ชีววิทยาของความซึมเศร้า
งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า บริเวณสมองเป็นจำนวนมากทำงานเปลี่ยนไปในคนไข้โรคซึมเศร้า ซึ่งให้กำลังใจแก่ผู้สนับสนุนทฤษฎีหลายอย่างที่พยายามกำหนดเหตุทางชีวภาพ-เคมีของโรค เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่เน้นเหตุทางจิตหรือทางสถานการณ์ มีทฤษฎีหลายอย่างในเรื่องเหตุทางชีววิทยาของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการเสนอ และที่เด่นที่สุดมีการวิจัยมากที่สุดก็คือสมมติฐานโมโนอะมีน (monoamine hypothesis)
ปัจจัยทางพันธุกรรม
[แก้]โดยเปรียบเทียบกับความผิดปกติทางจิตเวชอื่น ๆ เช่นออทิซึมและโรคจิตเภท ปัจจัยทางพันธุกรรมของโรคซึมเศร้ายากกว่าที่จะกำหนด ในปี พ.ศ. 2546 วารสาร Science ตีพิมพ์งานทรงอิทธิพล[1] ที่พบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีน-สิ่งแวดล้อม (GxE) อาจจะอธิบายได้ว่า ทำไมความเครียดในชีวิตจึงเป็นตัวพยากรณ์คราวซึมเศร้า (depressive episode) ในบางบุคคล แต่ไม่ใช่ทุกคน คือ จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอัลลีลในบริเวณยีน serotonin-transporter-linked promoter region (5-HTTLPR)[2] ต่อมาในปี 2548 ผลงานก็ทำซ้ำได้โดยนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง เพิ่มความหวังให้กับนักวิชาการทางพันธุศาสตร์จิตเวช[3] โดยปี 2550 มีงานที่ทำซ้ำได้ 11 งาน ทำซ้ำบางส่วนได้ 3 งาน และทำไม่ได้ 3 งานเกี่ยวกับทฤษฎี GxE แต่ว่า งานที่ใหญ่ที่สุดสองงาน (2548, 2549)[4][5] พบผลว่าง[6] งานวิเคราะห์อภิมาน 2 งานปี 2552 ก็พบผลว่างเช่นกัน โดยงานหนึ่งศึกษางาน 14 งาน[7] และอีกงานหนึ่งเพียง 5 งาน เพราะมีเกณฑ์เลือกงานที่แตกต่างกัน[8] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2553 พบงานที่ทำซ้ำได้ 17 งาน ทำซ้ำเป็นบางส่วนได้ 8 งาน (คือมีปฏิสัมพันธ์เฉพาะในหญิงเท่านั้น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับความทุกข์ยากอย่างเดียวจากบรรดาหลายอย่าง) และทำซ้ำไม่ได้ 9 งาน (คือไม่พบปฏิสัมพันธ์ หรือพบปฏิสัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม) และยังพบความสัมพันธ์เป็นระบบระหว่างวิธีที่ใช้วัดความทุกข์ยากทางสิ่งแวดล้อมกับผลที่ได้ คือ งานที่ใช้วิธีวัดที่เป็นกลาง (เป็นปรวิสัย) หรือใช้การสัมภาษณ์ตามกรอบเพื่อประเมินความเครียด จะได้ผลซ้ำเหตุ GxE ทั้งหมดหรือบางส่วน เทียบกับงานที่ทำซ้ำไม่ได้ที่อาศัยการวัดความทุกข์ยากแบบรายงานเองแบบสั้น ๆ และยังพบอีกด้วยว่า งานวิเคราะห์อภิมานปี 2552 ทั้งสองงานมีความเอนเอียงอย่างสำคัญไปทางงานที่ได้ผลว่าง[9]
สมมติฐานเกี่ยวกับอิทธิพลของยีนอีกอย่างก็คือ Brain-derived neurotrophic factor polymorphisms (ภาวะพหุสัณฐานของยีนปัจจัยบำรุงสมองที่ย่อว่า BDNF) แต่การทำซ้ำมีผลไม่ชัดเจนและไม่เพียงพอที่จะทำงานวิเคราะห์อภิมานโดยปี 2548[10] ยังมีงานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง BDNF กับพฤติกรรมฆ่าตัวตายอีกด้วย[11] แต่ว่า ผลที่ได้จากงานศึกษา GxE แสดงว่า แบบจำลองโรคซึมเศร้าของทฤษฎีนี้ง่ายเกินไป[12] งานปี 2551 พบปฏิสัมพันธ์แบบ biological epistasis ระหว่างยีน BDNF และ SLC6A4 (ที่เข้ารหัสโปรตีน serotonin transporter) คือ อัลลีล Val66Met ของ BDNF ซึ่งพยากรณ์ว่ามีผลลดระดับการตอบสนองต่อเซโรโทนิน กลับพบว่ามีผลแบบป้องกันสำหรับบุคคลที่มีอัลลีล 5-HTTLPR ของ SLC6A4 แบบสั้น ที่ถ้าไม่มี Val66Met แล้ว เชื่อว่าทำให้บุคคลเสี่ยงต่อคราวซึมเศร้าหลังเหตุการณ์เครียด[13] ดังนั้น การรับส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ที่อำนวยโดยโปรตีน BDNF ที่เป็นการรับส่งสัญญาณซึ่งมีส่วนในการตอบสนองแบบเปลี่ยนสภาพทางประสาท (neuroplastic response) ต่อความเครียดและยาแก้ซึมเศร้า ยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ[12]
งานใหญ่ที่สุดโดยปี 2556 ที่ศึกษาจีโนมทั้งหมดในเค้ส 9,000 ราย ก็ยังไม่สามารถกำหนดเหตุทางพันธุกรรมแบบมองจีโนมทั้งหมดของโรคซึมเศร้าได้[14] แต่งานปี 2558 ได้กำหนดรูปแปรสองแบบในระดับจีโนม ที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า[15] งานนี้ทำกับหญิงจีนชาวฮั่น ที่พบความแตกต่างของยีนในบริเวณ intron ใกล้ ๆ กับ SIRT1 และ LHPP
จังหวะรอบวัน
[แก้]ความซึมเศร้าอาจจะสัมพันธ์กับความผิดปกติของจังหวะรอบวัน (circadian rhythm)[16] หรือระบบที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงการนอนที่ตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (REM Sleep) ซึ่งเป็นระยะการนอนที่ฝัน อาจจะเกิดเร็วและรุนแรงสำหรับคนซึมเศร้า เพราะว่า การนอนในช่วงนี้อาศัยระดับเซโรโทนินที่ลดลงในก้านสมอง (ซึ่งสันนิษฐานว่าคนซึมเศร้ามี)[17] ซึ่งจะเปลี่ยนสภาพเพราะสารประกอบบางอย่าง เช่น ยาแก้ซึมเศร้า ที่เพิ่มระดับเซโรโทนินในโครงสร้างของก้านสมอง[17] โดยทั่วไปแล้ว ระบบสมองแบบเซโรโทนินจะทำงานน้อยที่สุดเมื่อหลับและมากที่สุดเมื่อตื่น การตื่นเป็นระยะเวลานานเนื่องจากภาวะขาดการนอนหลับ[16] จะกระตุ้นให้เซลล์ประสาทแบบเซโรโทนินทำงาน ซึ่งมีผลคล้ายกับผลรักษาของยาแก้ซึมเศร้า เช่นแบบ selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) ดังนั้น คนซึมเศร้าอาจมีอารมณ์ดีขึ้นหลังจากอดนอนคืนหนึ่ง SSRI อาจมีผลรักษาเพราะทำให้มีการสื่อประสาทมากขึ้นในสมองส่วนกลางที่ใช้เซโรโทนิน ซึ่งเป็นระบบเดียวกันที่มีผลต่อวงจรการหลับการตื่น[17]
