ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/214

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
199

ร่างกายฉเพาะทางปากทางเดียวเท่านั้น ซึ่งกินเวลาอันนานตั้งชั่วโมงกว่ายานั้นจะออกริทธิ์ ถ้าคนไข้ที่กินยาทางปากไม่ได้แล้ว ก็เปนอันหมดหนทางที่จะไห้ยารักสา

ส่วนแพทย์ฝรั่ง ไช้ยาที่เปนโลหะธาตุมากกว่าที่เปนพรรนไม้ และไช้ฉเพาะสิ่งที่ต้องการ คือ หัวยาเท่านั้น ไม่มีกากเลย ขนาดกินก็เปนจำนวนน้อยและเก็บไว้ได้นาน อาดไห้ยาทางปากก็ได้ ทางทวารก็ได้ ทางผิวหนังก็ได้ ทางหลอดโลหิตก็ได้ ซึ่งอาดจะทำไห้ยาออกริทธิ์ได้พายไนสองสามนาที คล้ายคนเดินทางโดยรถไฟและเครื่องบิน อาดถึงที่มุ่งหมายได้สมประสงค์ทันไจ"

นอกจากเห็นว่ายาฝรั่งรักสาโรคชะงัดกว่ายาไทยโดยอธิบายดังกล่าวมา การทำยาสำหรับแจกจ่ายไห้แพร่หลาย ทำยาฝรั่งสดวกกว่าทำยาไทยด้วย เพราะอาดจะทำเปนยาเม็ดเล็ก ๆ บันจุลงกลักหรือไส่ห่อส่งไปตามที่ต่าง ๆ ได้ง่าย และคนไข้กินเพียงเม็ดหนึ่งหรือสองเม็ดก็เห็นคุน อีกประการหนึ่ง ยาไทยก็มีไช้กันไนพื้นเมืองหยู่แล้ว แต่ยาฝรั่ง เช่นยาควินินแก้ไข้จับเปนต้น ตามหัวเมืองยังหายาก จึงตกลงว่าจะทำยาฝรั่ง

แต่ความลำบากยังมีหยู่อีกหย่างหนึ่ง ด้วยยาฝรั่ง แม้เปนยารักสาโรคอันเดียวกัน หมอต่างคนไช้วิธีผสมเครื่องยาต่างกัน หมอฝรั่งที่มารักสาไข้เจ็บหยู่ไนเมืองไทยไนเวลานั้น มีทั้งหมออังกริด ฝรั่งเสส อเมริกัน เยอรมัน และชาติอื่นก็มีอีก ถ้าปรึกสาแต่คนไดคนหนึ่ง คนอื่น