กาญจนา นาคสกุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล | |
---|---|
เกิด | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2480[1] |
อาชีพ | อาจารย์ |
มีชื่อเสียงจาก | ราชบัณฑิต และ รายการ 'ภาษาไทยวันละคำ' |
ศาสตราจารย์กิตติคุณกาญจนา นาคสกุล[หมายเหตุ ก] เป็นนักวิชาการชาวไทย ดำรงตำแหน่งราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทย รวมทั้งภาษาและวรรณคดีเขมรมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศ มีผลงานด้านการเขียนเกี่ยวกับภาษาไทยและภาษาเขมรเป็นจำนวนมาก กาญจนาเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้นเมื่อจัดรายการ ภาษาไทยวันละคำ โดยหยิบยกคำภาษาไทยที่คนไทยใช้กันผิดพลาดมากมาอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ในปี พ.ศ. 2555 กาญจนาได้เสนอแนวทางการปรับปรุงคำยืมจากภาษาอังกฤษ 176 คำ แต่ได้ถูกคัดค้าน และทางราชบัณฑิตยสถานได้ ประกาศว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เพราะจัดพิมพ์ไปแล้ว ส่วนข้อเสนอของกาญจนายังอยู่ในช่วงพิจารณาภายใน[2]
การศึกษา
[แก้]- อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (General Linguistics and Phonetics) และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Cambodian and Thai Language and Literature) จากวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
- หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ครอบครัว
[แก้]ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ พลเรือเอก ไพบูลย์ นาคสกุล มีบุตร-ธิดา 3 คน
หน้าที่การงานในอดีต
[แก้]- หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2540
หน้าที่การงานในปัจจุบัน
[แก้]- ราชบัณฑิต สาขาภาษาไทย ประจำสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
ผลงาน
[แก้]- กาญจนา นาคสกุล. ระบบเสียงภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.
- กาญจนา นาคสกุล. อ่านภาษาเขมร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
- กาญจนา นาคสกุล. ภาษาไทยวันนี้: รวมคำภาษาไทยน่ารู้จากนิตยสารสกุลไทยและโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนดี, 2544.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2564 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขามนุษยศาสตร์[5]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
หมายเหตุ
[แก้]- หมายเหตุ ก อ่านว่า "นาก-สะ-กุน"[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 84 ปี อายุวัฒนมงคล ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล วันที่ 7 มิถุนายน 2564
- ↑ "เปิดใจราชบัณฑิตฯ "อยากเขียนแบบผิดๆ ก็เรื่องของพวกคุณ"". mgronline.com. 2012-10-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 112 ตอนที่ 17 ข หน้า 6, 4 ธันวาคม 2538
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 107 ตอนที่ 240 ง ฉบับพิเศษ หน้า 11, 4 ธันวาคม 2533
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2564 เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 139 ตอนที่ 14 ข หน้า 10, 5 เมษายน 2565
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 102 ตอนที่ 17 ง ฉบับพิเศษ หน้า 412, 8 กุมภาพันธ์ 2528
- ↑ ปาฐกถาพิเศษชุด "เสฐียรโกเศศวิถีกีรติชน" โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย. 2021-03-27. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0:02. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- ราชบัณฑิต
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน