ข้ามไปเนื้อหา

วัน แบงค็อก

พิกัด: 13°43′38″N 100°32′50″E / 13.7272°N 100.5473°E / 13.7272; 100.5473
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัน แบงค็อก
โครงการ
เริ่มสร้าง8 มีนาคม พ.ศ. 2561
แล้วเสร็จพ.ศ. 2570
เปิดใช้งาน18 มีนาคม พ.ศ. 2567 (อาคารสำนักงาน 4 และพาเหรดบางส่วน)
25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (อาคารสำนักงาน 3, พาเหรด, เดอะสตอรีส์ และพื้นที่เปิดโล่ง)
พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 (โรงแรมเดอะ ริทส์-คาร์ลตัน)
พ.ศ. 2568 (อาคารสำนักงาน 5 และโรงแรมแอนดาซ)
พ.ศ. 2569 (โพสต์ 1928 และโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์)
พ.ศ. 2570 (ทั้งโครงการ)
ค่าก่อสร้าง120,000 ล้านบาท
สถานะเปิดใช้งานบางส่วน
พื้นที่108 ไร่
ผู้พัฒนาโครงการบริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด โดย
  • บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
สถาปนิกสคิดมอร์, โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์
บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด
บริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด
ผู้จัดการบริษัท วัน แบงค็อก จำกัด
เจ้าของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
เว็บไซต์onebangkok.com
ลักษณะทางกายภาพ
อาคารหลักวัน แบงค็อก ทาวเวอร์
พื้นที่สาธารณะวัน แบงค็อก พาร์ค
พาเหรด พาร์ค
ไวร์เลส พาร์ค
การจัดสรรพื้นที่อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย พื้นที่ค้าปลีก
ถนนถนนพระรามที่ 4
ถนนวิทยุ
ขนส่งมวลชน ลุมพินี
ที่ตั้ง
พิกัด: 13°43′38″N 100°32′50″E / 13.7272°N 100.5473°E / 13.7272; 100.5473
ประเทศ ไทย
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เขตปทุมวัน
แขวงลุมพินี

วัน แบงค็อก (อังกฤษ: One Bangkok) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบริเวณหัวมุมแยกวิทยุ ติดกับสวนลุมพินี ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่จำนวน 104 ไร่ ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พัฒนาโดยบริษัท วัน แบงค็อก จำกัด ในเครือกลุ่มทีซีซี[1] และบริหารงานโดยบริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด กิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด[2] เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561[3] เริ่มเปิดอย่างไม่เป็นทางการในบางส่วนของระยะแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567[4] มีกำหนดเปิดให้บริการระยะแรกในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567[5] และกำหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2570[6]

ประวัติ

พื้นที่ก่อสร้างวัน แบงค็อก
การก่อสร้างวัน แบงค็อก ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565

ความเป็นมาของที่ตั้งโครงการ

พื้นที่โครงการวัน แบงค็อก เดิมเป็นสถานีวิทยุศาลาแดง[7], โรงเรียนเตรียมทหาร, สนามมวยเวทีลุมพินี และสวนลุมไนท์บาซาร์ โดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้นำพื้นที่บริเวณนี้มาประมูลครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยเปิดให้บริษัทเอกชนเสนอแผนการพัฒนาโครงการ ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 8 ราย อาทิ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มทีซีซี เป็นต้น โดยในครั้งแรกนี้ เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ชนะการประมูล[8] แต่บริษัทไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ได้ทันที เนื่องจากติดปัญหาการย้ายออกจากพื้นที่ของ บริษัท พี.คอน. ดีเวลลอปเม้นท์ (ไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์ จนต้องมีการฟ้องร้อง และศาลมีคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตาม หลังจากระยะเวลาผ่านมา 8 ปี กลุ่มเซ็นทรัลก็ยังคงไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จึงยกเลิกสัญญากับเซ็นทรัลพัฒนา เพื่อนำที่ดินดังกล่าวออกมาประมูลใหม่[9]

