ศักราช เป็นช่วงเวลาที่จัดขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางวิทยาการลำดับเวลาหรือประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น รัชกาลในประวัติศาสตร์สำหรับพระมหากษัตริย์ ศักราชปฏิทินที่ใช้ในปฏิทิน หรือธรณีกาลสำหรับประวัติศาสตร์โลก[1]

ศัพท์ที่เทียบเคียงได้คือ ต้นยุคอ้างอิง, กาล, ช่วงเวลา, saeculum, aeon (กรีก aion)[2] และยุคจากสันสกฤต[3]

การใช้งานในวิทยาการลำดับเวลา

แก้

ในวิทยาการลำดับเวลา "ศักราช" เป็นหน่วยวัดเวลาระดับสูงสุด "ศักราชปฏิทิน"หมายถึงช่วงหลายปีซึ่งมีการนับเลขเริ่มต้นที่ต้นยุคอ้างอิงเฉพาะ[4] ซึ่งมักถือเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐหรือจักรวาลวิทยา ราชวงศ์ ผู้ปกครอง ปีเกิดของผู้นำ หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หรือตำนานที่สำคัญ[5]

ธรณีวิทยา

แก้

ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีมุมมองด้านเวลาอื่นที่เป็นอิสระจากกิจกรรมของมนุษย์ และครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่นานกว่ามาก (ส่วนใหญ่เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์) โดย"ธรณีกาล"คือช่วงเวลาที่กำหนดไว้อย่างดี[5] หน่วยเวลาที่ใหญ่กว่ามหายุคคือบรมยุค[6] เช่น บรมยุคฟาเนอโรโซอิกแบ่งออกเป็นหลายมหายุค[7] ปัจจุบันมีมหายุคในฟาเนอโรโซอิกถึงสามมหายุค ตารางข้างล่างเรียงจากน้อยสุดไปมากสุด

มหายุค[8][9] เริ่มต้น (ล้านปีก่อนปัจจุบัน) สิ้นสุด (ล้านปีก่อนปัจจุบัน)
ซีโนโซอิก 66.038 ไม่ทราบ
มีโซโซอิก 252.17 66.038
พาลีโอโซอิก 542 252.17

บรมยุคโพรเทอโรโซอิกและบรมยุคอาร์เคียนที่เก่าแก่กว่าก็แบ่งออกเป็นหลายมหายุค[10][11]

จักรวาลวิทยา

แก้

สำหรับสมัยในประวัติศาสตร์จักรวาลจะใช้คำว่า "สมัย " (Epoch) แต่ก็มีการใช้คำว่า "ยุค" ด้วย เช่น "ยุคแห่งดวงดาว"[12]

ปฏิทิน

แก้

ศักราชปฏิทินนับปีตั้งแต่วันที่เฉพาะ (ต้นยุคอ้างอิง) ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องในด้านศาสนา Anno mundi (ปีของโลก) คือกลุ่มปีปฏิทินที่อิงจากการคำนวณอายุของโลก โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตามที่ระบุไว้ในหนังสือปฐมกาล[13] โดยในทางศาสนายูดาห์ยังคงมีการใช้งาน และปฏิทินศาสนาของอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์หลายแห่งใช้ปฏิทินอีกแบบจนถึง ค.ศ. 1728 ปีฮีบรู 5772 AM เริ่มต้นตอนดวงอาทิตย์ตกในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2011[14] และสิ้นสุดในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2012[15] ในคริสต์จักรตะวันตก Anno Domini (AD หรือเขียนเป็น CE) นับปีตั้งแต่วันประสูติของพระเยซูตามการคำนวณแบบดั้งเดิม เป็นรูปแบบที่แพร่หลายเสมอ[16]

ปฏิทินอิสลามนับปีตั้งแต่การฮิจเราะห์หรืออพยพของศาสดามุฮัมมัดจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 622[17] ปฏิทินอิสลามมีวันน้อยกว่า 365 วัน ทำให้มกราคม ค.ศ. 2012 อยู่ใน ฮ.ศ. 1433[18]

ประเทศญี่ปุ่นใช้ระบบปีจักรวรรดิ (โคกิ) ตั้งแต่ ค.ศ. 1872 จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง[19] ปีนั้นเริ่มต้นในตอนที่จักรพรรดิจิมมุในตำนานสถาปนาญี่ปุ่นเมื่อ 660 ปีก่อน ค.ศ.[20]

ปฏิทินพุทธหลายแบบนับตั้งแต่วันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งตามการคำนวณแบบทั่วไปอยู่ในช่วง 545–543 ปีก่อน ค.ศ. หรือ 483 ปีก่อน ค.ศ.[21] นั่นทำให้ ค.ศ. 2000 ตรงกับ พ.ศ. 2543 ในปฏิทินสุริยคติไทย (นับหลังปีที่ปรินิพพาน 1 ปี)[21]

