วันพระพิโรธ
หน้าตา
วันพระพิโรธ (ละติน: Dies irae ดีเอสอีเร) เป็นเพลงสวดละตินซึ่งสันนิฐานว่าน่าจะเขียนขึ้นโดยพระชาวอิตาลี ทอมมาโซ เด แกลาโน (Tommaso da Celano) แห่งคณะฟรันซิสกัน ไม่ก็ของลาตีโน มาลาบรังกา ออร์ซีนี (Latino Malabranca Orsini) แห่งคณะดอมินิกัน เพลงสวดนี้น่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเก่ากว่านั้น เพลงสวดกล่าวถึงการพิพากษาครั้งสุดท้าย แตรของอัครทูตสวรรค์กาบรีเอลเบิกวิญญาณที่หน้าบัลลังก์พระเจ้า เพลงสวดนี้ได้ปรากฏเป็นเนื้อร้องในเรควีเอ็มโดยโมซาร์ท
เนื้อความ
[แก้]เนื้อความ 6 บทแรก จากทั้งหมด 19 บท
1 | Dies iræ, dies illa Solvet sæclum in favilla, Teste David cum Sibylla. |
วันพระพิโรธ วันนั้นเถิดหนา ทลายโลกา สู่ธารธุลี ประจักษ์ดั่งดาวิดแลซีบิล |
2 | Quantus tremor est futurus, Quando Judex est venturus, Cuncta stricte discussurus! |
น่าหวาดหวั่นเกรงเหลือคณนา ยามองค์ตุลาการเสด็จถึง สรรพสิ่งถูกสอบมิได้ยกเว้น! |
3 | Tuba mirum spargens sonum, Per sepulchra regionum, Coget omnes ante thronum. |
เสียงแตรดังก้องชวนอัศจรรย์ ผ่านไปยังผืนถิ่นดินทวีป มนุษย์ชุมนุมที่หน้าบัลลังก์ |
4 | Mors stupebit et natura, Cum resurget creatura, Judicanti responsura. |
ดับแลอยู่ต่างพิศวงจับ ยามเหล่าสัตว์โลกฟื้นคืนชีวา รอสดับรับฟังพิพากษา |
5 | Liber scriptus proferetur, In quo totum continetur, Unde mundus judicetur. |
หนังสือตระการถูกนำมา จารึกไว้หนาสรรพทั้งปวง เป็นอันสมควรพิพากษ์แดนดิน |
6 | Judex ergo cum sedebit, Quidquid latet apparebit: Nil inultum remanebit. |
ว่าแล้วตุลาการขึ้นประทับ ความศัพท์เท็จใดจักปรากฏ หมดโทษามิได้ชำระ |