ข้ามไปเนื้อหา

พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์โท

พระยามหาอำมาตยาธิบดี

เกิด30 พฤษภาคม พ.ศ. 2408
ถึงแก่กรรม14 มกราคม พ.ศ. 2499 (90 ปี)
ตำแหน่งอดีตราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
อดีตรองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
อดีตปลัดบัญชีกระทรวงมหาดไทย
บุตรสรรพสิริ วิรยศิริ

มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) (30 พฤษภาคม 2408 - 14 มกราคม 2499) ขุนนางชาวไทยเป็นอดีตรองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย อดีตราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดบัญชีกระทรวงมหาดไทย อดีตองคมนตรี ต้นตระกูลวิรยศิริ และเป็นบิดาของนายทวีศักดิ์ วิรยศิริ, สรรพสิริ วิรยศิริ

รับราชการ

[แก้]

พระมหาอำมาตยาธิบดีเริ่มต้นรับราชการใน กรมแผนที่ ในสมัยที่ พระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ที) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรม กระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเทศาจิตรพิจารณ์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 หลวงเทศาจิตรพิจารณ์ก็ได้ถูกโอนย้ายมารับราชการที่ กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งพนักงานวิเศษ จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม ปีเดียวกันท่านก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสฤษดิพจนกร ถือศักดินา 800

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ระหว่างงานพระราชพิธีฉัตรมงคลท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสฤษดิพจนกร ถือศักดินา 1000 โดยในวันรุ่งขึ้นท่านยังได้รับพระราชทาน โต๊ะกาทองคำ ด้วยต่อมาในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2441 ระหว่างงานเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสหเทพ คงถือศักดินา 1000

จากนั้นในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2442 เมื่อ พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) ซึ่งดำรงตำแหน่งราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยสืบต่อมา ต่อมาในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2450 พระยาศรีสหเทพได้รับโปรดเกล้าฯ ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งเจ้ากรมราชโลหกิจ กระทั่งวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหาอำมาตยาธิบดี จุลราชสีห์มุรธาธร สถาพรพิริยพาห ถือศักดินา 3000

ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2456 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยโดยมี พระยากำแหงสงคราม ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมาซึ่งในเวลาต่อมาคือ เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแทนสืบต่อมา

ตำแหน่งราชการและบรรดาศักดิ์

[แก้]
  • หลวงเทศาจิตรพิจารณ์
  • พ.ศ. 2435 พนักงานวิเศษ[1]
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2435 พระสฤษดิพจนกร[2]
  • 21 ตุลาคม พ.ศ. 2439 เลขาธิการ หอพระสมุดวชิรญาณ[3]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 พระยาสฤษดิพจนกร[4]
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2441 พระยาศรีสหเทพ[5]
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2442 ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย[6]
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2442 บรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ[7]
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2443 รัฐมนตรี[8]
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2447 ผู้บัญชาการ กรมไปรษณีย์โทรเลข[9]
  • 14 ธันวาคม พ.ศ. 2447 พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการกรมไปรษณีย์โทรเลข[10]
  • 19 เมษายน พ.ศ. 2450 รักษาราชการแทนเจ้ากรมราชโลหกิจ[11]
  • 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453 องคมนตรี[12]
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระยามหาอำมาตยาธิบดี จุลราชสีห์มุรธาธร สถาพรพิริยพาห ถือศักดินา 3000[13]
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2456 รองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[14]
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - ผู้บังคับการกรมราบที่ 3[15]
  • 9 มิถุนายน 2458 – ราชองครักษ์เวรเสือป่า[16]
  • 8 สิงหาคม พ.ศ. 2458 - ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2458 อุปราชมณฑลภาคตะวันตกและสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี[17]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2458 ผู้บัญชาการกองเสนาตะวันตก[18]

ยศ

[แก้]
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - มหาอำมาตย์โท[19]
  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2454 - นายหมู่ตรี[20]
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 - นายหมู่โท[21]
  • 11 มกราคม พ.ศ. 2455 - นายหมู่เอก[22]
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายกองตรี[23]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2458 - มหาเสวกโท[24]
  • 6 มกราคม พ.ศ. 2459 - นายกองโท[25]
  • 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 - นายกองเอก[26]

เครื่องหมายยศ

[แก้]
  • 1 มกราคม 2459 – กุญแจทอง ชั้นที่ 2[27]

งานเขียน

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยสิริ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 141)
  2. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-06-17.
  3. พระราชทานตราตั้งกรรมสัมปาทิกหอสมุดวชิรญาณ
  4. พระราชทานสัญญาบัตร
  5. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-17.
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (หน้า 59)
  7. พระราชทานตราตั้งกรรมสัมปาทิกหอสมุดวชิรญาณ
  8. พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรีและรัฐมนตรี
  9. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  10. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  11. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  12. บัญชีพระนามและนามองคมนตรีที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว (หน้า 2275)
  13. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า 1895)
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรองเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
  15. ทำเนียบกรมบัญชาการเสือป่า (หน้า ๑๙๙๑)
  16. แจ้งความตั้งราชองครักษ์เวรเสือป่า
  17. พระราชทานตราสำหรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
  18. พระบรมราชโองการ ตั้งผู้บัญชาการกองเสนาและย้ายนายเสือป่าเข้าประจำการ
  19. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
  20. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  21. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า 2596)
  22. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  23. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
  24. ประกาศกระทรวงวัง
  25. พระราชทานยศเสือป่า
  26. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า 3641)
  27. ประกาศกระทรวงวัง
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๘๓, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๗๓, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๐, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๒, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๕, ๒๗ กันยายน ๑๑๕
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๙, ๒๖ เมษายน ๒๔๕๗
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๕
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๖๗, ๘ สิงหาคม ๒๔๕๘
  36. 36.0 36.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๓๒, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๘๑๖, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๒๖