ข้ามไปเนื้อหา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดยโสธร
เขตเลือกตั้งในปัจจุบัน
จำนวนเขต3
คะแนนเสียง89,209 (ไทยสร้างไทย)
83,450 (เพื่อไทย)
40,104 (ภูมิใจไทย)
เขตเลือกตั้งปัจจุบัน
ก่อตั้งพ.ศ. 2518
ที่นั่งเพื่อไทย (1)
ภูมิใจไทย (1)
ว่าง (1)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดูในบทความ

จังหวัดยโสธร มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นยโสธรยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. 2515 ยโสธรยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518) โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นายอุดร ทองน้อย, นายสุทิน ใจจิต และนายประยงค์ มูลสาร

เขตเลือกตั้ง

[แก้]
การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2518 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองยโสธร, อำเภอคำเขื่อนแก้ว, อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเลิงนกทา, อำเภอกุดชุม, อำเภอทรายมูล, อำเภอป่าติ้ว และกิ่งอำเภอไทยเจริญ
4 คน (2 เขต เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอคำเขื่อนแก้ว (เฉพาะตำบลย่อ)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอค้อวัง, อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ยกเว้นตำบลย่อ ตำบลโพนทัน ตำบลดงเจริญ ตำบลทุ่งมน และตำบลเหล่าไฮ)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอป่าติ้ว, อำเภอทรายมูล, อำเภอกุดชุม (ยกเว้นตำบลหนองแหน และตำบลโพนงาม) และอำเภอคำเขื่อนแก้ว (เฉพาะตำบลเหล่าไฮ ตำบลทุ่งมน ตำบลดงเจริญ และตำบลโพนทัน)
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอเลิงนกทา, อำเภอไทยเจริญ และอำเภอกุดชุม (เฉพาะตำบลหนองแหน และตำบลโพนงาม)
4 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองยโสธร, อำเภอคำเขื่อนแก้ว, อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเลิงนกทา, อำเภอกุดชุม, อำเภอทรายมูล, อำเภอป่าติ้ว และอำเภอไทยเจริญ
4 คน (2 เขต เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองยโสธรและอำเภอทรายมูล
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอค้อวัง, อำเภอมหาชนะชัย, อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอกุดชุม, อำเภอไทยเจริญ และอำเภอเลิงนกทา
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองยโสธร, อำเภอทรายมูล, อำเภอป่าติ้ว (เฉพาะตำบลกระจายและตำบลศรีฐาน) และอำเภอคำเขื่อนแก้ว (เฉพาะตำบลทุ่งมน)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอค้อวัง, อำเภอมหาชนะชัย, อำเภอคำเขื่อนแก้ว (ยกเว้นตำบลทุ่งมน), อำเภอป่าติ้ว (ยกเว้นตำบลกระจายและตำบลศรีฐาน) และอำเภอไทยเจริญ (เฉพาะตำบลน้ำคำและตำบลคำไผ่)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอกุดชุม, อำเภอเลิงนกทา และอำเภอไทยเจริญ (ยกเว้นตำบลน้ำคำและตำบลคำไผ่)
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2566

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต

[แก้]

ชุดที่ 11–18; พ.ศ. 2518–2535

[แก้]
      พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
      พรรคเกษตรสังคม
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคธรรมสังคม
      พรรคกิจสังคม
      พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2522)
      พรรคชาติไทย
      พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)
      พรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)
      พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)พรรคเอกภาพ
      พรรคสามัคคีธรรม
      พรรคพลังธรรม
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 11 พ.ศ. 2518 นายอุดร ทองน้อย นายสุทิน ใจจิต นายประยงค์ มูลสาร
ชุดที่ 12 พ.ศ. 2519 สิบตำรวจโท ผอง เดชเสน นายสุทิน ใจจิต นายสุชาติ สกุลบัวพันธ์
ชุดที่ 13 พ.ศ. 2522 นายสำรวย จันทนป นายวิญญู ยุพฤทธิ์ นายสาตร ไกรศรีวรรธนะ
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นายเรืองวิทย์ พันธ์สายเชื้อ นายสุทิน ใจจิต สิบตำรวจโท ผอง เดชเสน
(เสียชีวิต)
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
(แทนสิบตำรวจโท ผอง)
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529 นายวิสันต์ เดชเสน
(ถูกให้ออกจากพรรค)
นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
นายวิสันต์ เดชเสน
(ได้รับเลือกตั้งใหม่)
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายวิสันต์ เดชเสน นายอุดร ทองน้อย นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
ชุดที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร นางอุบล บุญญชโลธร
ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 นายสมบูรณ์ ทองบุราณ นายรัชชัย ศรีลาภ

ชุดที่ 19–20; พ.ศ. 2538–2539

[แก้]
      พรรคชาติไทย
      พรรคความหวังใหม่
เขต ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539
1 นายรณฤทธิชัย คานเขต นายรณฤทธิชัย คานเขต
นายประยุทธ นิจพานิชย์
2 นายสฤษดิ์ ประดับศรี
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข พลอากาศเอก จรูญ วุฒิกาญจน์

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548

[แก้]
      พรรคความหวังใหม่พรรคไทยรักไทย
      พรรคไทยรักไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์
( / เลือกตั้งใหม่)
นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์
2 นายรณฤทธิชัย คานเขต
( / เลือกตั้งใหม่)
นายรณฤทธิชัย คานเขต
3 นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร
( / เลือกตั้งใหม่)
นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร
4 นายวิสันต์ เดชเสน นายวิสันต์ เดชเสน

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550

[แก้]
      พรรคเพื่อแผ่นดิน
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายรณฤทธิชัย คานเขต
นางสาวณิรัฐกานต์ ศรีลาภ
2 นายพิกิฏ ศรีชนะ
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข

ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566

[แก้]
      พรรคเพื่อไทย
      พรรคไทยสร้างไทย → ไม่สังกัดพรรคการเมือง
      พรรคภูมิใจไทย
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นายปิยวัฒน พันธ์สายเชื้อ นายบุญแก้ว สมวงศ์ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562 นายธนกร ไชยกุล
ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566 นางสุภาพร สลับศรี
(สิ้นสภาพเพราะไม่สามารถหาพรรคสังกัดภายใน 30 วัน)
นายธนพัฒน์ ศรีชนะ
ว่าง (แทนนางสุภาพร)

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]