพบุรี ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงชุมทางสถานีตลิ่งชัน - สถานีนครปฐม ระยะทาง 44 กิโลเมตร ช่วงสถานีฉะเชิงเทรา - สถานีสัตหีบ ระยะทาง 69.8 กิโลเมตร และช่วงสถานีชุมทางศรีราชา - สถานีแหลมฉบัง ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร ช่วงจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร และช่วง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กิโลเมตร และเส้นทางรถไฟทางสาม 107 กิโลเมตร ได้แก่ ช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 60 กิโลเมตรและช่วงสถานีหัวหมาก - ชุมทางฉะเชิงเทรา ระยะทาง 45.82 กิโลเมตร
สายเหนือ
[แก้]ทางรถไฟสายเหนือ เดินรถคู่ไปกับทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือแล้วแยกกันที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี โดยทางรถไฟสายเหนือผ่านจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, พิจิตร พิษณุโลก, อำเภอเด่นชัย, ลำปาง, ลำพูน แล้วสุดทางรถไฟที่เชียงใหม่ ระยะทางจากกรุงเทพ 751 กิโลเมตร มีทางรถไฟแยกที่สถานีชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงสถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ระยะทาง 29 กิโลเมตร
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
[แก้]ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ เดินรถคู่กับทางรถไฟสายเหนือแล้วแยกกันที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี มุ่งสู่นครราชสีมา แยกเป็นสองสายที่สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ โดยสายหนึ่งผ่านขอนแก่น, อุดรธานี, หนองคาย ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแล้วสุดทางรถไฟที่สถานีรถไฟคำสะหวาด นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ระยะทางจากกรุงเทพ 635.06 กิโลเมตร อีกสายหนึ่งผ่านบุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ แล้วสุดทางรถไฟที่อุบลราชธานี ระยะทางจากกรุงเทพ 575 กิโลเมตร
ยังมีอีกเส้นทางหนึ่งเริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอยที่สระบุรี ผ่านอำเภอชัยบาดาลที่ลพบุรีและอำเภอจัตุรัสที่ชัยภูมิ ก่อนจะวิ่งเข้าสู่สายหลักที่ไปหนองคาย ที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ นครราชสีมา ระยะทาง 252.4 กิโลเมตร
สายใต้
[แก้]ทางรถไฟสายใต้ เริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพแล้วเมื่อถึงที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อจะแยกไปทางตะวันตกสู่นครปฐม ก่อนจะแยกเป็นสามทาง โดยทางหนึ่งไปทางกาญจนบุรี (210 กิโลเมตร) ทางหนึ่งไปทางสุพรรณบุรี (157 กิโลเมตร) ทางรถไฟสายใต้หลักวิ่งต่อไป โดยผ่านราชบุรี, เพชรบุรี, หัวหิน, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพรจนถึงสุราษฎร์ธานี มีทางแยกคีรีรัฐนิคม จากนั้นวิ่งต่อไปถึง สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ที่ นครศรีธรรมราช และยังมีทางแยกไปกันตังที่ตรังและชุมทางเขาชุมทองซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน สายใต้หลักวิ่งต่อไปจนถึงพัทลุง, ชุมทางหาดใหญ่ ที่สงขลามีทางแยกซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของ ประเทศมาเลเซีย ที่ปาดังเบซาร์ ส่วนสายใต้หลักจะวิ่งต่อไปผ่านยะลา จนถึงสุไหงโก-ลก นราธิวาส
สายตะวันออก
[แก้]ทางรถไฟสายตะวันออก ถึง จังหวัดสระแก้ว ( สถานีรถไฟอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ ) ระยะทาง 260 กิโลเมตร, สถานีคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 81.4 กิโลเมตร และชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตะพุต ระยะทาง 24.07 กิโลเมตร
