นกแต้วแร้ว
นกแต้วแร้ว | |
---|---|
นกแต้วแร้วป่าชายเลน หรือนกแต้วแร้วป่าโกงกาง (P. megarhyncha) ที่จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
อันดับย่อย: | Tyranni |
วงศ์: | Pittidae |
สกุล: | Pitta Vieillot, 1816 |
ชนิด | |
|
นกแต้วแร้ว หรือ นกแต้วแล้ว (อังกฤษ: Pittas) เป็นนกขนาดเล็กในสกุล Pitta ในวงศ์นกแต้วแร้ว (Pittidae) มีลักษณะทั่วไปคือ มีลำตัวอ้วนสั้น มีสีฉูดฉาดสลับกันทั่วทั้งตัวทั้งสีนํ้าเงิน, เขียว แดง, นํ้าตาล, เหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน มีคอและหางสั้น ขายาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน รวมถึงหากินและทำรังบนพื้นดินในป่า หากบินก็จะบินเป็นระยะทางสั้น ๆ ในระดับความสูงต่ำในละแวกที่อาศัยเท่านั้น จัดเป็นนกขี้อาย[1] สร้างรังรวมถึงฟักไข่และเลี้ยงดูลูกนกด้วยกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 17 วัน [2]
พบกระจายพันธุ์ทั้งทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก จนถึงโอเชียเนีย เช่น หมู่เกาะโซโลมอน และออสเตรเลีย
การจำแนก
[แก้]จำแนกได้เป็น 15 ชนิด
- Pitta sordida
- Pitta maxima
- Pitta superba
- Pitta steerii
- Pitta dohertyi
- Pitta angolensis
- Pitta reichenowi
- Pitta brachyura
- นกแต้วแร้วพันธุ์จีน, Pitta nympha
- นกแต้วแร้วธรรมดา, นกแต้วแร้วปีกสีฟ้า, Pitta moluccensis
- นกแต้วแร้วป่าชายเลน, นกแต้วแร้วป่าโกงกาง, Pitta megarhyncha
- Pitta elegans
- Pitta versicolor
- Pitta anerythra
- Pitta iris
หมายเหตุ: เดิมนกแต้วแร้วถูกจำแนกออกเพียงสกุลเดียวคือสกุลนี้ แต่ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการศึกษาและจำแนกออกอีก 2 สกุล คือ Erythropitta และ Hydrornis[3] โดยคำว่า Pitta แปลงมาจากภาษาเตลูกูที่ใช้ในอินเดียใต้ เป็นชื่อที่ใช้เรียกนกสกุลนี้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พินัยกรรมธรรมชาติ (2) อิสรภาพ 11Jan13". ไทยพีบีเอส. January 11, 2013. สืบค้นเมื่อ August 20, 2016.
- ↑ Zimmerman, Dale A.; และคณะ (1999). Birds of Kenya and Northern Tanzania. Princeton University Press. p. 495. ISBN 0691010226.
- ↑ Irestedt, M., Ohlson, J. I., Zuccon, D., Källersjö, M. & Ericson, P. G. P. (2006). "Nuclear DNA from old collections of avian study skins reveals the evolutionary history of the Old World suboscines (Aves: Passeriformes)" (PDF). Zoologica Scripta. 35: 567–580. doi:10.1111/j.1463-6409.2006.00249.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 2016-08-20.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ McClure, H. Elliott (1991). Forshaw, Joseph, ed. Encyclopaedia of Animals: Birds. London: Merehurst Press. pp. 159–160. ISBN 1-85391-186-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pitta ที่วิกิสปีชีส์