ข้ามไปเนื้อหา

การสื่อสารสนามใกล้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Near field communication)

การสื่อสารสนามใกล้ (อังกฤษ: near field communication ; NFC) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะสั้นระยะประมาณ 4 ซม. ที่ใช้ได้ดีกับโครงสร้างพื้นฐานแบบไร้สัมผัส ช่วยสนับสนุนรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้ ๆ การสื่อสารสนามใกล้ถูกพัฒนาขึ้นโดยโซนี่และเอ็นเอ็กซ์พี โดยใช้คลื่นความถี่ 13.56 MHz. บนพื้นฐานมาตรฐาน ISO 14443 (Philips MIFARE and Sony’s FeliCa) ปัจจุบันบริษัททั้งสองได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ จัดตั้งเป็น NFC Forum เพื่อให้เกิดการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น

การสื่อสารสนามใกล้มักนำมาประยุกต์ใช้กับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ peer-to-peer เช่น เพลง เกม และรูปภาพ และประยุกต์ใช้กับการชำระเงินที่ต้องการความรวดเร็วและมีมูลค่าไม่สูง เช่น ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการชำระเงิน โดยวิธีการแตะบนเครื่องอ่านหรือเครื่องชำระเงินในร้านอาหารจานด่วน ร้านขายสินค้า ระบบการซื้อขายตั๋ว และระบบการชำระเงินค่าโดยสารในระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น การชำระเงินแบบไร้สัมผัสนี้ก่อให้เกิดการชำระเงินที่ง่ายและรวดเร็ว ลดการเข้าคิวชำระเงินในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ

ประโยชน์ของ NFC [1][2]

1.โอนถ่ายข้อมูลได้แค่เพียง "แตะ" ซึ่งมีความเร็วมากกว่าการโอนถ่าย Bluetooth

2.จ่ายเงินผ่านมือถือแทนบัตรเงินสดต่างๆ โดยเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคาร เช่น ตั๋วรถไฟฟ้า 7-11 ฯลฯ เปรียบเสมือนกระเป๋าตังอิเล็กทรอนิกส์

3.อ่าน Tag ต่างๆที่มี NFC อยู่ ซึ่งTagนั้นจะแสดงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ตามทที่เจ้าของสั่งการไว้ เมื่อเราแตะจะแสดงข้อมูลนั้นบนโทรศัพท์มือถือของเรา

เปรียบเทียบกับบลูทูธ

[แก้]
NFC
บลูทูธ บลูทูธพลังงานต่ำ
การเข้ากันได้กับอาร์เอฟไอดี ISO 18000-3 active active
มาตรฐาน ISO/IEC Bluetooth SIG Bluetooth SIG
มาตรฐานเครือข่าย ISO 13157 etc. IEEE 802.15.1 IEEE 802.15.1
ชนิดของเครือข่าย Point-to-point WPAN WPAN
การเข้ารหัส not with RFID available available
ระยะ < 0.2 m ~10 m (class 2) ~1 m (class 3)
ความถี่ 13.56 MHz 2.4-2.5 GHz 2.4-2.5 GHz
อัตราบิต 424 kbit/s 2.1 Mbit/s ~1.0 Mbit/s
ระยะเวลาเปิด < 0.1 s < 6 s < 1 s
การใช้พลังงาน < 15mA (อ่าน) ต่างไปตามชั้น < 15 mA (xmit)

การสื่อสารสนามใกล้และบลูทูธเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้คล้ายกันที่ปรากฏในโทรศัพท์มือถือ การสื่อสารสนามใกล้นั้นจะเปิดสัญญาณได้เร็วกว่าระบบบลูทูธ และการเชื่อมต่อระหว่างสองเครื่องจะสามารถเชื่อมต่อได้เร็ว แตกต่างจากบลูทูธที่จำเป็นต้องระบุตัวเครื่องของคู่ที่ต้องการเชื่อมต่อ ในขณะเดียวกันอัตราการส่งข้อมูลของเอ็นเอฟซี (424 kbit/s) มีอัตราที่ช้ากว่าบลูทูธ (2.1 Mbit/s) ด้วยระยะทางที่สั้นกว่าคือ 20 ซม. ซึ่งมีข้อเด่นคือจะไม่มีการแทรกแซงของข้อมูล หากในบริเวณมีการใช้งานอยู่จำนวนมาก

สิ่งที่แตกต่างจากบลูทูธอีกส่วนคือ การสื่อสารสนามใกล้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของอาร์เอฟไอดี (13.56 MHz ISO/IEC 18000-3) และใช้พลังงานที่ต่ำกว่าบลูทูธ ซึ่งจะใกล้เคียงกับบลูทูธชนิดพลังงานต่ำ

อ้างอิง

[แก้]
  • Ortiz, C. Enrique (June 2006). "An Introduction to Near-Field Communication and the Contactless Communication API". สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  • Kasper, Timo (May 2007). "An embedded system for practical security analysis of contactless smartcards" (PDF). Springer LNCS. Workshop in Information Security Theory and Practices 2007, Heraklion, Crete, Greece. 4462: 150–160. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-21. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)CS1 maint: location (ลิงก์)
  1. http://pantip.com/topic/30133423
  2. http://www.samsung.com/th/article/nfc