พ.ศ. 2461
หน้าตา
พุทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน
(หากเป็นการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2461 เริ่มในวันที่ 1 เมษายน)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482)
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
[แก้]- 5 มีนาคม - สหภาพโซเวียต ย้ายเมืองหลวงจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปยังมอสโก
- 31 มีนาคม - สหรัฐเริ่มใช้เวลาออมแสงเป็นครั้งแรก
- 5 เมษายน - สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงซาโลเต มาฟิเล โอ ปิโลเลวู ตูโปอู เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรตองงา ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกแห่งตองงา ทรงพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3 แห่งตองงา
- 5 เมษายน - พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน (ถึงแก่พิราลัย)
- 15 พฤษภาคม - สงครามกลางเมืองในฟินแลนด์ยุติ
- 28 พฤษภาคม - วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน
- 25 สิงหาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ) อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
- 19 ตุลาคม - ก่อตั้ง สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI)
- 11 พฤศจิกายน - สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังการยอมแพ้ของเยอรมนี
- 11 พฤศจิกายน - วันประกาศเอกราชของโปแลนด์
- 18 พฤศจิกายน - วันประกาศเอกราชของลัตเวีย
- 1 ธันวาคม - ไอซ์แลนด์ได้รับเอกราชจากเดนมาร์ก
เหตุการณ์ที่ไม่กำหนดวัน
[แก้]- เริ่มสร้างพระธาตุเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
วันเกิด
[แก้]- 23 มกราคม - ครูบาคำหล้า สังวโร - พระมหาเถระแห่งล้านนา (มรณภาพ 8 มกราคม พ.ศ. 2533)
- 22 กุมภาพันธ์ - โรเบิร์ต แวดโลว์ ชายที่สูงที่สุดในโลก (ถึงแก่กรรม 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2483)
- 6 เมษายน - หลวงพ่อทอง สีลสุววฺณโณ (มรณภาพ 26 เมษายน พ.ศ. 2554)
- 8 เมษายน - เบ็ตตี ฟอร์ด อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา ภรรยาของอดีตประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด (อสัญกรรม 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
- 11 พฤษภาคม – ริชาร์ด ไฟน์แมน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2531)
- 17 มิถุนายน - พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ผู้ก่อตั้งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (มรณภาพ 16 มกราคม พ.ศ. 2535)
- 11 กรกฎาคม - พิม ลีเออร์ พระราชอนุชาต่างพระราชมารดาใน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (เสียชีวิต 9 เมษายน พ.ศ. 2558)
- 14 กรกฎาคม - สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน (สวรรคต 26 มิถุนายน 2545)
- 12 กรกฎาคม - ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (ถึงแก่กรรม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557)
- 18 กรกฎาคม - เนลสัน แมนเดลา นักปฏิวัติและประธานาธิบดีแอฟริกาใต้
- 4 กันยายน - ไพบูลย์ บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกทุ่งชาวไทย
- 15 กันยายน - อัศนี พลจันทร กวี (ถึงแก่กรรม 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 6 กุมภาพันธ์ - กุสตาฟ คลิมต์ จิตรกรชาวออสเตรีย (เกิด พ.ศ. 2405)
- 25 มีนาคม - โคล้ด เดบุซซี่ คีตกวีชาวฝรั่งเศส (เกิด พ.ศ. 2405)
- 5 เมษายน - พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (ประสูติ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374)
- 9 พฤศจิกายน - กีโยม อาโปลีแนร์ กวี/นักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศส (เกิด พ.ศ. 2423)
- 17 กรกฎาคม - พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (พระราชสมภพ พ.ศ. 2411) และพระราชวงศ์(ถูกประหารชีวิต)
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – ฟริตซ์ ฮาเบอร์
- สาขาวรรณกรรม – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาสันติภาพ – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาฟิสิกส์ – มักซ์ พลังค์
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ไม่มีการมอบรางวัล