ข้ามไปเนื้อหา

หนานจิง

พิกัด: 32°03′41″N 118°45′49″E / 32.0614°N 118.7636°E / 32.0614; 118.7636
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนานจิง

南京市

นานกิง
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: 1. วิวทิวทัศน์นครหนานจิง ทะเลสาบซวนอู๋และภูเขาม่วง; 2. ประติมากรรมหินของสุสานราชวงศ์ใต้ "ปี่เซียะ"; 3. วิหารจีหมิง; 4. ประตูยี่เจียงส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองโบราณหนานจิง; 5. แม่น้ำฉินหฺวายและฟูจื่อเมี่ยว; 6. ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหนานจิง; 7. สุสานหลวงหมิงเซี่ยว; 8. อนุสรณ์สถานดร.ซุน ยัตเซ็น
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: 1. วิวทิวทัศน์นครหนานจิง ทะเลสาบซวนอู๋และภูเขาม่วง; 2. ประติมากรรมหินของสุสานราชวงศ์ใต้ "ปี่เซียะ"; 3. วิหารจีหมิง; 4. ประตูยี่เจียงส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองโบราณหนานจิง; 5. แม่น้ำฉินหฺวายและฟูจื่อเมี่ยว; 6. ศูนย์กีฬาโอลิมปิกหนานจิง; 7. สุสานหลวงหมิงเซี่ยว; 8. อนุสรณ์สถานดร.ซุน ยัตเซ็น
แผนที่
ที่ตั้งของนครหนานจิงในมณฑลเจียงซู
ที่ตั้งของนครหนานจิงในมณฑลเจียงซู
หนานจิงตั้งอยู่ในประเทศจีน
หนานจิง
หนานจิง
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด: 32°03′41″N 118°45′49″E / 32.0614°N 118.7636°E / 32.0614; 118.7636
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลเจียงซู
ระดับอำเภอ11
ระดับตำบล129
ตั้งถิ่นฐานunknown (Yecheng, 495 BCE. Jinling City, 333 BCE)
การปกครอง
 • ประเภทนครกึ่งมณฑล
 • เลขาธิการพรรคจาง จิ้งหฺวา (张敬华)
 • นายกเทศมนตรีหาน ลี่หมิง (韩立明)
พื้นที่[1]
 • ทั้งจังหวัด6,587 ตร.กม. (2,543 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,398.69 ตร.กม. (540.04 ตร.ไมล์)
ความสูง20 เมตร (50 ฟุต)
ประชากร
 (2019)
 • ทั้งจังหวัด8,505,500 คน
 • ความหนาแน่น1,237 คน/ตร.กม. (3,183 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง  (ค.ศ. 2018)[2]6,525,000 คน
 • รวมปริมณฑล[3]11.7 ล้าน คน
เขตเวลาUTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์210000–211300
รหัสพื้นที่25
รหัส ISO 3166CN-JS-01
GDP (Nominal)ค.ศ. 2018
 • ทั้งหมด191.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
 • ต่อหัว23,104 ดอลลาร์สหรัฐ
 • ความเติบโตเพิ่มขึ้น 9.43%
GDP (PPP)ค.ศ. 2017
 • ทั้งหมด334.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
 • ต่อหัว40,084 ดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีการพัฒนามนุษย์0.859 (สูงมาก)
ป้ายทะเบียนรถ苏A
ต้นไม้ประจำเมืองCedrus deodara,
Platanus × acerifolia[4]
ดอกไม้ประจำเมืองMéi (Prunus mume)
เว็บไซต์www.nanjing.gov.cn
หนานจิง
"หนานจิง" เขียนในตัวอักษรจีน
ภาษาจีน南京
ไปรษณีย์Nanking
ความหมายตามตัวอักษร"ราชธานีทิศใต้"

หนานจิง (จีน: 南京; พินอิน: Nánjīng, เสียงอ่านภาษาจีนกลาง: [nǎn.tɕíŋ] ( ฟังเสียง)) หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง (Nanking[5]) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน หนานจิงยังเป็นนครใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของประเทศจีน รองจากช่างไห่ นครหนานจิงมีพื้นที่การปกครอง 6,600 ตารางกิโลเมตร (2,500 ตารางไมล์) และประชากรทั้งหมด 8,270,500 คนในปี ค.ศ. 2016[6] พื้นที่ด้านในของนครหนานจิงล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองโบราณคือ เขตนครหนานจิงเก่า (南京城) มีพื้นที่ 55 ตารางกิโลเมตร (21 ตารางไมล์) ในขณะที่เขตนครหนานจิงชั้นนอกรวมถึงนครและพื้นที่โดยรอบครอบคลุมกว่า 60,000 ตารางกิโลเมตร (23,000 ตารางไมล์) จัดเป็นเขตนครหนานจิงใหม่ มีประชากรกว่า 30 ล้านคน