งานวิจัยเกี่ยวกับผลการบำบัดด้วยแสงต่อ seasonal affective disorder (ความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดู) แสดงว่า การขาดแสงสัมพันธ์กับการทำงานที่น้อยลงในระบบประสาทที่ใช้เซโรโทนินและกับความผิดปกติในวงจรการนอนหลับ โดยเฉพาะที่พบในโรคนอนไม่หลับ การให้แสงมีเป้าหมายที่ระบบสมองที่ใช้เซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งสำหรับบทบาทสำคัญที่ระบบนี้อาจมีส่วนในโรคซึมเศร้า[18] ทั้งการให้อดนอนและการบำบัดด้วยแสงทั้งสองมีเป้าที่ระบบสื่อประสาทและบริเวณสมองเช่นเดียวกับยาแก้ซึมเศร้า และปัจจุบันทั้งสองใช้เพื่อบำบัดโรคซึมเศร้า[19] การบำบัดด้วยแสง การให้อดนอน และการเปลี่ยนเวลานอน (sleep phase advance therapy) ปัจจุบันใช้รวมกันเพื่อระงับอย่างรวดเร็วซึ่งความซึมเศร้าแบบรุนแรงของคนไข้ที่เข้าโรงพยาบาล[18]
โมโนอะมีน
[แก้]โมโนอะมีนเป็นกลุ่มสารสื่อประสาทและสารควบคุมประสาท (neuromodulator) ที่รวมทั้งเซโรโทนิน โดพามีน นอร์เอพิเนฟริน และอีพิเนฟริน[20] ยาแก้ซึมเศร้าจำนวนมากเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินในไซแนปส์ แต่ก็อาจจะเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทอีกสองอย่างคือ นอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนด้วย สังเกตการณ์ของประสิทธิผลนี้นำไปสู่สมมติฐานโมโนอะมีนของโรคซึมเศร้า ซึ่งสันนิษฐานว่า การขาดสารสื่อประสาทบางอย่างมีผลต่อลักษณะโรคซึมเศร้าที่สัมพันธ์กัน คือ "นอร์เอพิเนฟรินอาจสัมพันธ์กับความตื่นตัวและความกระปรี้กระเปร่า รวมทั้งความวิตกกังวล ความใส่ใจ และความสนใจในชีวิต (การขาด) เซโรโทนินอาจสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ความหมกมุ่น และการควบคุมใจไม่ได้ (compulsion) และโดพามีนอาจสัมพันธ์กับความใส่ใจ แรงจูงใจ ความรื่นเริงใจ และความพอใจ รวมทั้งความสนใจในชีวิต" ผู้สนับสนุนทฤษฎีนี้แนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้าที่มีฤทธิ์ต่อระบบที่แสดงอาการมากที่สุด คือ คนไข้ที่วิตกกังวลและขัดเคือง ควรใช้ยาแบบ Selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) หรือ norepinephrine reuptake inhibitor และที่ไม่กระปรี้กระเปร่าหรือไม่ยินดีพอใจในชีวิต ควรจะได้ยาที่เพิ่มนอร์เอพิเนฟรินหรือโดพามีน[21]
โดยเข้ากับสมมติฐานโมโนอะมิน งานศึกษาตามยาวพบว่ายีน serotonin transporter (5-HTT) มีผลต่อระดับที่เหตุการณ์เครียดในชีวิตสามารถพยากรณ์ความซึมเศร้า โดยเฉพาะก็คือ ความซึมเศร้าดูจะมีโอกาสเกิดสูงขึ้นหลังเหตุการณ์เครียด แต่จะสูงกว่าสำหรับคนที่มีอัลลีลของยีน 5-HTT แบบสั้น 1 อัลลีลหรือทั้งสอง[2] นอกจากนั้นแล้ว เซโรโทนินยังอาจช่วบควบคุมระบบสื่อประสาทแบบอื่น ๆ และการทำงานที่ลดลงของเซโรโทนินอาจจะปล่อยให้ระบบอื่น ๆ ทำงานอย่างผิดปกติและอย่างผิดพลาด ลักษณะต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าอาจเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านี้ที่ทำงานผิดปกติ[23]
ส่วนทฤษฎีแขนงของสมมติฐานโมโนอะมีนเสนอว่า เอนไซม์ monoamine oxidase A (MAO-A) ที่ช่วยสลายโมโนอะมีนอาจจะทำงานมากเกินไปในคนซึมเศร้า ซึ่งทำให้โมโนอะมีนอยู่ในระดับต่ำเกินไป เป็นสมมติฐานที่มีหลักฐานจากงานที่สร้างภาพสมองโดยใช้ PET ซึ่งพบการทำงานในระดับสูงของ MAO-A ในคนซึมเศร้า[24] ส่วนงานศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า ความต่าง ๆ ของยีนที่มีผลต่อเอนไซม์ MAO-A ไม่สัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอกับโรคซึมเศร้า[25][26] และพบผลคัดค้านข้อสมมุติของสมมติฐานโมโนอะมีน คือ ระดับการทำงานที่ต่ำลงของเอนไซม์กลับสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าในผู้เยาว์ ซึ่งพบในผู้เยาว์ที่ถูกทารุณ ซึ่งแสดงว่าทั้งปัจจัยทางชีวภาพ (คือ ยีนเกี่ยวกับ MAO) และทางจิตวิทยา (การถูกทารุณกรรม) มีผลสำคัญต่อโรคซึมเศร้า[27] นอกจากนั้นแล้ว มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่า ปัญหาการแปลข้อมูลของเครือข่ายประสาทเป็นเหตุของโรคซึมเศร้า ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงของความสมดุลทางเคมี[28]
ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 งานวิจัยได้พบข้อจำกัดหลายอย่างของสมมติฐานโมโนอะมีน ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงการจิตแพทย์[29] อย่างหนึ่งก็คือ การทำงานผิดพลาดของระบบประสาทแบบเซโรโทนินไม่สามารถเป็นเหตุเดียวของความซึมเศร้า เพราะว่า ยาแก้ซึมเศร้าปกติจะปรับให้เซโรโทนินกลับสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็วมาก แต่ว่า บ่อยครั้งกลับใช้เวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนที่อารมณ์ของคนไข้จะดีขึ้นอย่างสำคัญ การตรวจสอบอย่างเข้มข้นล้มเหลวที่จะพบหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการทำงานผิดปกติในระบบประสาทแบบเซโรโทนินใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับคนไข้โรคซึมเศร้า (MDD) นอกจากนั้นแล้ว ยังมียาแก้ซึมเศร้าที่ได้ผลแม้ไม่ได้ออกฤทธิ์ผ่านระบบเซโรโทนิน เช่น tianeptine และ opipramol การทดลองยาที่ลดระดับโมโนอะมีนแสดงว่า มันไม่ได้ก่อความซึมเศร้าในคนปกติ และก็ไม่ได้ทำอาการคนไข้ซึมเศร้าให้แย่ลง[30][31] และถึงแม้ว่าจะมีความจำกัดเยี่ยงนี้ สมมติฐานนี้มักจะใช้อธิบายโรคให้สาธารณชนแบบง่าย ๆ เกินไป[32]
บริเวณสมอง
[แก้]งานวิจัยในสมองคนซึมเศร้ามักจะแสดงรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่มีปัญหาระหว่างเขตต่าง ๆ หลายเขตในสมอง และงานวิจัยที่พยายามเข้าใจชีววิทยาของโรคซึมเศร้าได้กำหนดบริเวณสมองหลายเขตที่มีส่วน
Raphe nuclei
[แก้]แหล่งกำเนิดเดียวของเซโรโทนินในสมองก็คือ raphe nuclei ซึ่งเป็นนิวเคลียสของเซลล์ประสาทที่ตอนบนของก้านสมอง โดยอยู่ที่ mid-line ของสมอง มีหลักฐานว่า มีประสาทพยาธิสภาพใน rostral raphe nuclei ในคนไข้โรคซึมเศร้า[33][34][35] แม้ว่าจะมีขนาดเล็ก raphe nuclei ก็ส่งสัญญาณไปทั่วในสมอง และมีบทบาทในกิจต่าง ๆ มากมาย ยาแก้ซึมเศร้าโดยมากออกฤทธิ์กับระบบเซโรโทนิน
Suprachiasmatic nucleus (SCN)
[แก้]suprachiasmatic nucleus (SCN) เป็นศูนย์ควบคุมนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย โดยมีเซลล์ประสาทที่ทำงานเพิ่มและลดลงตลอดทั้งวัน สัญญาณจาก SCN ควบคุมวงจรการตื่นการหลับและจังหวะทางชีวภาพอื่น ๆ เช่น การขึ้น ๆ ลง ๆ ของอุณหภูมิร่างกาย ปัญหาในวงจรเหล่านี้เป็นอาการที่คงเส้นคงวาของโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะโรคประเภท melancholic รูปแบบบคลาสสิกของคนซึมเศร้าก็คือมีปัญหาในการนอนหลับตอนกลางคืน แล้วตื่นขึ้นราว ๆ ตีสาม การตื่นขึ้นมักจะนำด้วยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งปกติจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าอีกหลายชั่วโมงต่อมา เป็นเรื่องปกติที่ยาแก้ซึมเศร้าจะช่วยให้กลับไปสู่รูปแบบการนอนปกติก่อนที่จะช่วยปรับอารมณ์ ถ้าการนอนหลับที่ดีไม่กลับคืนมา นี่เป็นอาการที่ส่องว่า การรักษาจะไม่ได้ผล และโดยกลับกัน การหยุดชะงักของการนอนเยี่ยงนี้บ่อยครั้งเป็นอาการแรกว่าโรคกำลังจะกลับมา[ต้องการอ้างอิง]
มีการทำงานร่วมกันอย่างสำคัญระหว่าง Raphe nuclei และ SCN คือ ในด้านหนึ่ง Raphe nuclei ส่งสัญญาณแบบเซโรโทนินไปให้ SCN ในงานศึกษาในสัตว์ การส่งสัญญาณแนวนี้มีผลควบคุมความสามารถใช้แสงรีเซ็ตนาฬิกาทางชีวภาพ คือ ยิ่งมีเซโรโทนินมากเท่าไร ผลของแสงก็มีกำลังยิ่งเท่านั้น และในด้านตรงกันข้าม นาฬิกาทางชีวภาพก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อ Raphe nuclei คือ ในช่วงนอนหลับ ระดับเซโรโทนินจะลดลง และเกือบจะไม่มีเหลือในช่วงการนอนหลับที่ตาเคลื่อนไหวเร็ว (REM) ให้สังเกตว่า คนซึมเศร้ามีการนอนแบบ REM เกิดขึ้นเร็วมาก เทียบกับคนปกติที่มันจะไม่มีอิทธิพลมากจนกระทั่งชั่วโมงท้าย ๆ คือในตอนเช้า ๆ ยาแก้ซึมเศร้ามีผลระงับการนอนแบบ REM[ต้องการอ้างอิง]
Ventral tegmental area (VTA)
[แก้]ventral tegmental area (ตัวย่อ VTA) เป็นสมองส่วนกลางส่วนฐาน (basal midbrain) ที่ขาดไม่ได้ในระบบรางวัลของสมอง VTA ส่งสัญญาณประสาทไปยัง nucleus accumbens (ตัวย่อ NAcc) โดยใช้สารสื่อประสาทโดพามีน ยาที่ทำให้ติดมักจะเพิ่มผลของโดพามีนในระบบนี้ เทียบกับยาที่ต้านผลโดพามีนซึ่งจะก่อภาวะสิ้นยินดีเหมือนอย่างที่พบในคนซึมเศร้า ยาเพิ่มโดพามีนเช่น โคเคน บ่อยครั้งจะบรรเทาภาวะสิ้นยินดีในโรคซึมเศร้า แต่มีผลตราบที่ยายังอยู่ในร่างกายเท่านั้น ดังนั้น ยาเพียงช่วยบรรเทาอาการแต่ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
Nucleus accumbens (NAcc)
[แก้]การมีปัจจัยทางความเครียดที่เลี่ยงไม่ได้ต่าง ๆ เป็นระยะยาวนานจะลดการปล่อยโดพามีนใน Nucleus accumbens shell[36][37] ดังที่พบในการบังคับให้หนูว่ายน้ำ ซึ่งเป็นแบบจำลองความซึมเศร้าในสัตว์[38]
Anterior cingulate cortex (ACC)
[แก้]Anterior cingulate cortex (ACC) เป็นเขตในสมองที่ทำงานเมื่อเกิดประสบการณ์ลบหลายอย่าง และแสดงการทำงานในคนซึมเศร้าที่สูงกว่าคนปกติ บทบาทของ ACC ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ แต่ข้อเสนออย่างหนึ่งก็คือมันช่วยอำนวยการประสบความทุกข์แบบรู้ตัว หลายทศวรรษก่อน มีการทดลองตัด ACC เพื่อพยายามบรรเทาความเจ็บปวดที่รับไม่ได้ของคนไข้ระยะสุดท้าย คนไข้เหล่านี้รายงานว่าหลังจากผ่าตัด ตนก็ยังรู้สึกเจ็บปวดทางกาย แต่ไม่รู้สึกทำให้เครียดต่อไป (ผลของเฮโรอีนและมอร์ฟีนบางครั้งก็กล่าวอย่างคล้าย ๆ กัน) เมื่อไม่นานมานี้ มีการทดลองทางคลินิกโดยวิธี deep brain stimulation (การกระตุ้นสมองระดับลึก ตัวย่อ DPS) ที่ใช้อิเล็กโทรดส่งสัญญาณไฟฟ้าเพื่อระงับการทำงานของ ACC ในคนไข้ที่ซึมเศร้าอย่างรุนแรง แม้ว่าจะไม่ได้ผลในทุกเค้ส แต่คนไข้บางคนได้ผลที่ชัดเจนโดยมีอารมณ์ดีขึ้นทันทีหลังจากที่ทำการกระตุ้น