สายแม่กลอง
[แก้]ทางรถไฟสายแม่กลอง ช่วง สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ - สถานีรถไฟมหาชัย ระยะทาง 31 กิโลเมตร และช่วง สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง ระยะทาง 34 กิโลเมตร
หมายเลขขบวนรถไฟ
[แก้]โครงการทางคู่
[แก้]นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยยังมีโครงการขยายเส้นทางให้เป็นทางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้น ลดเวลาการเดินทาง เพิ่มความจุตู้สินค้าและตู้โดยสาร รวมทั้งลดการใช้พลังงาน เนื่องจากการขนส่งเที่ยวหนึ่ง สามารถจุผู้โดยสารและสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง ได้แก่ ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร นครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร รวมระยะทาง 767 กิโลเมตร
รถจักรและล้อขับเคลื่อน
[แก้]ประจำการ
[แก้]รถจักรดีเซล
[แก้]รุ่น | ผู้ผลิต | รุ่นเลขที่ | ปีผลิต | จำนวนสร้าง | กำลัง | ความเร็วสูงสุด (km/h) | ภาพ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
UM12C[17] (จีอี[18]) | เจเนอรัลอิเล็กทริก | 4001-4050[17][18][19] | 2507 (4001-4040)[17][19] 2509 (4041-4050)[17][19] |
50[17][18][19] | 1,320 hp (980 kW)[17] (660 hp (490 kW)x2) |
103[18] | ตกแต่งใหม่ พ.ศ. 2553-2554 | |
AD24C[20] (ALS[18]) | อัลสตอม[20] | 4101-4154[18][20] | 2517–2518[20] | 54[20] | 2,400 hp (1,800 kW)[20] | 90[18][20] | ชุดแรกของรถจักร AD24C ดัดแปลงใหม่ติดตั้งเครื่องยนต์ MTU 16V4000R41R[21] หรือเครื่องดีเซล แคทเธอร์พิลลาร์ | |
AD24C[20] (เอเอชเค[18]) | อัลสตอม,[20] เฮนเชล[20] และกรุปป์[20] | 4201-4230[18][20] | 2526[20] | 30[20] | 2,400 hp (1,800 kW)[20] | 100[18][20] | ชุดที่ 2 ของรถจักร AD24C ผลิตร่วมกับบริษัท กรุปป์ และ เฮนเชล ได้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ MTU 16V4000R41R[21] หรือเครื่องดีเซลแคทเธอร์พิลลาร์ | |
AD24C[20] (ALD[18]) | อัลสตอม[20] | 4301-4309[18][20] | 2526[20] | 9[20] | 2,400 hp (1,800 kW) | 100[18][20] | ชุดที่ 3 ของ AD24C ได้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล แคทเธอร์พิลลาร์ | |
AD24C[20] (ADD[18]) | อัลสตอม[20] | 4401-4420[18][20] | 2528[20] | 20[20] | 2,400 hp (1,800 kW)[20] | 100[18][20] | ชุดที่ 4 ชุดสุดท้ายของ AD24C ด้ดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์ MTU 16V4000R41R[21] หรือเครื่องดีเซลแคทเธอร์พิลลาร์ | |
8FA-36C (เอชไอดี[18]) | ฮิตาชิ | 4501-4522[18] | 2536 | 22 | 2,860 hp (2,130 kW) (1,430 hp (1,070 kW)x2) |
100[18] | ใช้เครื่องยนต์ KTTA-50L ได้ลดสเตจเทอร์โบลง แทนเครื่อง คัมมิ่นส์ KTTA-50L รหัสเครื่องยนต์เป็น KTA-50L | |
CM22-7i[17] (จีอีเอ[18]) | เจเนอรัลอิเล็กทริก | 4523-4560[17][18] | 2538–2539[17] | 38[17] | 2,500 hp (1,900 kW)[17] (1,250 hp (930 kW)x2) |
100[18] | ใช้เครื่องยนต์ คัมมิ่นส์ KTA-50L[17] บางคันติดเครื่องปรับอากาศ | |
CSR SDA3 | ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน | 5101-5120[22] | 2557–2558[23][24] | 20[23] | 3,800 hp (2,800 kW)[23] | 120 จำกัดที่ 100[23] | 5101-5120 ใช้เฉพาะขบวนขนส่งสินค้า
ใช้เครื่องยนต์ แคทเธอร์พิลลาร์ C175-16 ACERT[23] | |
CRRC CDA5B1 (คิวเอสวาย) | ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน | 5201-5250[25] | 2565[25] | 50[25] | 3,218 hp (2,400 kW)[25] | 120[25] | ใช้ขบวนด่วนพิเศษ ด่วน เร็ว[25] |
รถดีเซลราง
[แก้]รุ่น | ผู้ผลิต | รุ่นเลขที่ | ปีผลิต | จำนวนสร้าง | กำลัง | ความเร็วสูงสุด (km/h) | ภาพ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาร์เอชเอ็น | ฮิตาชิ | 1011-1048 (รถกำลัง) 11-48 (รถพ่วง) |
2510 | 38+38 | 220 hp (160 kW) | 90 | ขบวนรถท้องถิ่นในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ บางคันติดตั้งชุดแตร Nathan K3LA บริจาคให้การรถไฟหลวงกัมพูชา | |
ทีเอชเอ็น | โทกีว, ฮิตาชิ และนิปปอน ชาเรียว | 1101–1140 | 2526 | 40 | 235 hp (175 kW) | 105 | คล้ายกับเอ็นเคเอฟ บางคันติดตั้งชุดแตร Nathan K3LA | |
เอ็นเคเอฟ | นิปปอน ชาเรียว, ฮิตาชิ, ฟูจิ เฮฟวี อินดัสตรีส์,คาวาซากิ เฮฟวี อินดัสตรีส์, นีงาตะ เทคโคโช, และคิงกิ ชาเรียว | 1201–1264, (รถพ่วง) 2101-2112 | 2528 | 64+12 | 235 hp (175 kW) | 105 | คล้ายกับทีเอชเอ็น แต่ใช้เก้าอี้พลาสติก บางคันติดตั้งชุดแตร Nathan K3LA | |
เอเอสอาร์ (สปรินเตอร์) | บริติช เรล เอนจิเนียริ่ง ลิมิเต็ด, ดาร์บี ลินเชิร์ช เลน เวิร์กส์ | 2501–2512, (รถพ่วง) 2113-2120[26] | 2534 | 12+8 | 285 hp (213 kW) | 160 กำหนดสูงสุด 120 | รุ่นรางหนึ่งเมตรของบริติช เรล คลาส 158 แตกต่างที่ทางเชื่อมและขอพ่วง และใช้ประตูแบบสแลมเปิดเข้าด้านในแทนประตูแบบปลั๊ก พ่วง 3 จนถึงปี 2554 ตกแต่งใหม่ด้วยเบาะนั่งใหม่ พื้นไวนิล ประตูแบบปลั๊ก และทำสีใหม่ บางคันติดตั้งชุดแตร Nathan K3LA | |
APD .20 (แดวู) | แดวู เฮฟวี อินดัสตรีส์ | 2513-2524 (รถพ่วง) 2121-2128 | 2538 | 12+8 | 298 hp (222 kW) | 120 | แดวูรุ่นที่ 1 มีลำตัวรถแคบ ติดตั้งชุดแตร Nathan K3LA ทั้งหมด | |
APD .60 (แดวู) | แดวู เฮฟวี อินดัสตรีส์ | 2525-2544 | 2539 | 20+40 | 298 hp (222 kW) | 120 | แดวูรุ่นที่ 2 มีลำตัวรถกว้าง ติดตั้งชุดแตร Nathan K3LA ทั้งหมด | |
คิฮะ 183-0 | ฟูจิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ | 2524/2525 | 17 | 220–660 hp (160–490 kW) | 110 | บริจาคโดย JR ฮกไกโด ในปี 2564 | ||
คิฮะ 40/48 | ฟูจิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ และนิอิกาตะ เทคโค | 2520-2526 | 20 | 217 hp (162 kW) | 95 | บริจาคโดย JR ตะวันออก รอจัดส่งในปี 2566 |
รถไฟฟ้า
[แก้]รุ่น | ผู้ผลิต | รุ่นเลขที่ | ปีผลิต | จำนวนสร้าง | กำลัง | ความเร็วสูงสุด (km/h) | ภาพ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เอที100 | ฮิตาชิ | T01 - T15 | 2562 | 130 | 160 | ใช้ในรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน 15 ขบวนเป็นชุดพ่วง 6 คัน ในขณะที่ 10 ขบวนเป็นชุดพ่วง 4 คัน |
รถจักรไอน้ำ
[แก้]ใช้สำหรับบริการขบวนพิเศษเท่านั้น
รุ่น | ผู้ผลิต | รุ่นเลขที่ | ปีผลิต | จำนวนสร้าง | กำลัง | ความเร็วสูงสุด (km/h) | ภาพ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มิกาโด (DX50) | มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์, ฮิตาชิ, นิปปอน ชาเรียว, คาวาซากิ เฮฟวี อินดัสตรีส์, กิช่า เซโซะ | 351-378, 901-970
(เหลือ 953 ประจำการ) |
2479-2494 | 98 | 1,280 hp (950 kW) | 85 | ขบวนพิเศษนำเที่ยวในวันแม่ วันพ่อ วันปิยมหาราช และวันสถาปนา รฟท. | |
แปซิฟิค (CX50) | มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์, ฮิตาชิ, นิปปอน ชาเรียว, คาวาซากิ เฮฟวี อินดัสตรีส์, กิช่า เซโซะ | 283-292, 821-850
(เหลือ 824 และ 850 ประจำการ) |
2485-2494 | 40 | 1,280 hp (950 kW) | 100 | ขบวนพิเศษนำเที่ยวในวันแม่ วันพ่อ วันปิยมหาราช และวันสถาปนา รฟท. | |