นครหนานจิงตั้งอยู่ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี มีสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน โดยเป็นนครที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของราชวงศ์จีนสมัยอาณาจักร ตลอดจนถึงสมัยรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชุดต่าง ๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ถึง ค.ศ. 1949[7] และเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมที่สำคัญ การศึกษา การวิจัย การเมือง เศรษฐกิจ เครือข่ายการขนส่ง และการท่องเที่ยว หนานจิงยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นครนี้ยังเป็นหนึ่งในสิบห้านครย่อยในโครงสร้างการบริหารของเขตปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีน[8]

หนานจิงซึ่งเป็นหนึ่งในนครที่สำคัญที่สุดของประเทศมานานกว่าพันปี ในอดีตนั้นหนานจิงจัดเป็นหนึ่งในสี่เมืองหลวงโบราณที่ยิ่งใหญ่ของจีน เป็นหนึ่งในนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพลิดเพลินไปกับความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองแม้จะมีสงครามและภัยพิบัติ[9][10][11][12] หนานจิงทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของง่อก๊ก (229–280) หนึ่งในสามรัฐสำคัญในยุคสามก๊ก เคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จิ้นและแต่ละราชวงศ์ในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (ได้แก่ หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน) ซึ่งปกครองจีนตอนใต้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 317–589; ในสมัยราชวงศ์ถังใต้ (937–75), หนึ่งในสิบอาณาจักร ตลอดจนในสมัยราชวงศ์หมิง เมื่อครั้งแรกที่ประเทศจีนทั้งหมดถูกปกครองจากนครหนานจิงเป็นศูนย์กลาง (1368–1421)[13] หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และไคเฟิง

จนสมัยการปฏิวัติซินไฮ่ล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิงจึงเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีน เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี ค.ศ. 1927 ถึง ค.ศ. 1949 ภายใต้การบริหารของพรรคก๊กมินตั๋งมีรัฐบาลคือรัฐบาลชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีน (จีนคณะชาติ) ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ จอมทัพเจียงไคเช็ค ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองที่เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นครหนานจิงได้รับความโหดร้ายอย่างรุนแรงในความขัดแย้งของสงครามและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ การสังหารหมู่นานกิง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง หนานจิงยังคงเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลคณะชาติต่อไป ก่อนที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนจะลี้ภัยหนีไปเกาะไต้หวันในช่วงสงครามกลางเมืองจีน[14] เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนชนะสงครามกลางเมืองได้สถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม

บรรพบุรุษชาวหนานจิงจำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในนครที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน

ชื่อ

[แก้]

นครนี้มีชื่ออื่นอีกหลายชื่อ และชื่อโบราณบางชื่อปัจจุบันใช้เป็นชื่อเขตต่าง ๆ ในนครนี้ ในบรรดาชื่อเหล่านี้มีชื่อ เจียงหนิง (江寧) อยู่ด้วย อักษร "เจียง" (江) นี้หมายถึง "ฉางเจียง" ("แม่น้ำยาว") เป็นอักษรเดียวกับในพยางค์ต้นของชื่อ "เจียงซู" (江蘇/江苏) ส่วนอักษร "หนิง" (寧) แปลว่า "สันติ" ย่อมาจากคำว่า "นานจิง" เอง ต่อมาเมื่อนครนี้ได้เป็นเมืองหลวงของรัฐ เช่น ในช่วงสาธารณรัฐจีน ก็ใช้อักษร "จิง" (京) ที่แปลว่า "เมืองหลวง" เป็นคำย่อชื่อ "นานจิง" แทน

นครนี้ได้เป็นเมืองหลวงแห่งชาติจีนครั้งแรกสุดเก่าแก่ถึงสมัยราชวงศ์จิ้น แต่ชื่อ หนานจิง ซึ่งหมายถึง เมืองหลวงทางใต้ ("หนาน" แปลว่า ใต้ และ "จิง" แปลว่า เมืองหลวง) ได้รับการกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการสำหรับนครนี้ในช่วงราชวงศ์หมิง ราว 600 หลังราชวงศ์จิ้น

หนานจิงยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่อ จินหลิง (金陵; "ภูเขาทอง") ชื่อเก่านี้ใช้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวแห่งยุครณรัฐ

ประวัติ

[แก้]
ความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ (ตั้งแต่ราชวงศ์ถังใต้)

เขตการปกครอง

[แก้]

หนานจิงประกอบด้วยเขต 11 แห่ง (เขตใจกลางเมือง 6 แห่ง และเขตชานเมืองอีก 5 แห่ง).

