จุนอิจิโร โคอิซูมิ
จุนอิจิโร โคอิซูมิ | |
---|---|
小泉 純一郎 | |
ภาพถ่ายทางการ ค.ศ. 2001 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 26 เมษายน ค.ศ. 2001 – 26 กันยายน ค.ศ. 2006 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิอากิฮิโตะ |
ก่อนหน้า | โยชิโร โมริ |
ถัดไป | ชินโซ อาเบะ |
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน ค.ศ. 2001 – 20 กันยายน ค.ศ. 2006 | |
รองประธานาธิบดี | ทากุ ยามาซากิ |
เลขาธิการ | |
ก่อนหน้า | โยชิโร โมริ |
ถัดไป | ชินโซ อาเบะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 – 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 | |
นายกรัฐมนตรี | รีวตาโร ฮาชิโมโตะ |
ก่อนหน้า | นาโอโตะ คัง |
ถัดไป | โซเฮ มิยาชิตะ |
ดำรงตำแหน่ง 27 ธันวาคม ค.ศ. 1988 – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1989 | |
นายกรัฐมนตรี | |
ก่อนหน้า | ทากาโอะ ฟูจิโมโตะ |
ถัดไป | ซาบูโร โทอิดะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม ค.ศ. 1992 – 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 | |
นายกรัฐมนตรี | คิอิจิ มิยาซาวะ |
ก่อนหน้า | ฮิเดโอะ วาตานาเบะ |
ถัดไป | คิอิจิ มิยาซาวะ |
| |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม ค.ศ. 1972 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 | |
ก่อนหน้า | เขตที่มีสมาชิกหลายคน |
ถัดไป | ชินจิโร โคอิซูมิ |
เขตเลือกตั้ง |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะ จักรวรรดิญี่ปุ่น | 8 มกราคม ค.ศ. 1942
พรรคการเมือง | เสรีประชาธิปไตย |
คู่สมรส | คาโยโกะ มิยาโมโตะ (สมรส 1978; หย่า 1982) |
บุตร |
|
บุพการี | จุนยะ โคอิซูมิ (พ่อ) โยชิเอะ โคอิซูมิ (แม่) |
ความสัมพันธ์ | โคอิซูมิ มาตาจิโร (ปู่) |
ศิษย์เก่า | |
จุนอิจิโร โคอิซูมิ (ญี่ปุ่น: 小泉 純一郎; โรมาจิ: Ko'izumi Jun'ichirō; เกิดวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1942) เป็นอดีตนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ใน ค.ศ. 2001 ถึง 2006 เขาเลิกเล่นการเมืองใน ค.ศ. 2009 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานเป็นอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[1]
โคอิซูมิได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำพรรค LDP ที่มีแนวคิดอิสระเมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งใน ค.ศ. 2001 โดยเป็นที่รู้จักในฐานะนักปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ โดยมุ่งเน้นที่การลดหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นและให้ไปรษณีย์กลายเป็นของเอกชน ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 โคอิซูมิทำให้พรรค LDP คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งเสียงข้างมากในรัฐสภาครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ โคอิซูมิยังได้รับความสนใจจากนานาชาติผ่านการส่งกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นไปประจำการที่อิรัก และการเยือนศาลเจ้ายาซูกูนิ ซึ่งก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการทูตกับจีนและเกาหลีใต้ โคอิซูมิลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 2006
แม้ว่าโคอิซูมิรักษาสถานะความไม่โดดเด่นเป็นเวลาหลายปีหลังออกจากตำแหน่ง แต่เขากลับได้รับความสนใจจากทั่วประเทศอีกครั้งใน ค.ศ. 2013 ในฐานะผู้สนับสนุนการเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น หลังเกิดภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะใน ค.ศ. 2011 ซึ่งต่างจากมุมมองที่สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์โดยรัฐบาล LDP ที่ให้การสนับสนุนทั้งในระหว่างและหลังจากโคอิซูมิดำรงตำแหน่ง[2]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]โคอิซูมิเป็นนักการเมืองรุ่นที่สามในตระกูลโคอิซูมิ จุนยะ โคอิซูมิ พ่อของเขา เป็นอธิบดีในสำนักงานป้องกันของญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือกระทรวงกลาโหม) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนโคอิซูมิ มาตาจิโร ปู่ของเขา ได้รับฉายา "รัฐมนตรีรอยสัก" เนื่องจากบนร่างกายมีรอยสักขนาดใหญ่ เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมในสมัยนายกรัฐมนตรีฮามางูจิและวากกัตสึกิ และเป็นผู้สนับสนุนการโอนกิจการไปรษณีย์ให้เป็นของเอกชนในระยะเริ่มแรก
โคอิซูมิเกิดที่โยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยศึกษาที่โรงเรียนมัธยมโยโกซูกะ เขาจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคโอ แล้วศึกษาต่อที่ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินก่อนเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 หลังจากบิดาเสียชีวิต
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จุนอิจิโร โคอิซูมิ เริ่มลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งซ่อมแทนพ่อของเขาเองที่เสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับเลือก จนกระทั่งปี 8.ศ. 1972 ได้รับเลือกในการเลือกตั้งทั่วไป และต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการในปี 1988
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นายกรัฐมนตรี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เกษียณ