การประมูลครั้งที่สองนี้ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้มอบหมายให้บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด จัดประมูลในปี พ.ศ. 2556[10] โดยมีผู้เข้ารอบ 18 ทีม กำหนดขอบเขตของโครงการเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม ซึ่งประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงาน ศูนย์การศึกษา และศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งมีผู้ผ่านการพิจารณา 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ในเครือกลุ่มทีซีซี, เซ็นทรัลพัฒนา ผู้ชนะการประมูลเดิม, บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (เจ้าของบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)) และกลุ่มบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม การประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากติดข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในสวนเบญจกิติและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งออกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยมีใจความสำคัญคือ ห้ามสร้างอาคารสูงเกินกำหนดในพื้นที่โดยรอบสวนเบญจกิติ ซึ่งพื้นที่ประมูลโครงการนี้อยู่ในพื้นที่บริเวณที่ 4 จึงถูกจำกัดความสูงไว้ที่ 45 เมตรด้วย ทำให้เอกชนที่เข้าประมูลไม่สามารถพัฒนาโครงการได้เต็มที่ ทั้งที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เนื่องจากเป็นที่ดินราคาแพงย่านใจกลางเมือง อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นข้อจำกัดดังกล่าว จึงแก้ไขข้อบัญญัติในปี พ.ศ. 2557 โดยปลดล็อกความสูงในพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ ยกเว้นพื้นที่ที่ตั้งของสวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และโรงงานยาสูบเดิม ที่ยังคงจำกัดความสูงไว้ไม่เกิน 23 เมตรเช่นเดิม ทำให้พื้นที่ประมูลโครงการนี้ไม่ถูกจำกัดความสูงอีก

ผู้ที่ถือเป็นตัวเต็งของการประมูลครั้งที่สอง คือกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา เนื่องจากเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งที่ผ่านมา แต่ในที่สุด ผู้ชนะการประมูลได้แก่ บริษัทในเครือกลุ่มทีซีซี ของเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยจำกัดระยะเวลาเช่าไว้ที่ 30 ปี พร้อมตัวเลือกขยายสัญญาอีก 30 ปี[11] ส่วนเซ็นทรัลพัฒนาได้หันไปร่วมมือกับเครือดุสิตธานี เพื่อพัฒนาโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ในพื้นที่เดิมของโรงแรมดุสิตธานีที่อยู่ใกล้เคียง

การออกแบบ

วัน แบงค็อก ได้รับการออกแบบแผนแม่บทโดย สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล ร่วมกับ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด และบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด และใช้เงินลงทุนจำนวน 120,000 ล้านบาท ทำให้เคยเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้จำนวนเงินลงทุนสูงที่สุดในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยในขณะนั้น (แทนที่ไอคอนสยาม) ก่อนสถิติจะถูกทำลายลงโดยโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์[12] (ที่จะเปิดให้บริการทั้งโครงการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2568)

การเปิดให้บริการ

วัน แบงค็อก เริ่มเปิดอย่างไม่เป็นทางการ ในส่วนอาคารสำนักงานหมายเลข 4 และทางเชื่อมสถานีลุมพินี ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[4] เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567 จากนั้นในเดือนตุลาคมมีการแสดงเลเซอร์ฉายไปยังอาคารภายในโครงการ ในช่วงเวลา 19:00–24:00 น.[13]

พิธีเปิดอย่างเป็นทางการของโครงการวัน แบงค็อก กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยมีการแสดงพิธีเปิดที่สร้างสรรค์โดยออดิทัวร์ ผู้ร่วมสร้างสรรค์การแสดงในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024[13] ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวมีจะการเปิดให้บริการในส่วนค้าปลีกหลัก อันประกอบด้วยพาเหรด และเดอะสตอรีส์[5] รวมถึงอาคารสำนักงาน 3, อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย เดอะ เรสซิเดนเซส แอท วัน แบงค็อก, อาคารเดอะ ไวร์เลส เฮาส์ แอท วัน แบงค็อก, สวน และพื้นที่เปิดโล่งทั้งหมด[14]

สำหรับโรงแรมเดอะริทส์-คาร์ลตัน แบงค็อก[5] อาคารสำนักงาน 2, อาคารสำนักงาน 5, โรงแรมแอนดาซ, โพสต์ 1928, โรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ และอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นอาคารสูงที่สุดของโครงการ กำหนดเปิดให้บริการในลำดับถัดไป

การจัดสรรพื้นที่

วัน แบงค็อก ทาวเวอร์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทสำนักงานและโรงแรม
ที่อยู่ถนนพระรามที่ 4
เมืองกรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2568
แล้วเสร็จพ.ศ. 2570 (คาดการณ์)
ความสูง436.1 เมตร
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น92
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกสกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล
ผู้พัฒนาโครงการบจก. วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์