เจเอ็นอาร์ คลาสซี 56 | มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์, ฮิตาชิ, นิปปอน ชาเรียว, คาวาซากิ เฮฟวี อินดัสตรีส์, กิช่า เซโซะ | 701-746
(เหลือ 713 และ 715 ประจำการ) |
2478-2482 | 46 | 592 hp (441 kW) | 75 | ใช้บนเส้นทางสายน้ำตก (ทางรถไฟสายมรณะ) ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี |
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
[แก้]การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังเป็นผู้รับผิดชอบเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีก 7 โครงการ แบ่งเป็นรถไฟฟ้าชานเมือง 3 โครงการ และระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 โครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง
- รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ : เป็นสัมปทานของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด แบ่งออกเป็น
- ช่วงสุวรรณภูมิ - พญาไท ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร : เปิดให้บริการ โดยยกเลิกการให้บริการรถไฟด่วนเป็นการชั่วคราวเพื่อทดแทนด้วยรถไฟความเร็วสูง
- ช่วงพญาไท - ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง แบ่งออกเป็น
- สายสีแดงอ่อน (สายนครวิถี)
- ช่วงศาลายา - ตลิ่งชัน และศิริราช - ตลิ่งชัน : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงตลิ่งชัน - บางซื่อ : เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2564
- ช่วงบางซื่อ - พญาไท : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงพญาไท - หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา และศาลายา - นครปฐม : อยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทาง
- สายสีแดงเข้ม (สายธานีรัถยา)
- ช่วงธรรมศาสตร์รังสิต - รังสิต : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงรังสิต - บางซื่อ : เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2564
- ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ - มหาชัย กำลังปรับแบบช่วงหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ เป็นอุโมงลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาและจัดทำรายงาน EIA ฉบับใหม่ [27]
- มหาชัย - ปากท่อ และช่วงธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี : อยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทาง
- สายสีแดงอ่อน (สายนครวิถี)
- ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง - อู่ตะเภา : เป็นสัมปทานของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) ช่วงบางซื่อ - หนองคาย : เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลจีน อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
- รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น (สายเหนือ) ช่วงบางซื่อ - เชียงใหม่ : เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลญี่ปุ่น อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ
- รถไฟความเร็วสูงสายใต้ ช่วงบางซื่อ - ปาดังเบซาร์ (ไทย) : อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
- ↑ รายงานประจำปี 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1951-06-30. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
- ↑ ตะลึง! Blueprint ยุครัชกาลที่ 5 โครงการทางรถไฟสยามสู่จีน มีจริงหรือ-ใครอยู่เบื้องหลัง? (1)
- ↑ "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 4 / เรื่องที่ 7 รถไฟ / ประวัติการรถไฟในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-05-09.