ศักราชปฏิทินอื่น ๆ นับตามเหตุการณ์ทางเมือง เช่น ศักราชเซลูซิด[22] และ ab urbe condita ("AUC") ของโรมันโบราณที่นับตั้งแต่ปีก่อตั้งเมือง[23]

รัชสมัย

แก้

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

แก้

ศักราชในประเทศไทย

แก้
พุทธศักราช (พ.ศ.)
ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0
คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2001 จึงครบรอบวันสมภพ 2000 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่
มหาศักราช (ม.ศ.)
หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะ แห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี
จุลศักราช (จ.ศ.)
เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1181 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร์) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาเนื่องจากเดือน 5 ไทยเราจะไปตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทางชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก
รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่สะดวกในการอ้างอิงปีในประวัติศาสตร์ เช่น กล่าวว่า ไทยเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปีที่ 15 ก่อน ร.ศ. เป็นต้น
กลียุคศักราช หรือกลียุคกาล (ก.ศ.)
เป็นศักราชจากชมพูทวีป และเป็นศักราชที่เก่าที่สุดที่ปรากฏในบันทึกของไทย เกิดก่อนพุทธศักราชถึง 2558ปี
วิกรมาทิตย์ศักราช (ว.ศ.) หรือวิกรมสังวัต
เป็นศักราชจากชมพูทวีป แต่ไม่มีปรากฏในบันทึกของไทย เกิดหลังพุทธศักราช 785 ปี
ศักราชพระเจ้าเหลือง (ล.ศ.)
เป็นศักราชที่ถือกำเนิดโดยพระเจ้าเหลืองมหาราช ของดินแดนที่เป็นประเทศจีนในปัจจุบัน เกิดก่อนพุทธศักราช 2154 ปี ในปัจจุบันมีข้อถกเถียงว่า ตัวเลขของศักราชนี้อาจมีค่ามากเกินไป 60 ปี เช่นเดียวกับ พ.ศ. และหรืออาจนับเอา ล.ศ. 0 เป็นปีตั้งศักราชด้วยก็ได้
ศักราชจุฬามณี (ศักราชกฎหมาย)

อ้างอิง

แก้
  1. "Era | definition in the Cambridge English Dictionary". Cambridge Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  2. "Thesaurus.com - The world's favorite online thesaurus!". Thesaurus.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  3. "Yuga". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  4. Richards, E. G. (2013). "Calendars". ใน Urban, Sean E.; Seidelmann, P. Kenneth (บ.ก.). Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac (3 ed.). Mill Valley, CA: Univ Science Books. ISBN 978-1-891389-85-6.
  5. 5.0 5.1 "The Geological Society of London - How are Geological Periods Determined?". www.geolsoc.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  6. Martin Harweit (1991). Astrophysical Concepts (2nd ed.). Springer-Verlag. ISBN 3-540-96683-8. p. 4.
  7. Short, N.M. (2009). "Geologic Time" เก็บถาวร 2005-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Remote Sensing Tutorial เก็บถาวร 2009-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NASA.
  8. Lide, D. R. (1990). Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton: CRC Press. pp. 14–16.
  9. "International Stratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2014.
  10. "Proterozoic Eon | Oxygen Crisis, Animals, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  11. "Archean Eon | Atmosphere, Timeline, and Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  12. "Big Bang Timeline- The Big Bang and the Big Crunch - The Physics of the Universe". www.physicsoftheuniverse.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  13. "Anno mundi | Jewish Calendar, History & Origins | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  14. "Hebrew Date Converter - September 28, 2011 after sunset / 1st of Tishrei, 5772". www.hebcal.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  15. "Hebrew Date Converter - September 16, 2012 after sunset / 1st of Tishrei, 5773". www.hebcal.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  16. "Chronology - Christian History, Dates, Events | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  17. "Islamic calendar | Months, Definition, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-14. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  18. "Hijri to Gregorian Date Converter - Islamic Date Converter". IslamicFinder (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  19. Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5.
  20. Gubbins, John Harrington. (1922). The Making of Modern Japan, p. 71; Mossman, Samuel. (1873). New Japan, the Land of the Rising Sun, p. 462.
  21. 21.0 21.1 "Calendar systems and their role in patent documentation | Epo.org". www.epo.org. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  22. Denis C. Feeney, Caesar's Calendar, University of California Press, Berkeley 2007, p. 139.
  23. Wiseman, Timothy Peter (1995). Remus: A Roman Myth. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-48366-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้