พระยาราชวังสัน (หวัง)
พระยาราชวังสัน (หวัง) | |
---|---|
เจ้าเมืองชลบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2310 – ไม่ปรากฏ | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
ก่อนหน้า | ไม่ปรากฏ |
ถัดไป | ไม่ปรากฏ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่สมรส | คุณหญิงชู |
บุตร | คุณหญิงเพ็ง |
บุพการี |
|
ญาติ | พระยายมราช (พี่ชาย) สมเด็จพระศรีสุลาลัย (หลานสาว) |
พระยาราชวังสัน (หวัง) เป็นมุสลิม เมื่อครั้งเป็นพระยาชลบุรี (หวัง) รบกับพม่าร่วมกับพระยายมราช (หมัด) พี่ชาย และเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้ยกทัพไปตีพม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๘ โดยให้ตั้งค่ายรับพม่าอยู่ที่ปากน้ำพิง
"…ครั้นเพลาค่ำ พม่ามาตั้งค่ายประชิดลงหน้าวัดจุฬามณีฟากตะวันตก ๓ ค่าย จึ่งให้พระยารัตนพิมล พระยาธรรมไตรโลก พระยาชลบุรีอยู่รักษาค่ายปากน้ำพิง.."[1]
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าธนบุรี ทรงแต่งตั้งหลวงนายศักดิ์ ผู้บิดาเป็นเจ้าพระยาจักรี และยังทรงแต่งตั้ง ท่านหมัดผู้บุตรให้เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ และให้ท่านหวังเป็นพระยาชลบุรี ในขณะเดียวกันโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพร้อมกับเลื่อนพระยาอภัยรณฤทธิ์(ทองด้วง)เป็นพระยายมราช
ในคราวที่ยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ บุตรชายเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ชื่อ ลักษมณาถูกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชจับตัวไปได้ เจ้าพระยาจักรีจึงถอยทัพกลับมาที่เมืองไชยา พระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ได้บอกเข้ามาให้กราบทูลว่าเจ้าพระยาจักรีเป็นกบฏ มิเต็มใจทำสงคราม ถึงแม้จะขัดแย้งกันถึงขนาดถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็มิได้ทรงไต่สวนหาความผิดอันใด ด้วยมีความไว้วางพระราชหฤทัยในตัวเจ้าพระยาจักรีและบุตรทั้งสองยิ่ง
แต่ในปลายรัชกาลประมาณปี พ.ศ. ๒๓๒๒ ปรากฏว่า ท่านหมัด ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นพระยายมราช ต้องราชอาญาถึงประหารชีวิตโดยปราศจากการสอบสวนความผิด พร้อมกับการปราบกบฏมหาดา น้องชายคือพระยาชลบุรีจึงเอาใจออกห่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และหันมาฝากเนื้อฝากตัวกับเจ้าพระยาจักรี ครั้นผลัดแผ่นดินแล้ว พระยาชลบุรีก็ไม่ถูกเปลี่ยนตัว ทั้ง ๆ ที่หัวเมืองขึ้นมหาดไทยและกรมท่าถูกถอดออกหลายคนด้วยกัน และในเวลาต่อมาพระยาชลบุรีก็ได้เป็นพระยาราชวังสัน
ท่านหมัดในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ครั้งยังเป็นพระยาชลบุรีอยู่เป็นผู้นำองเชียงสือเจ้าเมืองญวนซึ่งถูกกบฏไกเซินล้มล้างราชบัลลังก์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยองเชียงสือขอเป็นบุตรบุญธรรมพระยาชลบุรี องเชียงสือได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาททั้งในราชการสงครามและได้นำเอาประเพณีการแสดงต่าง ๆ ของญวนมาเผยแพร่ จนเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๔ องเชียงสือสามารถปราบกบฏไกเซินได้ด้วยความช่วยเหลือด้านอาวุธจากฝรั่งเศส จึงตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้าเวียดนามยาลอง" ส่งต้นไม้ทองเงินมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ โปรดให้พระยาราชวังสัน (หวัง) ร่วมไปกับคณะทูตเดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเวียดนามยาลอง ที่ประเทศเวียดนาม เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างไทยกับเวียดนาม อันเกิดจากพระยาเชียงเงินไปต้อนครอบครัวญวนเข้ามา การไปครั้งนั้นทั้งราชทูตและพนักงานเสียชีวิตเพราะไข้ป่าไปถึง ๒๓ คน เหลือพระยาราชวังสันกับขุนนางและไพร่รวม ๗๘ คน เมื่อไปถึงพระเจ้าเวียดนามยาลองต้อนรับคณะทูตอย่างดี เนื่องจากเคยขอเป็นบุตรบุญธรรมกับพระยาราชวังสันเมื่อครั้งเป็นพระยาชลบุรี และพระยาราชวังสันนี้เองที่เป็นผู้นำเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร การทูตครั้งนั้นจึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระเจ้าเวียดนามยาลอง ยังเป็นมิตรที่ดีกับประเทศไทยเช่นเดิม
พระยาราชวังสัน (หวัง) ได้สมรสกับท่านชูท่านเป็นสตรีชาวสวนวัดหนัง มีบุตรธิดาหลายคน หนึ่งในธิดาของท่านคือ พระชนนีเพ็ง ต่อมาพระชนนีเพ็ง สมรสกับพระยานนทบุรี (พระชนกจัน) มีธิดา ๑ คน คือ เจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งเป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าจอมมารดาเรียมเป็นพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมมารดาเรียมในรัชกาลที่ ๒ ขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของพระยาราชวังสัน (หวัง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน หน้า ๗๑๓