วัน แบงค็อก ออกแบบโดยใช้แนวคิด "เมืองกลางใจ" (The Heart of Bangkok)[15] ประกอบด้วย 4 โซน มีลานสันทนาการกลางแจ้งตั้งอยู่ใจกลางโครงการ พร้อมด้วยพื้นที่ค้าปลีกบริเวณส่วนล่างของอาคาร โดยส่วนสำนักงานกับส่วนที่พักอาศัยจะอยู่ส่วนบนของตึก สำหรับอาคารสำนักงาน 5 อาคาร พื้นที่รวมกัน 5 แสนตารางเมตร ส่วนพื้นที่โรงแรมมีทั้งหมด 5 แห่ง อาทิ โรงแรมเดอะริทช์ คาร์ลตัน จำนวน 259 ห้อง [16], โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ในเครือโรงแรมไฮแอท[17] และโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ[18] เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวภายในโครงการอีกจำนวน 50 ไร่[19]

วัน แบงค็อก ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้[20][14]

  • อาคารโรงแรม จำนวน 2 อาคาร ได้แก่ โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ในเครือไฮแอท โฮเต็ลส์ คอร์ปอเรชัน[17][21] และอาคารปฐมเฮาส์[22]
  • อาคารสำนักงาน จำนวน 3 อาคาร ได้แก่ วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 3, 4 และ 5
  • อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย จำนวน 2 อาคาร โดยหนึ่งในนั้นคืออาคารเอททีน เซเวน[22]
  • อาคารสำนักงานและโรงแรม จำนวน 2 อาคาร ได้แก่ ตึกวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ ซึ่งจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ที่ความสูง 437.03 เมตร และอาคารวัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 2 ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของโรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ
  • อาคารวัน 89 ไวร์เลส ประกอบด้วยส่วนห้องชุดเพื่อการพักอาศัย เรสซิเดสเซส แอท วัน แบงค็อก และโรงแรมริทส์–คาร์ลตัน แบงค็อก[22]
  • ส่วนค้าปลีก พื้นที่รวม 180,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยสี่ส่วน ได้แก่
    • พาเหรด ศูนย์การค้าหลักของโครงการ พื้นที่รวม 140,000 ตารางเมตร มีผู้เช่าหลัก ได้แก่ วัน คอนเทนต์ สโตร์, สารพัดไทย, นิโตริ, มูจิ สาขาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[23], บิ๊กซี แบงค็อก มาร์เช, คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก[15][24], มิตซูโคชิ เดปาจิกะ[25], สวนสนุกฮาร์เบอร์แลนด์ และโรงภาพยนตร์วัน อัลตรา สกรีนส์ เป็นต้น
    • เดอะสตอรีส์ พื้นที่ 64,000 ตารางเมตร แหล่งรวมร้านสินค้าเทคโนโลยี ร้านค้าแฟชัน และร้านอาหาร มีผู้เช่าหลักได้แก่ จิม ทอมป์สัน ไลฟ์สไตล์ สโตร์[26], สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ, % อะราบิกา, เจ็ตส์ แบล็ค ฟิตเนส และเทคเวิลด์ บาย ดอทไลฟ์ เป็นต้น
    • โพสต์ 1928 พื้นที่ 67,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของร้านสินค้าหรูหรา สินค้าสุขภาพ บริการด้านความงาม และสินค้าตกแต่งบ้าน
    • ศูนย์ความบันเทิง ประกอบด้วย วัน แบงค็อก ฟอรัม ศูนย์นิทรรศการ การประชุม และมหรสพ พื้นที่ 50,000 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 6,000 ที่นั่ง[27] และช้าง แคนวาส แหล่งรวมร้านอาหาร ผับ และบาร์

โดยทุกอาคารจะเชื่อมต่อด้วยฐานเดียวกัน นอกจากนี้ยังจัดสรรพื้นที่บางส่วนเป็นสวนสาธารณะ, อาคารหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ "เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ แอท วัน แบงค็อก"[28], สถานีวิทยุ และยังมีทางเดินใต้ดินเชื่อมโครงการเข้ากับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี, รถบัสพลังงานไฟฟ้ารับ-ส่งจากสถานีเพลินจิตของรถไฟฟ้าบีทีเอส[29] รวมถึงทางเชื่อมไปยังทางพิเศษเฉลิมมหานคร ผ่านทางด่านลุมพินีอีกด้วย[30]