แผนที่
เขตปกครองย่อย อักษรจีน พินอิน ประชากร พื้นที่ (km2) ความหนาแน่น
เขตในเมือง
เขตเหียนอู่ 玄武區・玄武区 ㄒㄩㄢˊ ㄨˇ ㄑㄩ・Xuanwu
เขตฉินห้วย 秦淮區・秦淮区 ㄑㄧㄣˊ ㄏㄨㄞˊ ㄑㄩ・Qinhuai
เขตเจี้ยนเย่ 建鄴區・建邺区 ㄐㄧㄢˋ ㄧㄝˋ ㄑㄩ・Jianye
เขตกู่โหลว 鼓樓區・鼓楼区 ㄍㄨˇ ㄌㄡˊ ㄑㄩ・Gulou
เขตฉีเสีย 棲霞區・栖霞区 ㄒㄧ ㄒㄧㄚˊ ㄑㄩ・Xixia
เขตยู่ฮ่วยไต้ 雨花臺區・雨花台区 ㄩˇ ㄏㄨㄚ ㄊㄞˊ ㄑㄩ・Yuhuatai
เขตชานเมือง
เขตเจียงหนิง 江寧區・江宁区 ㄑㄩ・Jiangning
เขตลี่สุ่ย 溧水區・溧水区 ㄑㄩ・Lishui
เขตปู่โข่ว 浦口區・浦口区 ㄑㄩ・Pukou
เขตเกาฉุน 高淳區・高淳区 ㄑㄩ・Gaochun
เขตลิ่วเหอ 六合區・六合区 ㄑㄩ・ Luhe

การจราจร

[แก้]

รถไฟใต้ดินหนานจิง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Doing Business in China – Survey" 2016年末南京市人口状况报告年末南京市人口状况综述 (ภาษาจีนตัวย่อ). Nanjing Bureau of Statistics. 2017-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-06.
  2. Cox, W (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  3. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. 18 เมษายน 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร 2017-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "A Grass Roots Fight to Save a 'Super Tree'". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 2013-12-10.
  5. "Romanization of the Chinese Language". Society for Anglo-Chinese Understanding. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-07-12.
  6. "Archived copy" 2016年末南京市人口状况报告年末南京市人口状况综述 (ภาษาจีนตัวย่อ). Nanjing Bureau of Statistics. 2017-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-06.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. "Archived copy" 南京历史沿革 (ภาษาจีนตัวย่อ). Government of Nanjing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-09.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  8. 薛宏莉 (2008-05-07). 15个副省级城市中 哈尔滨市房价涨幅排列第五名 [Prices rose in 15 sub-provincial cities, Harbin ranked fifth]. 哈尔滨地产 (ภาษาจีนตัวย่อ). Sohu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-10. สืบค้นเมื่อ 2008-06-11.
  9. 走马南京都市圈 (ภาษาจีนตัวย่อ). 中国经济快讯周刊/人民网. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03.
  10. 南京介绍 (ภาษาจีนตัวย่อ). Xinhua News. 2012-10-09.
  11. 江苏省行政区划介绍 (ภาษาจีนตัวย่อ). Government of Jiangsu Official Website (江苏省政府官网). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04.
  12. Rita Yi Man Li, "A Study on the Impact of Culture, Economic, History and Legal Systems Which Affect the Provisions of Fittings by Residential Developers in Boston, Hong Kong and Nanjing", เก็บถาวร 2014-05-10 ที่ archive.today Global Business and Management Research: An International Journal. 1:3–4. 2009. Access via Questia, an online subscription service.
  13. Crespigny 2004, 3 แม่แบบ:Citation not found
  14. "Archived copy" 南京市. 重編囯語辭典修訂本 (ภาษาจีนตัวเต็ม). Ministry of Education, ROC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-21. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |archive- url= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) |quote=民國十六年,國民政府宣言定為首都,今以臺北市為我國中央政府所在地。 (In the 16th Year of the Republic of China [1927], the National Government established [Nanking] as the capital. At present, Taipei is the seat of the central government.)}}