ดาวพุธ
ภาพดาวพุธจาก ยานเมสเซนเจอร์ เมื่อปี 2008 | ||||||||||
ลักษณะของวงโคจร | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ต้นยุคอ้างอิง J2000 | ||||||||||
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 69,817,079 กม. 0.46669835 หน่วยดาราศาสตร์ | |||||||||
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 46,001,272 กม. 0.30749951 หน่วยดาราศาสตร์ | |||||||||
กึ่งแกนเอก: | 57,909,176 กม. 0.38709893 หน่วยดาราศาสตร์ | |||||||||
เส้นรอบวง ของวงโคจร: | 2.406 หน่วยดาราศาสตร์ | |||||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.20563069 | |||||||||
คาบดาราคติ: | 87.96935 วัน (0.2408470 ปีจูเลียน) | |||||||||
คาบซินอดิก: | 115.8776 วัน | |||||||||
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: | 47.36 กม./วินาที | |||||||||
อัตราเร็วสูงสุด ในวงโคจร: | 58.98 กม./วินาที | |||||||||
อัตราเร็วต่ำสุด ในวงโคจร: | 38.86 กม./วินาที | |||||||||
ความเอียง: | 7.00487° (3.38° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) | |||||||||
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 48.33167° | |||||||||
มุมของจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 29.12478° | |||||||||
ดาวบริวารของ: | ดวงอาทิตย์ | |||||||||
จำนวนดาวบริวาร: | ไม่มี | |||||||||
ลักษณะทางกายภาพ | ||||||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวศูนย์สูตร: | 4,879.4 กม. (0.383×โลก) | |||||||||
พื้นที่ผิว: | 7.5×107 กม.² (0.147×โลก) | |||||||||
ปริมาตร: | 6.1×1010 กม.³ (0.056×โลก) | |||||||||
มวล: | 3.302×1023 กก. (0.055×โลก) | |||||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 5.427 กรัม/ซม.³ | |||||||||
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: | 3.701 เมตร/วินาที² (0.377 จี) | |||||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 4.435 กม./วินาที | |||||||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | 58.6462 วัน (58 วัน 15.5088 ชม.) | |||||||||
ความเร็วการหมุน รอบตัวเอง: | 10.892 กม./ชม. | |||||||||
ความเอียงของแกน: | ~0.01° | |||||||||
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ: | 281.01° (18 ชม. 44 นาที 2 วินาที) | |||||||||
เดคลิเนชัน ของขั้วเหนือ: | 61.45° | |||||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.10-0.12 | |||||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: 0°N, 0°W 85°N, 0°W |
| |||||||||
ลักษณะของบรรยากาศ | ||||||||||
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: | น้อยมาก | |||||||||
องค์ประกอบ: | 31.7% โพแทสเซียม 24.9% โซเดียม 9.5% อะตอมออกซิเจน 7.0% อาร์กอน 5.9% ฮีเลียม 5.6% โมเลกุลออกซิเจน 5.2% ไนโตรเจน 3.6% คาร์บอนไดออกไซด์ 3.4% น้ำ 3.2% ไฮโดรเจน |
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยากที่สุด
ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแก่นดาวเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
บรรยากาศ
ดาวพุธมีชั้นบรรยากาศเบาบางและมีสเถียรภาพต่ำอันเกิดจากการที่ดาวพุธมีขนาดเล็กจนไม่มีแรงดึงดูดเพียงพอในการกักเก็บอะตอมของก๊าซเอาไว้ ชั้นบรรยากาศของดาวพุธประกอบไปด้วยไฮโดรเจน, ฮีเลียม, ออกซิเจน, โซเดียม, แคลเซียม, โพแทสเซียม และ น้ำ มีความดันบรรยากาศประมาณ 10-14 บาร์