- ↑ "รอยทางจาก "กรมรถไฟ" สู่... "แอร์พอร์ต เรล ลิงก์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-09.
- ↑ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 ตอน 24 ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2442 หรือ ร.ศ. 118
- ↑ ประกาศกระทรวงโยธาธิการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 ตอน 50 ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2442 หรือ ร.ศ. 118
- ↑ "ประกาศเปลี่ยนนามแห่งกรมรถไฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 770 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 770" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 หน้า 142". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
- ↑ "ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 1044". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
- ↑ "ครม.ไฟเขียวบอร์ดรถไฟฯ ชุดใหม่ "จิรุตม์" นั่งประธานฯ". Thai PBS. 2019-10-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
- ↑ "เครื่องหมายราชการของการรถไฟแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
- ↑ 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 Phil's Loco Page (July 4, 2015). "GE Export".
- ↑ 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 18.10 18.11 18.12 18.13 18.14 18.15 18.16 18.17 18.18 18.19 18.20 18.21 "SRT Diesel locomotive". September 6, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2016.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 Dave Dallner (November 20, 2010). "General Electric UM12C Production Roster".
- ↑ 20.00 20.01 20.02 20.03 20.04 20.05 20.06 20.07 20.08 20.09 20.10 20.11 20.12 20.13 20.14 20.15 20.16 20.17 20.18 20.19 20.20 20.21 20.22 20.23 20.24 20.25 20.26 20.27 20.28 "Locomotives Diesel standard Alsthom".
- ↑ 21.0 21.1 21.2 "SRT Alsthom Locomotive for MTU Engine". November 26, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2015.
- ↑ Wisarut (16 January 2015), "New SRT Locos: 20 CSR- 8 locos delivered!", 2Bangkok, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2015, สืบค้นเมื่อ 11 July 2015
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 "CSR Qishuyan locomotives delivered to Thailand", www.railwaygazette.com, DVV Media Group, 10 January 2015, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-20, สืบค้นเมื่อ 4 July 2015
- ↑ "CSR Qishuyan to supply 20 locomotives to Thailand", Railway Gazette International, DVV Media Group, 27 January 2013, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-20, สืบค้นเมื่อ 4 July 2015
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 รีวิวหัวรถจักรใหม่ อุลตร้าแมน จากจีน #รถจักร CRRC (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2022-01-31
- ↑ State Railway of Thailand 158s Modern Locomotives Illustrated issue 190 August 2011 pages 78-80
- ↑ "รอหน่อยนะ! คมนาคมยันเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดง"หัวลำโพง-มหาชัย"รอปรับแบบช่วงข้ามเจ้าพระยาเป็นอุโมงค์ทางลอด". ประชาชาติธุรกิจ. 2018-11-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- เว็บไซต์การรถไฟแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2006-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่แสดงเส้นทางการเดินรถไฟในปัจจุบัน[ลิงก์เสีย]
- คากิซากิ, อิจิโร. จากทางรถไฟสู่ทางหลวง: ความเปลี่ยนแปลงนโยบายการคมนาคมและการหมุนเวียนสินค้าของประเทศไทย พ.ศ. 2478-2518. นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2560.
- คากิซากิ, อิจิโร. ย้อนรอยรถไฟไทย: สืบสานและต่อยอด. แปลโดย มุทิตา พานิช. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562.
- สุทธิศักดิ์ แสวงศักดิ์. บทบาทของกรมรถไฟหลวงกับการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2464-2502. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ออนไลน์.
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์