[แก้]โคอิซูมิประกาศว่าจะลงจากตำแหน่งตามกฎของพรรคฯ ใน ค.ศ. 2006 และจะไม่เลือกผู้สืบทอดอย่างที่นายกรัฐมนตรีจากพรรคนี้เคยทำ จากนั้นในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2006 ชินโซ อาเบะได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคฯ ต่อจากโคอิซูมิ อาเบะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากโคอิซุมิในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006
โคอิซูมิยังคงอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านสมัยบริหารของอาเบะและยาซูโอะ ฟูกูดะ แต่ประกาศเกษียณตนเองจากการเมืองในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2008 หลังการเลือกตั้งให้ทาโร อาโซเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงไม่นาน เขายังคงถือครองที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติจนกระทั่งการเลือกตั้งครั้งถัดไปที่ชินจิโร ผู้เป็นบุตร ได้รับเลือกให้อยู่ในที่นั่งเดียวกันที่เป็นตัวแทนจังหวัดคานางาวะ เขต 11 ใน ค.ศ. 2009[1] ก่อนหน้านี้ โคอิซูมิสนับสนุนยูริโกะ โคอิเกะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคฯ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 แต่โคอิเกะกลับชนะในอันดับสามที่มีคะแนนห่างไกลจากอันดับก่อนหน้า[3]
นับตั้งแต่ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โคอิซูมิไม่เคยอนุมัติคำขอสัมภาษณ์หรือปรากฏตัวทางโทรทัศน์แม้แต่ครั้งเดียว แม้ว่าเขาจะเคยกล่าวสัมภาษณ์และมีปฏิสัมพันธ์ส่วนตัวกับนักข่าวก็ตาม[4]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]โคอิซูมิอาศัยอยู่ที่โยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะ[5]
ครอบครัว
[แก้]โคอิซูมิแต่งงานกับคาโยโกะ มิยาโมโตะ นักศึกษามหาวิทยาลัยอายุ 21 ปีใน ค.ศ. 1978 พิธีแต่งงานที่ Tokyo Prince Hotel มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน รวมถึงทาเกโอะ ฟูกูดะ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) และมีเค้กแต่งงานที่มีรูปร่างคล้ายกับอาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การแต่งงานนี้สิ้นสุดลงด้วยการหย่าร้างใน ค.ศ. 1982 เนื่องจากมีรายงานว่าคาโยโกะไม่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานของเธอด้วยเหตุผลหลายประการ[6] หลังจากนี้ โคอิซูมิไม่ได้แต่งงานอีกเลย โดยกล่าวว่าการหย่าร้ายกินพลังงานมากกว่าการแต่งงานถึงสิบเท่า[7]
ความสนใจ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Koizumi to exit political stage", The Japan Times, 26 September 2008.
- ↑ Nishiyama, George (2 October 2013). "Fukushima Watch: Popular Ex-PM Koizumi Comes Out Against Nukes". Wall Street Journal Japan Real Time. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014.
- ↑ Sachiko Sakamaki and Takahiko Hyuga, "Koizumi, Former Japan Premier, to Quit Parliament After Aso Win", Bloomberg, 26 September 2008.
- ↑ Okubo, Maki (12 January 2014). "'We've been lied to,' said ex-Prime Minister Koizumi". The Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
- ↑ "小泉元首相宅に侵入容疑で女を逮捕". NHK. 11 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
- ↑ "Japan's Destroyer", Time, 10 September 2001.
- ↑ "[Koizumi's ex-wife ready to lend a hand, has 'nothing to lose']", Kyodo News, 9 May 2001.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Envall, Hans David Persson. "Exceptions that make the rule? Koizumi Jun'ichirō and political leadership in Japan." Japanese Studies 28.2 (2008): 227–242 online.
- Hoover, William D. Historical dictionary of postwar Japan (2011).
- Kaihara, Hiroshi. "Japan’s political economy and Koizumi’s structural reform: A rise and fall of neoclassical economic reform in Japan." East Asia 25.4 (2008): 389–405.
- Köllner, Patrick. "The liberal democratic party at 50: sources of dominance and changes in the Koizumi era." Social Science Japan Journal (2006) 9#2 pp 243–257 online
- Lee, Jeong Yeon. "Getting Japan Back on the Sustainable Growth Path: Lessons from the Koizumi Era." Asian Perspective (2015): 513–540. online
- Mishima, Ko. "Grading Japanese Prime Minister Koizumi’s revolution: how far has the LDP’s Policymaking changed?." Critical Readings on the Liberal Democratic Party in Japan (Brill, 2018) pp. 1557–1578.
- Mulgan, Aurelia George. Japan's Failed Revolution: Koizumi and the Politics of Economic Reform (2013) excerpt
- Otake, Hideo, Kosuke Mizuno, and Pasuk Phongpaichit, "Neoliberal populism in Japanese politics: A study of Prime Minister Koizumi in comparison with President Reagan." Populism in Asia (2009): 202–216.
- Pohlkamp, Elli-Katharina. "Public Opinion and Japanese Foreign Policy Decision-Making Processes During the Koizumi Administration" (PhD Diss. Universitätsbibliothek Tübingen, 2014) online in English.
- Stockwin, J. A. A. "From Koizumi to Abe: Same Bed, Different Dreams?." Japanese Studies 27.3 (2007): 223–230.
- Uchiyama, Yu. Koizumi and Japanese politics: Reform strategies and leadership style (Routledge, 2010).
- "Reform in the Rising Sun: Koizumi’s Bid to Revise Japan’s Pacifist Constitution" (Archive). North Carolina Journal of International Law and Commercial Regulation Vol. 32, p. 335–390.