Subgenual cingulate
[แก้]งานวิจัยปี 2543 พบว่า บริเวณบรอดมันน์ 25 หรือที่รู้จักอีกอย่างว่า Subgenual cingulate มีเมแทบอลิซึมสูงกว่าปกติในคนไข้ซึมเศร้าที่ดื้อการรักษา (treatment-resistant depression)[39] บริเวณนี้มากไปด้วยโปรตีน serotonin transporter ซึ่งพิจารณาว่าเป็นตัวควบคุมเครือข่ายประสาทขนาดใหญ่ที่รวมเขตสมองเช่น ไฮโปทาลามัสและก้านสมอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนความอยากอาหารและการนอนหลับ, อะมิกดะลาและ Insular cortex ซึ่งมีผลต่ออารมณ์และความวิตกกังวล, ฮิปโปแคมปัส ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อความจำ, และบางส่วนของสมองกลีบหน้า ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับกับความภูมิใจในตนเอง (self-esteem)[40][41] ปัญหาต่อบริเวณนี้หรือแม้แต่บริเวณที่น้อยกว่านี้มีส่วนในความซึมเศร้า การกระตุ้นสมองระดับลึกบริเวณนี้มีผลลดการทำงานเกินผิดปกติ และช่วยบรรเทาความซึมเศร้าในคนไข้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า[42]
แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA)
[แก้]แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA) เป็นโครงสร้างระบบต่อมไร้ท่อแบบเป็นลูกโซ่ที่ทำงานเป็นปฏิกิริยาต่อตัวก่อความเครียดหลายรูปแบบ ซึ่งบ่อยครั้งทำงานเพิ่มขึ้นในคนซึมเศร้า[43] โดยมีอะมิกดะลาเป็นตัวควบคุมแบบเร้าและฮิปโปแคมปัสเป็นตัวควบคุมแบบยับยั้ง[44] งานศึกษาโดยการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) แสดงว่า อะมิกดะลาและฮิปโปแคมปัสมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) คือ ในคนไข้ พบว่าอะมิกดะลาใหญ่ขึ้นโดยมีการทำงานสูงขึ้นและฮิปโปแคมปัสเล็กลง[45]
การมีความเครียดเรื้อรังหรือโรคซึมเศร้าอาจมีผลทางชีวเคมีเช่นเดียวกัน เช่น การทำงานเรื้อรังของเขต HPA มีผลเป็นการผลิต corticotrophin-releasing hormone (CRH), adreno-corticotrophin hormone (ACTH), และในที่สุดฮอร์โมนความเครียดคือ cortisol โดยฮอร์โมนต่าง ๆ ผลิตในช่วงต่อของการทำงานแบบลูกโซ่[46][44] ถ้า cortisol เพิ่มขึ้นอย่างชั่วคราวก็จะมีผลเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองโดยสู้หรือหนี โดยระงับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพิ่มแหล่งพลังงานให้ส่วนที่จำเป็น เพิ่มสมรรถภาพการรู้คิด และอาจเพิ่มความมั่นใจ แต่ว่า การเพิ่มขึ้นของ cortisol อย่างเรื้อรังเนื่องจากการทำงานของ HPA ดังที่พบในกลุ่มอาการคุชชิง บ่อยครั้งมีผลเป็นโรคซึมเศร้าและโรคนอนไม่หลับ[46]
แม้ว่าการวัดความผิดปกติในการทำงานของ HPA ยังไม่ไวและจำเพาะพอที่จะใช้วินิจฉัยโรคซึมเศร้า แต่ความผิดปกติในการตอบสนองต่อความเครียดดังว่าอาจเป็นองค์ประกอบสำคัญในคนไข้เป็นจำนวนมาก[47]
ถ้าความซึมเศร้าเรื้อรังเป็นเหตุให้ฮิปโปแคมปัสฝ่อลงดังที่สันนิษฐานด้านบน ปัญหาของโรคอาจจะเป็นเพราะการมีฮอร์โมน cortisol มากเกินไป มีทฤษฎี 2 อย่างที่แสดงกลไกที่อาจเป็นไปได้คือ ทฤษฎีแรกเสนอว่า ระดับ cortisol ซึ่งเป็น glucocorticoid ประเภท ที่มากเกินอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดพิษต่อนิวรอนที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว ส่วนทฤษฎีที่สองเสนอว่า ระดับ cortisol ที่มากเกินหรือเหตุอื่น ๆ จากความเครียดขัดขวางกำเนิดเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) ทำให้มีเซลล์ใหม่กำเนิดในฮิปโปแคมปัสน้อยลง (ซึ่งปกติเป็นเขตที่รู้ว่ามีเซลล์เกิดใหม่เนื่องจากหน้าที่เกี่ยวกับความจำ) แล้วจึงทำให้ฝ่อ ซึ่งยาแก้ซึมเศร้าสามารถแก้โดยทั้งเพิ่มการผลิตเซลล์ใหม่และลดการหลั่ง cortisol[47]
โพรงสมอง
[แก้]งานศึกษาหลายงานพบหลักฐานว่าโพรงสมอง (Ventricle) ใหญ่ขึ้นในคนไข้โรคซึมเศร้า โดยเฉพาะโพรงที่สาม[48][49][50] สังเกตการณ์นี้ตีความว่าเป็นการเสียเนื้อประสาท (neural tissue) ในเขตต่อจากโพรงสมองที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการเสนอว่า cytokine และตัวช่วยอำนวยกระบวนการสมองเสื่อม (neurodegeneration) อื่น ๆ อาจมีบทบาทให้เกิดโรค[51][52][53]
สภาพพลาสติกทางประสาทที่เปลี่ยนไป
[แก้]งานศึกษาเมื่อไม่นานนี้ได้เรียกร้องให้ใส่ใจในบทบาทของการปรับสภาพทางประสาท (neuroplasticity) ที่เปลี่ยนไปในโรคซึมเศร้า งานทบทวนวรรณกรรมหนึ่งพบการประจวบกันของปรากฏการณ์ 3 อย่างคือ
- ความเครียดเรื้อรังจะลดสภาพพลาสติกของทั้งไซแนปส์ (synaptic plasticity) และของเดนไดรต์ (dendritic plasticity)
- คนไข้ซึมเศร้าแสดงหลักฐานว่าสภาพพลาสติกของระบบประสาทเกิดพิการ (คือ เดนไดรต์ ทั้งสั้นลงและซับซ้อนน้อยลง)
