ข้ามไปเนื้อหา

ดล เหตระกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดล เหตระกูล
รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 225 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 (43 ปี)
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2561–2566)
ชาติพัฒนากล้า (2566)
ไทยสร้างไทย (2566–ปัจจุบัน)

ดล เหตระกูล (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่ออดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา และอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า

ประวัติ

[แก้]

ดล เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของนายประชา เหตระกูล และ ปรียาพร เหตระกูล เจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์เดลินิวส์[1] มีพี่น้อง 3 คน คือดอม เหตระกูล ดล เหตระกูล และแดน เหตระกูล[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยมหิดล

การทำงาน

[แก้]

ดล เหตระกูล เป็นนักธุรกิจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IRCP ต่อมาได้เข้าร่วมทำงานการเมืองกับพรรคชาติพัฒนา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา และรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ในเวลาต่อมา

ตำแหน่งทางการเมือง เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ในปี 2547 [3]

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายประเสริฐ บุญชัยสุข) ในปี 2555 [4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรคชาติพัฒนา และเขาได้ทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้ลาออกจากหน้าที่ดังกล่าว[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เหตระกูล" ชื่อแห่งตำนาน "เดลินิวส์"[ลิงก์เสีย]
  2. แดน เหตระกูล - HELLO! Magazine Thailand
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". soc.soc.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  4. คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งผู้ช่วย-เลขาฯ-ที่ปรึกษารัฐมนตรีอุตสาหกรรม
  5. “ไพบูลย์” จ่อนั่งกมธ.ปราบโกง หลัง “ดล เหตระกูล” ลาออก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