บรรยากาศของดาวพุธมีการสูญเสียและถูกทดแทนอยู่ตลอดเวลาโดยมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง ไฮโดรเจนและฮีเลียมอาจจะมาจากลมสุริยะ พวกมันแพร่เข้ามาผ่านสนามแม่เหล็กของดาวพุธก่อนจะหลุดออกจากบรรยากาศในที่สุด การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี จากแก่นดาวก็อาจจะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ช่วยเติมฮีเลียม โซเดียม และโพแทสเซียมให้กับบรรยากาศดาวพุธ
ไม่เคยถูกแสงอาทิตย์โดยตรงเลย การสำรวจได้เผยให้เห็นถึงแถบสะท้อนเรดาร์ขนาดใหญ่อยู่บริเวณขั้วของดาว ซึ่งน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสารไม่กี่ชนิดที่สามารถสะท้อนเรดาร์ได้ดีเช่นนี้
บริเวณที่มีน้ำแข็งนั้นเชื่อกันว่าอยุ่ลึกลงไปใต้พื้นผิวเพียงไม่กี่เมตร และมีน้ำแข็งประมาณ 1014 - 1015 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกาของโลกเราที่มีน้ำแข็งอยู่ 4 x 10 18 กิโลกรัม ที่มาของน้ำแข็งบนดาวพุธยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอาจจะมีที่มาจากดาวหางที่พุ่งชนดาวพุธเมื่อหลายล้านปีก่อน หรืออาจจะมาจากภายในของดาวพุธเอง
ภูมิลักษณะ
ดาวพุธมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากจนดูคล้ายดวงจันทร์ ภูมิลักษณ์ที่เด่นที่สุดบนดาวพุธ (เท่าที่สามารถถ่ายภาพได้) คือ แอ่งแคลอริส หลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,350 กิโลเมตร ผิวดาวพุธมีผาชันอยู่ทั่วไป ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว ขณะที่ใจกลางดาวพุธเย็นลงพร้อมกับหดตัว จนทำให้เปลือกดาวของพุธย่นยับ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวพุธปกคลุมด้วยที่ราบ 2 แบบที่มีอายุต่างกัน ที่ราบที่มีอายุน้อยจะมีหลุมอุกกาบาตหนาแน่นน้อยกว่า เป็นเพราะมีลาวาไหลมากลบหลุมอุกกาบาตที่เกิดก่อนหน้า
องค์ประกอบภายใน
ดาวพุธมีแก่นดาวที่ประกอบด้วยเหล็กในสัดส่วนที่สูง (แม้เมื่อเปรียบเทียบกับโลก) เป็นโลหะประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยมีค่า 5,430 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เพียงเล็กน้อย. สาเหตุที่ดาวพุธมีเหล็กอยู่มากแต่มีความหนาแน่นต่ำกว่าโลก เป็นเพราะโลกมีการอัดตัวจากแรงโน้มถ่วงแน่นกว่าดาวพุธ โดยเฉพาะการอัดตัวบริเวณแก่น ทั้งนี้เพราะดาวพุธมีขนาดเล็กกว่า (ดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก). ด้วยเหตุนี้จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าการที่ดาวพุธมีความหนาแน่นสูงทั้งๆที่มีขนาดเล็ก เป็นเพราะว่าดาวพุธมีแกนที่ใหญ่และอุดมไปด้วยเหล็ก. แก่นของดาวพุธมีขนาดใหญ่ และมีสัดส่วนของเหล็กอยู่มากกว่าแก่นของดาวเคราะห์ใหญ่ๆดวงอื่นของระบบสุริยะทั้งหมด โดยปริมาตรของแก่นที่เป็นเหล็กนี้มีสัดส่วนสูงถึง 55% ของปริมาตรดาวพุธทั้งดวง (แก่นโลกมีสัดส่วนเพียง 17%) ล้อมรอบด้วยเนื้อดาวหนา 600 กิโลเมตร
การเคลื่อนที่ และการหมุนรอบตนเอง
ดาวพุธมีระดับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีค่าความเยื้องศูนย์กลางอยู่ที่ 0.21 และอาจมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ได้ระหว่าง 46 ล้าน ถึง 70 ล้าน กิโลเมตร. ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ. ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ [1]
การศึกษาและการสำรวจ
ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภาพพื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรกคือ ยานอวกาศมาริเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป [2]