ผักบุ้ง
หน้าตา
ผักบุ้ง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Solanales |
วงศ์: | Convolvulaceae |
สกุล: | Ipomoea |
สปีชีส์: | I. aquatica |
ชื่อทวินาม | |
Ipomoea aquatica Forsk. |
ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก[1] ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว่า
สายพันธุ์
[แก้]- ผักบุ้งจีนที่ขึ้นอยู่บนบก ลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ยางน้อยกว่าผักบุ้งไทย เป็นผักบุ้งที่นิยมปลูกเป็นการค้า ในอินโดนีเซียใช้ทำผักบุ้งลวกราดน้ำยำ ในมาเลเซียมีผักบุ้งผัดกะปิ ซึ่งพบทางภาคใต้ของไทยด้วย นิยมใช้ทำผัดผักบุ้งไฟแดง ใส่ในแจ่วฮ้อน สุกี้ยากี้ กินกับหมูกระทะ ลวกใส่ในพระรามลงสรง[2]
- ผักบุ้งไทยหรือผักบุ้งน้ำ เป็นผักบุ้งที่ขึ้นอยู่ในน้ำ ทนน้ำท่วม ในไทยใช้ทำแกงส้ม แกงเทโพ ผัดกะปิ ลวกจิ้ม ผักพริกแกง ยำผักบุ้ง ใส่ในเย็นตาโฟ การปลูกผักบุ้งไทยจะเตรียมดินโดยปล่อยให้น้ำแห้ง ไถดินแบบไถนาปลูกข้าว แล้วนำต้นผักบุ้งไปปักไว้เป็นแถว ๆ พอเริ่มแตกจะค่อย ๆ ปล่อยน้ำเข้า ผักบุ้งจะโตหนีน้ำขึ้นมา[2]
- ผักบุ้งนา ลำต้นมีสีแดง ยอดเรียวเล็ก รสฝาด กินกับลาบ น้ำตกและอาหารอีสานอื่น ๆ ทำแกงส้มได้เช่นกัน[2]