คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 16
คณะรัฐมนตรีปรีดี 2 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
มิถุนายน - สิงหาคม พ.ศ. 2489 | |
วันแต่งตั้ง | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
วันสิ้นสุด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (0 ปี 73 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ |
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 15 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 16 ของไทย (11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 11 ประกอบด้วย พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) และนายสงวน จูทะเตมีย์เป็นผู้ลงนามในประกาศ
พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา และนายเกษม บุญศรี ประธานสภาผู้แทน ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 ของไทย
[แก้]ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย | ||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 ของไทย | |||||
ตำแหน่ง | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
นายกรัฐมนตรี | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงกลาโหม | พลโท จิร วิชิตสงคราม | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
พันเอก ทวน วิชัยขัทคะ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | |||
กระทรวงการคลัง | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
วิจิตร ลุลิตานนท์ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | |||
กระทรวงการต่างประเทศ | ดิเรก ชัยนาม | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงเกษตราธิการ | ทวี บุณยเกตุ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงคมนาคม | นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงพาณิชย์ | หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงมหาดไทย | ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงยุติธรรม | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงศึกษาธิการ | นายเดือน บุนนาค | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงสาธารณสุข | พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) |
11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
กระทรวงอุตสาหกรรม | นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | พันเอก พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) |
11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) |
11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | ||
รัฐมนตรี | นายวิโรจน์ กมลพันธ์ | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 |
การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 42 หน้า 4
กรณีสวรรคตกับคณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 ของไทย
[แก้]ก่อนหน้านี้ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ และพันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา และนายเกษม บุญศรี ประธานสภาผู้แทนฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
โดยที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จสวรรคต นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง และโดยที่เห็นว่า นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัย ที่จักได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการแต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดนี้
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องด้วยตรากตรำทำงานฉลองคุณประเทศชาติมาเป็นเวลาพอสมควร รู้สึกว่าสุขภาพเสื่อมโทรมลง ไม่สามารถจะปฏิบัติภารกิจของรัฐได้เต็มที่ จึงได้ลาออกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489