รัตนตรัย
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
พระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน[1] ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ หรือเรียกว่า พุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ซึ่งได้แก่
- พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย, วาจา และใจ ตามพระธรรมวินัย
- พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
- พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
ไตรสรณคมน์
[แก้]ไตรสรณคมน์ แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ได้แก่การเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งพิงที่ระลึกว่า
พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ธมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
สงฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ....
ตติยมฺปิ....
ไตรสรณคมน์เป็นการน้อมกาย, วาจา, ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตน เพื่อแสดงว่าตนมีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกนึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไป และแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา
คำเรียกในภาษาต่าง ๆ
[แก้]บาลี | ติรตน (ติรตนํ) (ติ คุณนาม + รตน) ติสรณ |
สันสกฤต | त्रिरत्न (triratna, ตฺริรตฺน), रत्नत्रय (ratna-traya, รตฺนตรฺย) |
ไทย | ไตรรัตน์, รัตนตรัย |
ลาว | ໄຕແກ້ວ (ไตแก้ว) / ໄຕລັດ (ไตลัด) |
สิงหล | තෙරුවන් (teruwan) |
พม่า | ရတနာသုံးပါး (ออกเสียง: [jədənà θóʊ̯ɰ̃ bá]) |
จีน | 三宝, 三寶 (sānbǎo, ซานเป่า) |
เวียดนาม | Tam bảo |
เขมร | ព្រះរតនត្រ័យ (เปรี๊ยะฮ์รัตนะไตฺร) |
เกาหลี | 삼보 (ซัมโบ) |
ญี่ปุ่น | 三宝 (ซัมโบ, ซัมโป) |
มองโกล | ɣurban erdeni |
ทิเบต | དཀོན་མཆོག་གསུམ, (dkon mchog gsum) |
อังกฤษ | Three Jewels, Three Refuges, Three Treasures, Triple Gem |
มราฐี | त्रिरत्न (triratna) |
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด, วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 988