การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (อังกฤษ: sustainable development) เป็นหลักการจัดองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ พร้อมกับยังรักษาความสามารถของระบบธรรมชาติไว้เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและบริการระบบนิเวศซึ่งเศรษฐกิจและสังคมต้องพึ่งพา โดยผลที่คาดหวังคือ สภาพสังคมที่มีการใช้ภาวะการครองชีพและทรัพยากรเพื่อบรรลุความต้องการของมนุษย์โดยไม่บ่อนทำลายบูรณภาพและเสถียรภาพของระบบธรรมชาติ การพัฒนาอย่างยั่งยืนยังนิยามได้ว่าเป็นการพัฒนาที่บรรลุความจำเป็นในปัจจุบันโดยไม่ลดทอนความสามารถของชนรุ่นหลังในการบรรลุความจำเป็นของพวกเขา เป้าหมายความยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับสหประชาชาติปัจจุบัน จัดการกับความท้าทายทั่วโลก รวมทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของธรรมชาติ สันติภาพและความยุติธรรม
มโนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนสมัยใหม่ส่วนใหญ่รับมาจากรางานบรุนดท์ลันด์ ค.ศ. 1987 แต่ยังมีรากในความคิดก่อนหน้านั้นเกี่ยวกับการจัดการป่าอย่างยั่งยืนและความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อการพัฒนามโนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนดำเนินไป มันได้เลื่อนความมุ่งสนใจต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการปกป้องสิ่งแดวล้อมสำหรับชนรุ่นหลังมากขึ้น ๆ เศรษฐกิจสมัยใหม่กำลังต่อสู้เพื่อประนีประนอมระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างทะเยอทะยานและข้อผูกมัดในการสงวนทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ ซึ่งปกติทั้งสองประเด็นนี้มักมองว่ามีสภาพขัดแย้งกัน
มโนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ถูกวิจารณ์มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจะให้อะไรยั่งยืน มีการให้เหตุผลว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบใช้แล้วหมดไปอย่างยั่งยืนไม่มีอยู่จริง เพราะการสำรวจขุดเจาะใด ๆ สุดท้ายจะทำให้ปริมาณที่มีอยู่จำกัดในโลกหมดไปอยู่ดี เมื่อใใช้ทัศนะดังนี้แล้วทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งหมดไม่ยั่งยืนตามไปด้วย[1]: 20f [2]: 61–67 [3]: 22f มีการให้เหตุผลว่าความหมายของมโนทัศน์ดังกล่าวถูกฉวยโอกาสขยายจาก "การจัดการอนุรักษ์" มาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และรายงานบุรนดท์ลันด์ส่งเสริมยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบเดิม ๆ สำหรับการพัฒนาโลก โดยแนบมโนทัศน์ที่กำกวมและไม่มีแก่นสารไปด้วยเพื่อใช้เป็นการประชาสัมพันธ์[4]: 48–54 [5]: 94–99
Viable - ปฏิบัติได้ : สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ก่อให้เกิดผลเชิงบวกทั้งต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
Bearable - รับได้ : สภาพแวดล้อมเกิดสมดุล โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและธรรมชาติสามารถแบกรับได้ ส่วนในด้านสังคม มีการพัฒนาในเชิงบวกด้านสิทธิเสรีภาพและโอกาสของเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชุมชนยอมรับ
Equitable - ยุติธรรม : การพัฒนาก่อให้เกิดความเท่าเทียมทางด้านเศรษฐกิจและโอกาสของทุกคนในสังคม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Georgescu-Roegen, Nicholas (1971). The Entropy Law and the Economic Process (Full book accessible at Scribd). Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0674257801.
- ↑ Rifkin, Jeremy (1980). Entropy: A New World View (PDF contains only the title and contents pages of the book). New York: The Viking Press. ISBN 978-0670297177.
- ↑ Daly, Herman E. (1992). Steady-state economics (2nd ed.). London: Earthscan Publications.
- ↑ O'Riordan, Timothy (1993). "The Politics of Sustainability". ใน Turner, R. Kerry (บ.ก.). Sustainable Environmental Economics and Management: Principles and Practice. London: Belhaven Press.
- ↑ Perez-Carmona, Alexander (2013). "Growth: A Discussion of the Margins of Economic and Ecological Thought" (Article accessible at SlideShare). ใน Meuleman, Louis (บ.ก.). Transgovernance. Advancing Sustainability Governance. Heidelberg: Springer. pp. 83–161. doi:10.1007/978-3-642-28009-2_3. ISBN 9783642280085.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sustainable Development Knowledge Platform, United Nations platform on sustainable development.
- "Sustainable Development Law & Policy". American University Washington College of Law. 11 พฤศจิกายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2017.
- UK Sustainable Development Commission
- "Sustainable Development Solutions Network". Sustainable Development Solutions Network. 20 April 2017. สืบค้นเมื่อ 8 June 2017.
- World Bank website on sustainable development.