- ยาแก้ซึมเศร้าเพิ่มสภาพพลาสติกของระบบประสาททั้งในระดับโมเลกุลและระดับเดนไดรต์
ข้อสรุปก็คือ สภาพพลาสติกทางประสาทที่ขัดข้องเป็นเหตุอย่างหนึ่งของโรคซึมเศร้า และสามารถใช้ยาแก้ซึมเศร้าทำให้ฟื้นสภาพได้[54]
ทฤษฎีเครือข่ายทางสมองขนาดใหญ่
[แก้]แทนที่จะศึกษาบริเวณสมองบริเวณใดบริเวณหนึ่ง การศึกษาเครือข่ายสมองอย่างกว้าง ๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อเข้าใจความผิดปกติทางจิตเวชและทางประสาท[55] ซึ่งสนับสนุนโดยงานปี 2554 ที่แสดงว่า มีเขตสมองหลายเขตที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติเหล่านี้ การเข้าใจความขัดข้องในเครือข่ายเหล่านี้อาจให้ความรู้สำคัญใหม่ ๆ ต่อการแทรกแซงเพื่อบำบัดความผิดปกติ งานยังเสนอเครือข่ายสมองใหญ่ ๆ 3 เครือข่ายที่สำคัญต่อจิตพยาธิวิทยา[55]
เครือข่าย executive functions
[แก้]เครือข่าย executive functions เป็นเขตในสมองกลีบหน้าและกลีบข้าง รวมทั้ง dorsolateral prefrontal cortex และ lateral posterior parietal cortex (สมองกลีบข้างส่วนหลังด้านข้าง)[56][57] เครือข่ายนี้สำคัญมากต่อการทำงานทางการรู้คิด (cognitive function) ในระดับสูง เช่น การดำรงและการใช้ข้อมูลในระบบความจำใช้งาน (working memory) การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ[55][58][59][60][61] ความบกพร่องในเครือข่ายนี้เป็นเรื่องสามัญในความผิดปกติทางจิตเวชและทางประสาทโดยมาก รวมทั้งโรคซึมเศร้า[62][63] เพราะว่าเครือข่ายนี้ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน คนซึมเศร้าจะแสดงความพิการในกิจกรรมพื้นฐานเช่นการสอบหรือการตัดสินใจ[64]
Default mode network
[แก้]default mode network (เครือข่ายภาวะปริยาย) รวมศูนย์ต่าง ๆ ในสมองเขต prefrontal cortex และ posterior cingulate บวกกับเขตเด่น ๆ ของเครือข่ายใน medial temporal lobe และ angular gyrus[55] เครือข่ายภาวะปริยายจะทำงานเมื่อกำลังใจลอยหรือคิดถึงเหตุการณ์ทางสังคม เปรียบเทียบกับเมื่อกำลังทำงานแบบเฉพาะอื่น ๆ ที่มักใช้ในการศึกษาทางประชานศาสตร์ (เช่น งานให้ใส่ใจง่าย ๆ) ซึ่งเครือข่ายนี้มักจะระงับการทำงาน[65][66] งานวิจัยแสดงว่า เขตต่าง ๆ ในเครือข่ายนี้ (รวมทั้ง medial prefrontal cortex และ posterior cingulate) ทำงานเมื่อคนซึมเศร้ากำลังครุ่นคิดถึงสถานะตัวเองซ้ำ ๆ ซาก ๆ มากกว่าเมื่อคนปกติครุ่นคิด[67]
คนไข้โรคซึมเศร้ายังแสดงการทำงานเชื่อมกันที่สูงกว่าระหว่าง default mode network กับสมองเขต subgenual cingulate และ ventromedial prefrontal cortex ที่ติด ๆ กัน เทียบกับคนปกติ หรือเทียบกับคนไข้ภาวะสมองเสื่อมหรือออทิซึม งานศึกษาจำนวนมากเสนอว่าเขต subgenual cingulate มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ผิดปกติที่เป็นลักษณะของโรคซึมเศร้า[68] การทำงานที่เพิ่มขึ้นของ default mode network ในระหว่างการครุ่นคิด และการทำงานเชื่อมต่อกันที่ผิดปกติระหว่างเครือข่ายกับเขต subgenual cingulate อาจเป็นเหตุที่คนไข้ซึมเศร้ามักจะติดกับอยู่กับความคิดเกี่ยวกับตนในเชิงลบที่บ่อยครั้งเป็นลักษณะกำหนดโรค[69] แต่ว่า ยังต้องมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะเข้าใจให้แม่นยำว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับอาการโดยเฉพาะ ๆ ของโรคอย่างไร
Salience network
[แก้]salience network (เครือข่ายส่วนเด่นของการรับรู้) เป็นเครือข่ายระหว่าง anterior cingulate (ACC) และ operculum ด้านหน้า ที่รวมส่วนต่าง ๆ ใน ACC และ anterior insula[56] salience network เป็นเครือข่ายทางประสาทกว้าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการตรวจจับและแสดงส่วนที่ตรงประเด็นที่สุดของสิ่งเร้าภายนอกและเหตุการณ์ภายในที่กำลังปรากฏ[55] บุคคลที่มักจะประสบกับอารมณ์เชิงลบ (คือ ได้คะแนนสูงในการวัด neuroticism) แสดงการทำงานที่สูงขึ้นใน anterior insula ข้างขวาเมื่อกำลังตัดสินใจ แม้ว่าอาจจะได้ตัดสินใจแล้ว[70] การทำงานสูงผิดปกติของ anterior insula ด้านขวาเช่นนี้เชื่อว่า มีส่วนในการประสบความรู้สึกที่ไม่ดีและที่ให้เป็นห่วง[71] ในโรคซึมเศร้า ความวิตกกังวลบ่อยครั้งเป็นอารมณ์ที่กำหนดโรค[72]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Nierenberg, AA (2009). "The long tale of the short arm of the promoter region for the gene that encodes the serotonin uptake protein" (PDF). CNS spectrums. 14 (9): 462–3. PMID 19890228.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Caspi, Avshalom; Sugden, Karen; Moffitt, Terrie E.; Taylor, Alan; Craig, Ian W.; Harrington, HonaLee; McClay, Joseph; Mill, Jonathan; Martin, Judy; Braithwaite, Antony; Poulton, Richie (July 2003). "Influence of Life Stress on Depression: Moderation by a Polymorphism in the 5-HTT Gene". Science. 301 (5631): 386–89. Bibcode:2003Sci...301..386C. doi:10.1126/science.1083968. PMID 12869766.
- ↑ Kendler, K.; Kuhn, J.; Vittum, J.; Prescott, C.; Riley, B. (2005). "The interaction of stressful life events and a serotonin transporter polymorphism in the prediction of episodes of major depression: a replication". Archives of General Psychiatry. 62 (5): 529–535. doi:10.1001/archpsyc.62.5.529. PMID 15867106.
- ↑ Gillespie, N. A.; Whitfield, J. B.; Williams, B.; Heath, A. C.; Martin, N. G. (2005). "The relationship between stressful life events, the serotonin transporter (5-HTTLPR) genotype and major depression". Psychological Medicine. 35 (1): 101–111. doi:10.1017/S0033291704002727. PMID 15842033.
- ↑ Surtees, P.; Wainwright, N.; Willis-Owen, S.; Luben, R.; Day, N.; Flint, J. (2006). "Social adversity, the serotonin transporter (5-HTTLPR) polymorphism and major depressive disorder". Biological Psychiatry. 59 (3): 224–229. doi:10.1016/j.biopsych.2005.07.014. PMID 16154545.
- ↑ Uher, R.; McGuffin, P. (2008). "The moderation by the serotonin transporter gene of environmental adversity in the aetiology of mental illness: review and methodological analysis". Molecular Psychiatry. 13 (2): 131–146. doi:10.1038/sj.mp.4002067. PMID 17700575.
- ↑ Risch, N.; Herrell, R.; Lehner, T.; Liang, K.; Eaves, L.; Hoh, J.; Griem, A.; Kovacs, M.; Ott, J.; Merikangas, K. R. (2009). "Interaction between the serotonin transporter gene (5-HTTLPR), stressful life events, and risk of depression: a meta-analysis". Journal of the American Medical Association. 301 (23): 2462–2471. doi:10.1001/jama.2009.878. PMC 2938776. PMID 19531786.
- ↑ Munafo, M.; Durrant, C.; Lewis, G.; Flint, J. (2009). "Gene × Environment Interactions at the Serotonin Transporter Locus". Biological Psychiatry. 65 (3): 211–219. doi:10.1016/j.biopsych.2008.06.009. PMID 18691701.
- ↑ Uher, R.; McGuffin, P. (2010). "The moderation by the serotonin transporter gene of environmental adversity in the etiology of depression: 2009 update". Molecular Psychiatry. 15 (1): 18–22. doi:10.1038/mp.2009.123. PMID 20029411.
- ↑ Levinson, D. (2006). "The genetics of depression: a review". Biological Psychiatry. 60 (2): 84–92. doi:10.1016/j.biopsych.2005.08.024. PMID 16300747.
- ↑ Dwivedi, Y (2009). "Brain-derived neurotrophic factor: role in depression and suicide". Neuropsychiatr Dis Treat. 5: 433–49. doi:10.2147/NDT.S5700. PMC 2732010. PMID 19721723.
- ↑ 12.0 12.1 Krishnan, V.; Nestler, E. (2008). "The molecular neurobiology of depression". Nature. 455 (7215): 894–902. Bibcode:2008Natur.455..894K. doi:10.1038/nature07455. PMC 2721780. PMID 18923511.
- ↑ Pezawas, L.; Meyer-Lindenberg, A.; Goldman, A. L.; Verchinski, B. A.; Chen, G.; Kolachana, B. S.; Egan, M. F.; Mattay, V. S.; Hariri, A. R.; Weinberger, D. R. (2008). "Evidence of biologic epistasis between BDNF and SLC6A4 and implications for depression". Molecular Psychiatry. 13 (7): 709–716. doi:10.1038/mp.2008.32. PMID 18347599.
- ↑ Major Depressive Disorder Working Group of the Psychiatric GWAS Consortium; Ripke, S; Wray, N. R.; Lewis, C. M.; Hamilton, S. P.; Weissman, M. M.; Breen, G; Byrne, E. M.; Blackwood, D. H.; Boomsma, D. I.; Cichon, S; Heath, A. C.; Holsboer, F; Lucae, S; Madden, P. A.; Martin, N. G.; McGuffin, P; Muglia, P; Noethen, M. M.; Penninx, B. P.; Pergadia, M. L.; Potash, J. B.; Rietschel, M; Lin, D; Müller-Myhsok, B; Shi, J; Steinberg, S; Grabe, H. J.; Lichtenstein, P; และคณะ (2013). "A mega-analysis of genome-wide association studies for major depressive disorder". Molecular Psychiatry. 18 (4): 497–511. doi:10.1038/mp.2012.21. PMC 3837431. PMID 22472876.
- ↑ Converge Consortium; Bigdeli, Tim B.; Kretzschmar, Warren; Li, Yihan; Liang, Jieqin; Song, Li; Hu, Jingchu; Li, Qibin; Jin, Wei; Hu, Zhenfei; Wang, Guangbiao; Wang, Linmao; Qian, Puyi; Liu, Yuan; Jiang, Tao; Lu, Yao; Zhang, Xiuqing; Yin, Ye; Li, Yingrui; Xu, Xun; Gao, Jingfang; Reimers, Mark; Webb, Todd; Riley, Brien; Bacanu, Silviu; Peterson, Roseann E.; Chen, Yiping; Zhong, Hui; Liu, Zhengrong; และคณะ (2015). "Sparse whole-genome sequencing identifies two loci for major depressive disorder". Nature. 523 (7562): 588–91. doi:10.1038/nature14659. PMC 4522619. PMID 26176920.
- ↑ 16.0 16.1 Carlson, Neil R. (2013). Physiology of behavior (11th ed.). Boston: Pearson. pp. 578–582. ISBN 978-0-205-23939-9. OCLC 769818904.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Adrien, J. Neurobiological bases for the relation between sleep and depression. Sleep Medicine Review. 2003;6(5):341-51. doi:10.1053/smrv.2001.0200. PMID 12531125.
- ↑ 18.0 18.1 Terman, M. Evolving applications of light therapy. Sleep Medicine Review. 2007;11(6):497-507. doi:10.1016/j.smrv.2007.06.003. PMID 17964200.
- ↑ Benedetti, F; Barbini, B; Colombo, C; Smeraldi, E. Chronotherapeutics in a psychiatric ward. Sleep Medicine Review. 2007;11(6):509-22. doi:10.1016/j.smrv.2007.06.004. PMID 17689120.
- ↑ Carlson, Neil R. (2005). Foundations of Physiological Psychology (6th ed.). Boston: Pearson A and B. p. 108. ISBN 0-205-42723-5. OCLC 60880502.
- ↑ Nutt, DJ (2008). "Relationship of neurotransmitters to the symptoms of major depressive disorder". Journal of Clinical Psychiatry. 69 Suppl E1: 4–7. PMID 18494537.
