ข้ามไปเนื้อหา

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
ภาพเหมือนของโคลัมบัสโดยเซบัสเตียโน เดล ปีออมโบ ใน ค.ศ. 1519 วาดหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว (ในปัจจุบันไม่พบว่ามีภาพเหมือนที่แท้จริงของโคลัมบัส)[1]
เกิดระหว่าง 22 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม ค.ศ. 1451
เจนัว, สาธารณรัฐเจนัว (ในประเทศอิตาลีปัจจุบัน)
เสียชีวิต20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506(1506-05-20) (54 ปี)
บายาโดลิด, ราชอาณาจักรคาสตีล (ในประเทศสเปนปัจจุบัน)
สัญชาติเจนัว
ชื่ออื่นสเปน: กริสโตบัล โกลอน
เจนัว: กริชตอฟฟา กูรุงบู
ละติน: คริสโตโฟรุส โกลุมบุส
อิตาลี: กริสตอโฟโร โกลอมโบ
โปรตุเกส: กริชตอเวา กูลงบู
อาชีพนักสำรวจทางทะเลแห่งราชอาณาจักรคาสตีล
ตำแหน่งพลเรือเอกแห่งน่านน้ำมหาสมุทร อุปราช และผู้ว่าราชการแห่งอินเดียน
คู่สมรสฟีลีปา มูนิช ปือรึชเตรลู (ประมาณ ค.ศ. 1455–1485)
คู่รักเบอาตริซ เอนริเกซ เด อารานา (ประมาณ ค.ศ. 1485–1506)
บุตรเดียโก โกลอน
เฟร์นันโด โกลอน
ญาติโจวันนี เปลเลกรีโน, จาโกโม และบาร์โทโลมิว โคลัมบัส (น้องชาย)
ลายมือชื่อ

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (อังกฤษ: Christopher Columbus; ระหว่าง 25 สิงหาคม และ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1451 - 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอิตาลี ซึ่งได้เดินทางบนเรือครบสี่ครั้งทั่วทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ยุโรปได้สำรวจอย่างกว้างขวางและการก่อตั้งดินแดนอาณานิคมในทวีปอเมริกา การเดินทางของเขาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์แห่งสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิก เป็นการติดต่อครั้งแรกของยุโรปกับหมู่เกาะแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ชื่อของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มาจากการแผลงเป็นอังกฤษในภาษาละตินที่ชื่อว่า คริสโตโฟรุส โกลุมบุส นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่า โคลัมบัสนั้นเกิดในสาธารณรัฐเจนัวและพูดสำเนียงท้องถิ่นคือภาษาลีกูเรียเป็นภาษาแรกของเขา เขาออกเดินทางทะเลตั้งแต่อายุยังน้อยและเดินทางอย่างกว้างขวาง ไกลออกไปทางเหนือถึงเกาะอังกฤษ และไกลออกไปทางใต้ซึ่งที่นั้นคือประเทศกานาในปัจจุบัน เขาแต่งงานกับหญิงสูงศักดิ์ชาวโปรตุเกสที่ชื่อว่า ฟีลิปา มูนิช ปิอรีชเตรลู และอาศัยอยู่ที่ลิสบอนเป็นเวลาหลายปี แต่ต่อมาก็ได้แอบมีภรรยาน้อยเป็นชาวแคสตีล(Castilian) เขามีบุตรชายอยู่สองคนซึ่งกำเนิดจากคนละแม่ แม้ว่าโคลัมบัสจะศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โคลัมบัสได้อ่านวิชาทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง เขาได้กำหนดแผนการที่จะหาทางเดินทางเรือผ่านทะเลตะวันตกไปยังอินเดียตะวันออก โดยคาดหวังว่าจะได้กำไรจากการค้าขายเครื่องเทศที่ร่ำรวย ภายหลังจากการล็อบบี้อย่างต่อเนื่องของโคลัมบัสต่อหลายอาณาจักร กษัตริย์คาทอลิกอย่างสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยาและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนทรงยินยอมที่จะสนับสนุนการเดินทางไปทางตะวันตก โคลัมบัสออกจากแคว้นกัสติยาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1492 ด้วยเรือสามลำ และได้มีการพบเห็นแผ่นดินในทวีปอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม (เป็นอันสิ้นสุดลงของช่วงเวลาการอาศัยอยู่ของมนุษย์ในทวีปอเมริกา ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า ยุคก่อนโคลัมเบียน) สถานที่ลงจอดของเขาคือเกาะในบาฮามาส ซึ่งประชาชนชาวพื้นเมืองรู้จักกันคือ กวานาฮานี ต่อมาโคลัมบัสได้ไปเยือนหมู่เกาะที่ปัจจุบันได้รู้จักกันคือ คิวบาและฮิสปันโยลา ซึ่งได้ก่อตั้งอาณานิคมในเกาะแห่งหนึ่งคือประเทศเฮติในปัจจุบัน โคลัมบัสเดินทางกลับสู่แคว้นกัสติยาในต้นปี ค.ศ. 1493 โดยนำชาวพื้นเมืองที่ถูกจับจำนวนหนึ่งมาด้วย เรื่องราวของการเดินทางของเขาในไม่ช้าก็ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป

โคลัมบัสได้ออกเดินทางไปยังทวีปอเมริกาอีกสามครั้ง ซึ่งได้ทำการสำรวจที่เลสเซอร์แอนทิลลีส ใน ค.ศ. 1493 ตรินิแดดและชายฝั่งทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ใน ค.ศ. 1498 และชายฝั่งตะวันออกในอเมริกากลางใน ค.ศ. 1502 ชื่อหลายชื่อที่เขาได้ตั้งตามลัษณะทางภูมิศาสตร์ - โดยเฉพาะกับหมู่เกาะ - ซึ่งยังคงใช้กันอยู่ เขายังได้ตั้งชื่อว่า อินดิโอส("อินเดียน") ให้กับชนพื้นเมืองที่เขาพบเจอ ขอบเขตที่เขาได้ตระหนักว่าทวีปอเมริกาเป็นทวีปที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิงนั้นยังคลุมเครือ เขาไม่เคยละทิ้งความเชื่อของเขาอย่างชัดเจนว่าเขาได้เดินทางมาถึงดินแดนตะวันออกไกล ในฐานะที่เป็นข้าหลวงอาณานิคม โคลัมบัสถูกผู้ร่วมเดินทางกับเขากล่าวหาว่า บ้าอำนาจและโหดร้าย และไม่นานก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดของโคลัมบัสและราชบัลลังก์กัสติยาและผู้บริหารปกครองอาณานิคมที่ได้รับการแต่งตั้งในทวีปอเมริกา ทำให้เขาถูกจับกุมและถอดถอนออกจากฮิสปันโยลาในปี ค.ศ. 1500 และต่อมาได้มีการต่อสู้คดีที่ยืดเยื้อในเรื่องของผลประโยชน์ที่เขาได้รับและทายาทของเขาได้กล่าวอ้างสิทธิ์ในการครองราชบัลลังก์ การเดินทางของโคลัมบัสได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาแห่งการสำรวจ การพิชิต และการก่อตั้งอาณานิคมที่กินเวลายาวนานหลายศตวรรษ ช่วงสร้างโลกตะวันตกสมัยใหม่ การถ่ายโอนระหว่างโลกเก่าและโลกใหม่ ภายหลังจากการเดินทางครั้งแรกของเขาที่เป็นที่รู้จักกันคือ การแลกเปลี่ยนโคลัมเบียน

โคลัมบัสได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในช่วงหลายศตวรรษหลังการเสียชีวิตของเขา แต่การรับรู้ของสาธารณชนทำให้เกิดจุดแตกหักในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากนักวิชาการได้ให้ความสนใจมากขึ้นต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประชากรชาว Taíno ชนพื้นเมืองของเกาะฮิสปันโยลาซึ่งใกล้จะสูญพันธ์จากการปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณและการเกิดโรคระบาดซึ่งมาจากยุโรป เช่นเดียวกับการตกเป็นทาส ผู้เสนอทฤษฎีตำนานสีดำกล่าวอ้างว่า โคลัมบัสถูกดูหมิ่นอย่างไม่ยุติธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกต่อต้านนิกายคาทอลิกในวงกว้าง หลายแห่งในซีกโลกตะวันตกซึ่งมีชื่อของเขา รวมทั้งประเทศโคลัมเบีย เขตโคลัมเบีย และรัฐบริติชโคลัมเบียของประเทศแคนาดา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Portraits of Christopher Columbus - COLUMBUS MONUMENTS PAGES. Vanderkrogt.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]