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. TCC GROUP เผยโฉม ONE BANGKOK บริเวณถ.พระรามสี่ มูลค่ากว่า 120,000 ลบ.
  2. ว่องไชยกุล3, พัฐรัศมิ์ (3 เมษายน 2017). "เจ้าสัว 'เจริญ' ทุ่ม 1.2 แสนล้านพัฒนาโครงการยักษ์ One Bangkok แยกพระราม4-วิทยุ". ฟอบส์ ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "One Bangkok โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มก่อสร้าง". มติชน. 8 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 ""วัน แบงค็อก" เปิดออฟฟิศตึกแรกแล้ว! พื้นที่ "รีเทล" แกรนด์โอเพนนิ่งเดือนตุลาฯ ชูจุดเด่น "ช้อปปิ้ง สตรีท"". Positioning Magazine. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 "เบิกฤกษ์ 25 ตุลาคม 67 เปิด 'วัน แบงค็อก' พลิกกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก". กรุงเทพธุรกิจ. 7 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. กลุ่ม TCC ทุ่มกว่า 1.2 แสนล้าน เปิด One Bangkok
  7. ตำนานวิทยุไทย เครื่องมือสร้าง-ชาติ
  8. ทรัพย์สินฯประกาศชัดCPNคว้าสวนลุมไนท์
  9. เซ็นทรัล เลิกสัญญา สวนลุมไนท์ เปิดประมูลใหม่ 88 ไร่
  10. เซ็นทรัลทิ้งโปรเจ็กต์สวนลุมไนท์ สนง.ทรัพย์สินฯนับหนึ่งใหม่ ยักษ์อสังหาฯแห่ชิงดำ
  11. ‘One Bangkok’ อภิมหาโครงการของเสี่ยเจริญ
  12. โครงการบ้านและคอนโดระดับเวิลด์คลาส ใกล้สุวรรณภูมิ - MQDC
  13. 13.0 13.1 "นับถอยหลัง วัน แบงค็อก เปิดทางการ 25ต.ค.นี้สุดอลังการด้วยโชว์ระดับโลก". สปอตไลต์. อมรินทร์ทีวี. 20 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 "เปิดผัง "One Bangkok" แลนด์มาร์คระดับโลก". Realist Blog. 20 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "วัน แบงค็อก เปิดรีเทล ต.ค.นี้ ดึงแบรนด์หรู - ดิวตี้ฟรี มุ่งโกลบอลเดสทิเนชั่น". bangkokbiznews. 2024-03-19.
  16. เปิดมาสเตอร์แพลนโครงการวัน แบงค็อก บนพื้นที่ 104 ไร่ใจกลางเมือง ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท
  17. 17.0 17.1 Hyatt to Accelerate Growth of its Luxury and Lifestyle Brands in Asia Pacific
  18. "One Bangkok จับมือ เฟรเซอร์ส ฮอลพิทาลิตี้ รังสรรค์ "เฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ" มอบประสบการณ์การพักผ่อนที่เหนือระดับ". www.marketthink.co. 2023-11-28.
  19. วัน แบงค็อก (One Bangkok) เมืองแห่งความครบครันเพื่อการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดตัวมาสเตอร์แพลน เจาะลึกการออกแบบทั้งโครงการ
  20. บริษัท ไท-ไท วิศวกร จำกัด (14 ธันวาคม 2018). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับสมบูรณ์) โครงการ ONE BANGKOK (Report). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.
  21. “วัน แบงค็อก” แลนด์มาร์คแสนล้าน เปิดตัวโรงแรม “แอนดาซ” แห่งแรกในกรุงเทพฯ
  22. 22.0 22.1 22.2 https://www.matichon.co.th/economy/news_4863206 วันแบงค็อก 1.2 แสนล้าน เปิดวันแรก 25 ต.ค.นี้ เช็กลิสต์คนดัง-ไฮไลต์เปิดงาน เพียบ!
  23. "MUJI One Bangkok Grand Opening!". www.instagram.com.
  24. "KING POWER CITY BOUTIQUE". The King Power Corporation.
  25. วัน แบงค็อก ผนึก อิเซตัน ห้างญี่ปุ่น เปิด มิตซูโคชิ ฟู้ดเดสติเนชั่น แห่งแรกในไทย
  26. "จิม ทอมป์สัน เตรียมเปิด 'ไลฟ์สไตล์สโตร์' แห่งแรกที่ 'วัน แบงค็อก' ผสมผสานร้านอาหารและการช็อปปิ้ง - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  27. Limited, Bangkok Post Public Company. "Building castles in the sky". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
  28. Limited, Bangkok Post Public Company. "One Bangkok: A New Era of Urban Living Begins on 25 October". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-10-18.
  29. วัน แบงค็อก เปิดตัวรีเทล 1.6 แสน ตร.ม. ปักหมุดกรุงเทพฯ มหานครช็อปปิ้งของเอเชีย
  30. ฐานเศรษฐกิจ (2023-02-13). "ONE BANGKOK "Evolving Bangkok" ร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก". thansettakij.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′38″N 100°32′50″E / 13.7272°N 100.5473°E / 13.7272; 100.5473