ประศาสตร์ ทองปากน้ำ
ประศาสตร์ ทองปากน้ำ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | วรรณภา ทองปากน้ำ |
บุตร | ประภาพร ทองปากน้ำ |
ประศาสตร์ ทองปากน้ำ (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2499) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย
ประวัติ
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ที่ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรของนายสนิท กับนางล้วน ทองปากน้ำ [1]สมรสกับนางวรรภา ทองปากน้ำ มีบุตรีชื่อ นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย และ กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร)
การศึกษา
[แก้]นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 และปริญญาโทศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ. 2540
ประวัติการเมือง
[แก้]นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ เข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค คือ พรรคพลังธรรม พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 4 สมัย คือ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2535
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2538
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2544
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2548
ตำแหน่งที่ได้รับ
[แก้]นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในสภาผู้แทนราษฎรหลายตำแหน่ง ได้แก่
- ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2538[2]
- ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2538
- รองประธานกรรมาธิการศาสนาและศิลปวัฒนาธรรม คนที่ 1 พ.ศ. 2544- พ.ศ. 2548
- ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2546- พ.ศ. 2547
- กรรมาธิการทหาร พ.ศ. 2544- พ.ศ. 2548
นายประศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมานิต นพอมรบดี) ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ศ. 2552 ซึ่งนายประศาสตร์เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[3] แทนนายมานิต นพอมรวดี ที่ประกาศลาออกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๗/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล, นายทรงพล โกวิทศิริกุล, นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ)
- ↑ เจอเส้นตายมาร์ค-ภท.ถอย "มานิต"ออก! เตรียมยื่นไขก๊อกวันจันทร์[ลิงก์เสีย] แฉเบื้องหลังโดนพรรคลอยแพ "สมศักดิ์"ดันเด็กเสียบรมช.สธ. "ประศาสตร์ ทองปากน้ำ"ส้มหล่น
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย
- พรรคพลังธรรม
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคภูมิใจไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.