- ↑ Carlson, N (2013). Physiology of behavior (11th ed.). United States of America: Pearson. pp. 575–576.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Mandell, AJ; Knapp, S (1979). "Asymmetry and mood, emergent properties of serotonin regulation: A proposed mechanism of action of lithium". Archives of General Psychiatry. 36 (8): 909–16. doi:10.1001/archpsyc.1979.01780080083019. PMID 454111.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Meyer, JH; Ginovart, N; Boovariwala, A และคณะ (November 2006). "Elevated monoamine oxidase a levels in the brain: An explanation for the monoamine imbalance of major depression". Archives of General Psychiatry. 63 (11): 1209–16. doi:10.1001/archpsyc.63.11.1209. PMID 17088501.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Huang, SY; Lin, MT; Lin, WW; Huang, CC; Shy, MJ; Lu, RB (19 December 2007). "Association of monoamine oxidase A (MAOA) polymorphisms and clinical subgroups of major depressive disorders in the Han Chinese population". World Journal of Biological Psychiatry. Informa Healthcare. 10 (4 Pt 2): 544–51. doi:10.1080/15622970701816506. PMID 19224413. สืบค้นเมื่อ 20 September 2008.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Yu, YW; Tsai, SJ; Hong, CJ; Chen, TJ; Chen, MC; Yang, CW (September 2005). "Association study of a monoamine oxidase a gene promoter polymorphism with major depressive disorder and antidepressant response". Neuropsychopharmacology. 30 (9): 1719–23. doi:10.1038/sj.npp.1300785. PMID 15956990.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Cicchetti, D; Rogosch, FA; Sturge-Apple, ML (2007). "Interactions of child maltreatment and serotonin transporter and monoamine oxidase A polymorphisms: depressive symptomatology among adolescents from low socioeconomic status backgrounds". Dev. Psychopathol. 19 (4): 1161–80. doi:10.1017/S0954579407000600. PMID 17931441.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Castrén, E (2005). "Is mood chemistry?". Nature Reviews Neuroscience. 6 (3): 241–46. doi:10.1038/nrn1629. PMID 15738959.
- ↑ Hirschfeld, RM (2000). "History and evolution of the monoamine hypothesis of depression". Journal of Clinical Psychiatry. 61 Suppl 6: 4–6. PMID 10775017.
- ↑
Delgado, PL; Moreno, FA (2000). "Role of norepinephrine in depression". J Clin Psychiatry. 61 Suppl 1: 5–12. PMID 10703757.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Delgado, PL (2000). "Depression: the case for a monoamine deficiency". Journal of Clinical Psychiatry. 61 Suppl 6: 7–11. PMID 10775018.
- ↑ Lacasse, Jeffrey R.; Leo, Jonathan (8 November 2005). "Serotonin and Depression: A Disconnect between the Advertisements and the Scientific Literature". PLoS Medicine. 2 (12): e392. doi:10.1371/journal.pmed.0020392. PMC 1277931. PMID 16268734.
- ↑ Underwood, MD; Khaibulina, AA; Ellis, SP; Moran, A; Rice, PM; Mann, JJ; Arango, V (15 August 1999). "Morphometry of the dorsal raphe nucleus serotonergic neurons in suicide victims". Biol Psychiatry. 46 (4): 473–83. doi:10.1016/S0006-3223(99)00043-8. PMID 10459396.
- ↑ Arango, V; Underwood, MD; Boldrini, M; Tamir, H; Kassir, SA; Hsiung, S; Chen, JJ; Mann, JJ (December 2001). "Serotonin 1A receptors, serotonin transporter binding and serotonin transporter mRNA expression in the brainstem of depressed suicide victims". Neuropsychopharmacology. 25 (6): 892–903. doi:10.1016/S0893-133X(01)00310-4. PMID 11750182.
- ↑ Matthews, PR; Harrison, PJ (March 2012). "A morphometric, immunohistochemical, and in situ hybridization study of the dorsal raphe nucleus in major depression, bipolar disorder, schizophrenia, and suicide". J Affect Disord. 137 (1–3): 125–134. doi:10.1016/j.jad.2011.10.043. PMC 3314923. PMID 22129767.
- ↑ Di Chiara, G; Loddo, P; Tanda, G (15 December 1999). "Reciprocal changes in prefrontal and limbic dopamine responsiveness to aversive and rewarding stimuli after chronic mild stress: implications for the psychobiology of depression". Biol. Psychiatry. 46 (12): 1624–33. doi:10.1016/S0006-3223(99)00236-X. PMID 10624543.
- ↑ Scheggi, S; Leggio, B; Masi, F; Grappi, S; Gambarana, C; Nanni, G; Rauggi, R; De Montis, MG (November 2002). "Selective modifications in the nucleus accumbens of dopamine synaptic transmission in rats exposed to chronic stress". J. Neurochem. 83 (4): 895–903. doi:10.1046/j.1471-4159.2002.01193.x. PMID 12421362.
- ↑ Rossetti, ZL; Lai, M; Hmaidan, Y; Gessa, GL (5 October 1993). "Depletion of mesolimbic dopamine during behavioral despair: partial reversal by chronic imipramine". Eur. J. Pharmacol. 242 (3): 313–5. doi:10.1016/0014-2999(93)90257-I. PMID 8281997.
- ↑ Mayberg, HS; Brannan, SK; Tekell, JL; Silva, JA; Mahurin, RK; McGinnis, S; Jerabek, PA (15 October 2000). "Regional metabolic effects of fluoxetine in major depression: serial changes and relationship to clinical response". Biol Psychiatry. 48 (8): 830–43. doi:10.1016/s0006-3223(00)01036-2. PMID 11063978. (ต้องรับบริการ)
- ↑
Carlson, N (2013). Physiology of behavior (11th ed.). United States of America: Pearson. pp. 576–578.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Insel, Thomas R. (April 2010). "Faulty Circuits". Scientific American. 302 (4): 44–51. PMID 20349573. (ต้องรับบริการ)
- ↑ Mayberg, Helen S.; Lozano, Andres M.; Voon, Valerie; McNeely, Heather E.; Seminowicz, David; Hamani, Clement; Schwalb, Jason M.; Kennedy, Sidney H. (3 March 2005). "Deep Brain Stimulation for Treatment-Resistant Depression". Neuron. 45 (5): 651–660. doi:10.1016/j.neuron.2005.02.014. PMID 15748841.
- ↑ Pariante, CM; Lightman, SL (September 2008). "The HPA axis in major depression: classical theories and new developments". Trends Neurosci. 31 (9): :464-468. doi:10.1016/j.tins.2008.06.006. PMID 18675469.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 44.0 44.1 Kandel et al (2013), หน้า 1409, รูป 63-4
- ↑ Kandel et al (2013), หน้า 1406
- ↑ 46.0 46.1 Kandel et al (2013), หน้า 1407
- ↑ 47.0 47.1 Kandel et al (2013), หน้า 1409
- ↑ Hendrie, C.A.; Pickles, A.R. (2009). "Depression as an evolutionary adaptation: Implications for the development of preclinical models". Medical Hypotheses. 72 (3): 342–347. doi:10.1016/j.mehy.2008.09.053. PMID 19153014. สืบค้นเมื่อ 25 September 2013.
