ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

(ยัง เขมาภิรโต)
ส่วนบุคคล
เกิด6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2394 (79 ปี 322 วัน ปี)
มรณภาพ24 กันยายน พ.ศ. 2474
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 8 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2410
อุปสมบทพ.ศ. 2415
พรรษา59
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม ยัง ฉายา เขมาภิรโต เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่ผู้ช่วยคณะธรรมยุติกนิกาย และเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ

ประวัติ

[แก้]

กำเนิด

[แก้]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิม ยัง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2394 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน[1] บิดาเป็นชาวจีนชื่อยี่ มารดาเป็นชาวไทยชื่อขำ[2]เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคลอดท่านแน่นิ่งไปจนมารดาบิดาเข้าใจว่าเสียชีวิต เกือบจะนำลงหม้ออยู่แล้ว ป้าของท่านมาดูเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่จึงร้องขึ้นว่า "ยังไม่ตาย" ท่านจึงได้ชื่อว่ายัง

เมื่อโตขึ้น ท่านเรียนหนังสือกับมารดา จนกระทั่งมารดาเสียชีวิตขณะท่านอายุได้ 11 ปี บิดาส่งท่านขึ้นเรือให้ไปเรียนที่ประเทศจีน แต่ท่านกระโดดหนีลงจากเรือแล้วไปอยู่กับน้าชายชื่อสิงห์โต[3] ปีต่อมาบิดามารับท่านไปเรียนภาษาจีนที่ศาลเจ้าข้างวัดราชผาติการามวรวิหาร พออายุได้ 14 ปี บิดาให้ทำงานเป็นเสมียนกับพระเสนางควิจารณ์ (ยิ้ม) เมื่อายุได้ 15 ปี น้าที่เคยอุปการะท่านได้พาท่านไปเรียนกับพระครูเขมาภิมุข (อิ่ม) ที่วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร ต่อมาย้ายไปศึกษากับพระอริยกระวี (ทิง) สมัยยังเป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ)[1]

อุปสมบทและสอบปริยัติธรรม

[แก้]

ปีเถาะ พ.ศ. 2410 ได้บรรพชาเป็นสามเณร และเข้าสอบพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2413 ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ถึงปีวอก พ.ศ. 2415 ได้อุปสมบทที่วัดโสมนัสวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาต่อแล้วเข้าสอบในปีชวด พ.ศ. 2419 ที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ได้อีก 2 ประโยคเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค และเข้าสอบครั้งสุดท้ายในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ได้อีก 3 ประโยคเป็นเปรียญธรรม 8 ประโยค

ศาสนกิจ

[แก้]

เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเลือกพระมหาเปรียญจากวัดโสมนัสวิหารมาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนั้นมีพระมหาเดช ฐานจาโร กับพระมหายัง เขมาภิรโต ได้ทูลปรึกษาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) ทราบว่าพระมหายังเชี่ยวชาญเทศนาจึงเป็นที่นิยมของคฤหัสถ์ แต่พระมหาเดชเป็นที่รักใคร่นับถือของเพื่อนบรรพชิตมากกว่า ที่สุดทรงตัดสินพระทัยตั้งพระมหาเดชเป็นพระราชาคณะไปครองวัดเทพศิรินทราวาสตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2427[4] พระมหายังจึงอยู่วัดโสมนัสวิหารต่อมา จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหารตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ตราบจนมรณภาพ ในสมัยของท่านวัดโสมนัสวิหารเจริญรุ่งเรืองมากเพราะท่านเชี่ยวชาญในการแสดงธรรมและการปฏิสังขรณ์[5]

ด้านการศึกษา ในวันที่ 8 มกราคม ร.ศ. 114 ท่านได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยฝ่ายบรรพชิต[6] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมในกองเหนือใน ร.ศ. 120[7] ร.ศ. 121[8] ร.ศ. 122[9] เป็นต้น ถึงปี ร.ศ. 129 ท่านจึงได้เป็นแม่กองขวา[10]

ท่านเห็นชอบให้พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) สร้างอาคารเรียนขึ้นในวัดเพื่ออุทิศแก่คุณหญิงพึ่ง อาคารนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "สาลักษณาลัย" ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และมอบให้กระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นสถานศึกษาตั้งแต่วันนั้น[11]

สมณศักดิ์

[แก้]

เกียรติคุณ

[แก้]

ในพระบรมราชโองการประกาศสถาปนาท่านเป็นพระพิมลธรรม ระบุเกียรติคุณของท่านว่า "มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกธรรม แคล่วคล่องในวิธีสังฆกรรมนานาประการ เป็นปริยัตยาจารย์แห่งภิกษุสงฆ์ มีความอุสาหะมั่นคงกล้าหาญในเทศนาสาสโนบาย มีปฏิภาณโวหารหนักในสารานิยธรรมสัมมาปฏิบัติ เจริญกุศลปวัติซ่อมแปลงอาวาสมิได้ย่อหย่อน โดยศีลาจารวัตรก็เป็นที่เลื่อมใสแห่งสัปรุษนิกรเป็นอันมาก"[16]

