ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี
ฉายาอัศวินดาบม้า
นักรบกรุงธน
ก่อตั้งพ.ศ. 2553
สนามสนามกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตศาลายา
ความจุ2,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี จำกัด
ประธานไทย วีระชาติ สถิตไตรภพ
ผู้จัดการไทย เรวัต บริภารัตน์
ผู้ฝึกสอนไทย กล้าศักดิ์ สกุลจริยะเลิศ
ลีก-
2560อันดับ 15, ไทยลีก 3 ตอนล่าง
(ตกชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันไม่ได้ส่งทีมลงแข่งขัน

สโมสรเคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศในการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2554 ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งในระดับอาชีพ ก่อนจะได้อันดับ 2 ใน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โซนภาคตะวันตก ฤดูกาล 2559 ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งในระดับไทยลีก 3

ฤดูกาล 2560 สโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 15 ในไทยลีก 3 ตอนล่าง ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย ทำให้ต้องตกชั้นไปแข่งในไทยลีก 4 โดยหลังจากตกชั้นสโมสรไม่ผ่าน Club Lincensing ทำให้ไม่สามารถลงแข่งขันได้ในฤดูกาลต่อมา

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี ก่อตั้งขึ้นในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยนายวีระชาติ สถิตไตรภพ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อดำเนินกิจการทางฟุตบอลในเชิงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ บริษัทสโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี จำกัด

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. (พ.ศ. 2553-2554)

[แก้]

บริษัทสโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี จำกัดได้เข้าถือครองกิจการของ สมาคมกีฬาคริสเตียนไทย ที่ลงแข่งขันฟุตบอลในระดับฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปลายปี พ.ศ. 2553 และได้สิทธิลงแข่งขันฟุตบอลในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2553

สโมสรลงแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ข. นัดที่เอาชนะสโมสรฟุตบอลอัสสัมชัญ ธนบุรี 2–1 ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา [1] โดย ศิลา ทิมแตง เป็นผู้เล่นที่ยิงประตูแรกให้กับสโมสรในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ

ในการแข่งขันฤดูกาลแรก สโมสรเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายแพ้ให้กับสมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก ซึ่งเป็นทีมที่สามารถคว้าแชมป์ไปได้ในท้ายที่สุด

สโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรีได้ส่งทีมเข้าร่วม "การแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข ประจำปี พ.ศ. 2554" อีกครั้ง

และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน ทีมสโมสรฟุตบอลกรุงธนบุรี ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ จึงทำให้มีสิทธิ์เข้าร่วม การแข่งขันใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กรุงเทพและปริมณฑล 2555

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล ฟุตบอลลีก ไทยเอฟเอคัพ ไทยลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ เสียประตู คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2553 ถ้วย ข. 5 2 2 1 7 5 - รอบก่อนรองชนะเลิศ - - อนุชา สุนประโคน 4
2554 ถ้วย ข. 6 4 1 1 18 5 - รองชนะเลิศ - - อนุชา สุนประโคน 9
2555 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
(กรุงเทพและปริมณฑล)
34 11 7 16 40 46 40 อันดับที่ 12 รอบ 2 รอบคัดเลือก
รอบแรก
อนุชา สุนประโคน 10
2556 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
(ภาคกลางและตะวันตก)
24 5 8 11 28 35 23 อันดับ 11 รอบคัดเลือก
รอบสอง
รอบแรก
(64 ทีมสุดท้าย)
อนุชา สุนประโคน 6
2557 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
(ภาคตะวันตก)
26 9 6 11 20 22 33 อันดับ 9 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือก อนุชา สุนประโคน 6
2558 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
(ภาคกลางและตะวันตก)
24 12 6 6 25 15 42 อันดับ 4 รอบแรก เพลย์ออฟ
รอบสอง
Bouare Dedi Ali 7
2559 ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
(ภาคตะวันตก)
22 12 5 5 39 20 41 รองชนะเลิศ รอบ 3
(32 ทีม สุดท้าย)
64 ทีมสุดท้าย Opara Kingsle

จตุชัย ทองบุตร

11

(10 + 1 จุดโทษ)

2560 ไทยลีก 3
(ตอนล่าง)
28 5 6 17 43 66 21 อันดับ 15 รอบแรก รอบคัดเลือก
รอบสอง
Lee Min Kyu 4
แชมป์ รองแชมป์ เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติสโมสร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]