- ↑ Hendrie, C.A.; Pickles, A.R. (2010). "Depression as an evolutionary adaptation: Anatomical organisation around the third ventricle". Medical Hypotheses. 74 (4): 735–740. doi:10.1016/j.mehy.2009.10.026. PMID 19931308. สืบค้นเมื่อ 25 September 2013.
- ↑ Sheline, Yvette (August 2003). "Neuroimaging studies of mood disorder effects on the brain". Biological Psychiatry. 54 (3): 338–352. doi:10.1016/s0006-3223(03)00347-0. PMID 12893109. สืบค้นเมื่อ 25 September 2013.
- ↑ Manji, Husseini K.; Quiroz, Jorge A.; Sporn, Jonathan; Payne, Jennifer L.; Denicoff, Kirk; Gray, Neil A.; Zarate Jr., Carlos A.; Charney, Dennis S. (April 2003). "Enhancing neuronal plasticity and cellular resilience to develop novel, improved therapeutics for difficult-to-treat depression". Biological Psychiatry. 53: 707–742. doi:10.1016/s0006-3223(03)00117-3. สืบค้นเมื่อ 25 September 2013.
- ↑ Miller, A. H.; Maletic, V.; Raison, C. L. (2009). "Inflammation and its discontents: the role of cytokines in the pathophysiology of major depression". Biological Psychiatry. 65 (9): 732–741. doi:10.1016/j.biopsych.2008.11.029. PMID 19150053.
- ↑ Raison, C. L.; Capuron, L.; Miller, A. H. (2006). "Cytokines sing the blues: inflammation and the pathogenesis of depression". Trends in Immunology. 27 (1): 24–31. doi:10.1016/j.it.2005.11.006. PMC 3392963. PMID 16316783.
- ↑ Pittenger, Christopher; Duman, Ronald S (2008). "Stress, Depression, and Neuroplasticity: A Convergence of Mechanisms". Neuropsychopharmacology. 33 (1): 88–109. doi:10.1038/sj.npp.1301574. PMID 17851537.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 55.0 55.1 55.2 55.3 55.4 Menon, Vinod (October 2011). "Large-scale brain networks and psychopathology: a unifying triple network model". Trends in Cognitive Sciences. 15 (10): 483–506. doi:10.1016/j.tics.2011.08.003. PMID 21908230.
- ↑ 56.0 56.1 Seeley, W.W; และคณะ (February 2007). "Dissociable intrinsic connectivity networks for salience processing and executive control". The Journal of Neuroscience. 27.
- ↑ Habas, C; และคณะ (1 July 2009). "Distinct cerebellar contributions to intrinsic connectivity networks". The Journal of Neuroscience. 29.
- ↑ Petrides, M (2005). "Lateral prefrontal cortex: architecture and functional organization". Philosophical Transactions of the Royal Society B. 360 (1456): 781–795. doi:10.1098/rstb.2005.1631.
- ↑ Koechlin, E; Summerfield, C (2007). "An information theoretical approach to prefrontal executive function". Trends in Cognitive Sciences. 11 (6): 229–235. doi:10.1016/j.tics.2007.04.005. PMID 17475536.
- ↑ Miller, E.K.; Cohen, J.D. (2001). "An integrative theory of prefrontal cortex function". Annual Review of Neuroscience. 24: 167–202. doi:10.1146/annurev.neuro.24.1.167. PMID 11283309.
- ↑ Muller, N.G.; Knight, R.T. (2006). "The functional neuroanatomy of working memory: contributions of human brain lesion studies". Neuroscience. 139 (1): 51–58. doi:10.1016/j.neuroscience.2005.09.018. PMID 16352402.
- ↑ Woodward, N.D.; และคณะ (2011). "Functional resting-state networks are differentially affected in schizophrenia". Schizophrenia Research. 130 (1–3): 86–93. doi:10.1016/j.schres.2011.03.010. PMC 3139756. PMID 21458238.
- ↑ Menon, Vinod; และคณะ (2001). "Functional neuroanatomy of auditory working memory in schizophrenia: relation to positive and negative symptoms". NeuroImage. 13 (3): 433–446. doi:10.1006/nimg.2000.0699. PMID 11170809.
- ↑ Levin, R.L.; และคณะ (2007). "Cognitive deficits in depression and functional specificity of regional brain activity". Cognitive Therapy and Research. 31 (2): 211–233. doi:10.1007/s10608-007-9128-z.
- ↑ Qin, P; Northoff, G (2011). "How is our self related to midline regions and the default mode network?". NeuroImage. 57 (3): 1221–1233. doi:10.1016/j.neuroimage.2011.05.028. PMID 21609772.
- ↑ Raichle, M.E.; และคณะ (2001). "A default mode of brain function". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 98 (2): 676–682. doi:10.1073/pnas.98.2.676. PMC 14647. PMID 11209064.
- ↑ Cooney, R.E.; และคณะ (2010). "Neural correlates of rumination in depression". Cognitive Affective and Behavioral Neuroscience. 10 (4): 470–478. doi:10.3758/cabn.10.4.470.
- ↑ Broyd, S.J.; และคณะ (2009). "Default mode brain dysfunction in mental disorders: a systematic review". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 33 (3): 279–296. doi:10.1016/j.neubiorev.2008.09.002. PMID 18824195.
- ↑ Hamani, C; และคณะ (15 February 2011). "The subcallosal cingulate gyrus in the context of major depression". Biological Psychiatry. 69 (4): 301–8. doi:10.1016/j.biopsych.2010.09.034. PMID 21145043.
- ↑ Feinstein, J.S.; และคณะ (September 2006). "Anterior insula reactivity during certain decisions is associated with neuroticism". Social Cognition and Affective Neuroscience. 1 (2): 136–142. doi:10.1093/scan/nsl016.
- ↑ Paulus, M.P; Stein, M.B. (2006). "An insular view of anxiety". Biological Psychiatry. 60 (4): 383–387. doi:10.1016/j.biopsych.2006.03.042. PMID 16780813.
- ↑ Antony, M.M. (2009). Oxford Handbook of Anxiety and Related Disorders. Oxford University Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kandel, Eric R.; Schwartz, James H.; Jessell, Thomas M.; Siegelbaum, Steven A.; Hudspeth, A.J. (2013). Principles of Neural Science Fifth Edition. United State of America: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-139011-8.
- Szafran, K; Faron-Górecka, A; Kolasa, M; Kuśmider, M; Solich, J; Zurawek, D; Dziedzicka-Wasylewska, M (2013). "Potential role of G protein-coupled receptor (GPCR) heterodimerization in neuropsychiatric disorders: a focus on depression" (PDF). Pharmacol Rep. 65 (6): 1498–505. doi:10.1016/s1734-1140(13)71510-x. PMID 24552997.
- Naumenko, VS; Popova, NK; Lacivita, E; Leopoldo, M; Ponimaskin, EG (July 2014). "Interplay between serotonin 5-HT1A and 5-HT7 receptors in depressive disorders". CNS Neurosci Ther. 20 (7): 582–90. doi:10.1111/cns.12247. PMID 24935787.