ในพระบรมราชโองการประกาศสถาปนาท่านเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ระบุว่าท่าน "มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นอาจารย์สั่งสอนพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุสงฆ์สามเณร มีความอุสาหมั่นคงในวัตรปฏิบัติ ทรงคุณธรรมสม่ำเสมอ เป็นผู้รอบรู้ในอรรถธรรม สามารถแผ่สยายข้อความตามเทศโนบาย ให้ชนทั้งหลายผู้ได้สดับฟังแล้ว แลเห็นหนทางธรรมปฏิบัติอันถ่องแท้ เทียบทางโลกกับทางธรรมให้กล้ำกลืนกัน อาจที่จะนำมาใช้ในขณะประกอบกิจการทุก ๆ วันได้ ให้บังเกิดเป็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง เป็นผู้มีวาจาอันน่าฟัง เสียงไพเราะ มีคุณสมบัติอันประเสริฐอยู่หลายอย่างหลายประการเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณายกย่อง ให้ได้รับสมณศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นลำดับจนได้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นเจ้าคณะรอง ปกครองสังฆบริษัทจัดการพระศาสนาให้ดำเนิรมาโดยเรียบร้อย ได้เป็นพระอุปัธยาจารย์ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลุบุตรเป็นอันมาก เป็นที่นับถือแห่งศาสนิกชนทั่วไป ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงนับถือพระพิมลธรรมว่าเป็นอัจฉริยพรหมจรรย์ ทรงนับถือเสมอพระอาจารย์องค์หนึ่ง แลได้ทรงสดับโอวาทตามแต่จะมีโอกาศในการอันควร ประมวลพระราชศรัทธาแลเพิ่มพูลเข้าพระราชหฤทัยในพระธรรมยิ่งขึ้น นับว่าได้ยังประโยชน์ให้บังเกิดแก่พระองค์เป็นอันมาก"[17]

มรณภาพ

[แก้]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เริ่มอาพาธด้วยโรคอัมพาตมาตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2459[5] จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2474 เวลา 20.20 น. สิริอายุได้ 79 ปี 322 วัน ในวันต่อมา เวลา 17.20 น. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จแทนพระองค์ไปสรงน้ำศพ ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองฉัตรเบญจา 1 สำรับ และโปรดให้มีพระสวดอภิธรรมเวลากลางคืนมีกำหนด 15 วัน[20]

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2475 เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลศพ วันต่อมา เวลา 15.00 น. พนักงานเชิญโกศศพขึ้นรถจตุรมุข ไปสมทบกับขบวนศพพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) เข้าประตูสุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส เวียนศพรอบเมรุแล้วยกขึ้นตั้งบนเชิงตะกอน ถึงเวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพแล้วเสด็จกลับ วันที่ 6 เมษายน เวลา 7:00 น. เจ้าภาพเก็บอัฐิ[21]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 218
  2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, หน้า 37
  3. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, หน้า 38
  4. "วัดเทพศิรินทราวาส ยุคที่ 2 พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นเจ้าอาวาส". สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 ความรู้เรื่องวัดโสมนัสวิหารในแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรทราบ, หน้า 47
  6. "พระราชทานตราตั้งกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (41): 385. 12 มกราคม ร.ศ. 114. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "การสอบไล่พระปริยัติธรรม ศก ๑๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (47): 897. 23 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "การสอบไล่พระปริยัติธรรม ศก ๑๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (50): 969. 1 มีนาคม ร.ศ. 121. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "การสอบไล่พระปริยัติธรรม ศก ๑๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (46): 791. 14 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง รายงานการสอบไล่พระปริยัติธรรม ศก ๑๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 520. 11 มิถุนายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมศึกษาธิการ เรื่อง สร้างตึกสาลักษณาลัย โรงเรียนวัดโสมนัส, เล่ม 34, ตอน 0 ง, 24 มีนาคม 2460, หน้า 3768-9
  12. ราชกิจจานุเบกษา, สำเนาสัญญาบัตรพระสงฆ์ ปีรกาสัปตศก, เล่ม 3, ตอน 52, 1 กุมภาพันธ์ จ.ศ. 1247, หน้า 313
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 8, ตอน 52, 27 มีนาคม ร.ศ. 110, หน้า 467
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 11, ตอน 39, 23 ธันวาคม ร.ศ. 113, หน้า 313
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 15, ตอน 34, 29 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 352
  16. 16.0 16.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระสงฆ์, เล่ม 17, ตอน 50, 10 มีนาคม ร.ศ. 119, หน้า 729-730
  17. 17.0 17.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะและราชาคณะ, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 29 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2632-2635
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเจ้าคณะและรองเจ้าคณะสงฆ์, เล่ม 30, ตอน ก, 25 มกราคม 2456, หน้า 397-398
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ ย้ายตำแหน่งเจ้าคณะ, เล่ม 32, ตอน 0 ง, 19 มีนาคม 2458, หน้า 3170
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวถึงมรณภาพ, เล่ม 48, ตอน ง, 4 ตุลาคม 2474, หน้า 2354-2355
  21. "หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๔๗๕ พระราชทานเพลิงศพ พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ และ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ง): 4285–6. 12 มีนาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • ประวัติคณะธรรมยุต. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2547. 219 หน้า. ISBN 974-399-612-5
  • พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณโณ). ความรู้เรื่องวัดโสมนัสวิหารในแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรทราบ. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557. 223 หน้า.
  • วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์. กรุงเทพฯ : พิมพ์อักษร, 2544. 37-45 หน้า. [งานพระราชทานเพิงศพ สมเด็จพระมหาวีวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544]
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 218-222. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) ถัดไป
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ)
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
(พ.ศ. 2456-2471)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
พระพิมลธรรม (ฑิต อุทโย)
เจ้าคณะรองฝ่ายเหนือ
ที่ พระพิมลธรรม

(พ.ศ. 2443-2453)
พระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท)
พระราชพงษ์ปฏิพัทธ (หม่อมราชวงศ์ล้น ญาณวโร)
เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
(26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 – 24 กันยายน พ.ศ. 2474)
พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต)