ข้ามไปเนื้อหา

พิกเซล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pixel)
เมื่อขยายรายละเอียดภาพจะเห็น พิกเซลของภาพ

จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียดภาพ (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้

จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล

ก่อนที่คําว่า Pixel จะถูกบัญญัติขึ้นมา มีการใช้คําศัพท์ภาษาเยอรมัน Bildpunkt เพื่ออธิบายลักษณะของจุดภาพที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอโทรทัศน์ ในเอกสารคําขอรับสิทธิบัตรโทรทัศน์ Elektrisches Teleskop ของนักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน Paul Nipkow หลังจากนั้นได้มีการแปลคําว่า Bildpunkt เป็นภาษาอังกฤษแบบไม่เป็นทางการ เช่น picture point, picture element, image element, area element, elementary area, picture units, smallsquares, little parts, units, dots, points, discrete signals, portions, elemental area of the picture,และ elementaltone value, resolution elements, positions, spots, sample spots, samples, gray values, raster points, matrix elements, video element, point, digital sample, beam spot และ digitalpicture element[1]

pixel art

คำว่า “Pixel” ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 ในบทความที่ชื่อว่า “Mariner 6 Television Pictures: First Report” ของนิตยสาร Science โดยได้มีการใส่คำว่า “Resolution elements (“Pixels”)” ในตารางข้อมูล จากนั้นได้มีการค้นพบภายหลังว่า เฟรดเดอริก ซี. บิลลิงส์ลีย์ (Frederic C. Billingsley) วิศวกรจาก Jet Propulsion Laboratory (JPL) ได้ใช้คำว่า “Pixel” ในเอกสารหลายฉบับของเขาตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 มีการอ้างอิงจากเอกสารหลายแหล่งว่า Pixel เป็นการรวมกันของคำว่า “pix” หรือ “Picture” ที่แปลว่า รูปภาพ และคำว่า “Element” ที่แปลว่า องค์ประกอบ หรือ ธาตุ โดยคำว่า “pix” เคยปรากฏในนิตยสาร Variety ตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ.1936 และเพิ่มความนิยมไปยังแวดวงหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ อย่างไรก็ตาม ริชาร์ด เอฟ ลียง (Richard F. Lyon, 2006) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า คำว่า “Pixel” น่าจะมาจากคำว่า “Pic Cell” หรือ “Picture Cells” โดยพิจารณาจากข้อมูลในบทความเรื่อง Pixel art ในนิตยสาร ACM ปี ค.ศ.1982 ที่ระบุว่า “a bitmap which indicates the black and white cells or pixels of the image being represented.”[2]

ขนาดแสดงภาพมาตรฐาน

[แก้]

ขนาดแสดงภาพมาตรฐานมาดังนี้:

  • VGA 0.3 ล้านพิกเซล= 640×480
  • SVGA 0.5 ล้านพิกเซล= 800×600
  • XGA 0.8 ล้านพิกเซล= 1024×768 (หรืออาจเรียก XVGA)
  • SXGA 1.3 ล้านพิกเซล= 1280×1024
  • EXGA 1.4 ล้านพิกเซล= 1400×1050
  • UXGA 2 ล้านพิกเซล= 1920×1080
  • QXGA 3.1 ล้านพิกเซล= 2048×1536
  • QSXGA 5.2 ล้านพิกเซล= 2560×2048
  • WQSXGA 6.6 ล้านพิกเซล= 3200×2048
  • QUXGA 7.7 ล้านพิกเซล= 3200×240

แนวคิดที่คล้ายคลึงกัน

[แก้]

ในแนวคิดที่คลายคลึงกับระบบพิกเซลมีหลายตัว เช่น ว็อกเซล (voxel - ใช้นิยามค่าในปริมาตร), เทคเซล (texel - หน่วยขององค์ประกอบ) และ เซอล์เฟล (หน่วยของพื้นผิว) ซึ่งสร้างเพื่อใช้ในการทำงานสำหรับด้านรูปภาพและกราฟิคต่างๆ บนคอมพิวเตอร์

Geometry of color elements of various CRT and LCD displays; phosphor dots in a color CRT display (top row) bear no relation to pixels or subpixels.


A photograph of sub-pixel display elements on a laptop's LCD screen


อ้างอิง

[แก้]
  1. Lyon, Richard F. (2006-02-02). Sampat, Nitin; DiCarlo, Jeffrey M.; Martin, Russel A. (บ.ก.). "A brief history of 'pixel'". San Jose, CA: 606901. doi:10.1117/12.644941. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. สรรเสริญ เหรียญทอง. "ศิลปะพิกเซลในงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและการออกแบบ." วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1, (2563): 100-115.
  • Foley, James D.; Andries van Dam, John F. Hughes, Steven K. Feiner (1990). "Spatial-partitioning representations; Surface detail". Computer Graphics: Principles and Practice. The Systems Programming Series. Addison-Wesley. ISBN 0-201-12110-7. "These cells are often called voxels (volume elements), in analogy to pixels."

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]