อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร
อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 16 กันยายน พ.ศ. 2541 (23 ปี 174 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 (0 ปี 287 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | กมล วรรณประภา |
ถัดไป | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2445 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 กันยายน พ.ศ. 2541 (96 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิง เนื่องสนิท สิทธิสุนทร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กรมตำรวจ |
ประจำการ | 2496 - 2541 |
ยศ | พลตำรวจตรี |
พลตำรวจตรี[1] อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร หรือเดิม หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (ผวน ทองสยาม) (26 มิถุนายน 2445 - 16 กันยายน 2541) เป็นอัยการ ข้าราชการพลเรือนและนายตำรวจชาวไทย อดีตองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีหลายกรม เช่น กรมศุลกากร และ กรมราชทัณฑ์ เป็นผู้ว่าราชการหลายจังหวัด เช่น จันทบุรี, เพชรบุรี, สุพรรณบุรี, และอุบลราชธานี
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร นามเดิม ผวน ทองสยาม เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2445 เป็นบุตรของนายทองและนางเปลี่ยน ทองสยาม
การศึกษา
[แก้]จบการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม
บรรดาศักดิ์
[แก้]ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ต่อมายกเลิกบรรดาศักดิ์ในปี 2485 หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทรลาออกจากบรรดาศักดิ์และใช้ราชทินนามเป็นชื่อและนามสกุล
ประวัติรับราชการ
[แก้]พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร รับราชการในตำแหน่งอัยการ ที่ กรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นโอนจากอัยการเป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทย อาทิเช่น ผู้ว่าราชการ จังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. 2484-2485) [2] จังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ. 2485-2487) จังหวัดยะลา (พ.ศ. 2487) [3] จังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2487-2488) [4] จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2490-2492) อธิบดีกรมศุลกากร [5] อธิบดีกรมราชทัณฑ์
- 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 - ข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทยภาค 1[6]
ตำแหน่งทางการเมือง
[แก้]พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์[7] ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2517 - มีนาคม พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีอีกสมัยในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช [8] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[9]
ตำแหน่งพิเศษ
[แก้]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518[10]ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2541 [11]
ฉายา
[แก้]พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ ได้รับฉายาว่า "คุณหลวงไม้บรรทัด" [12] จากชื่อเสียงในการเป็นผู้มีคุณธรรมและซื่อตรง จนเป็นที่ยอมรับ ท่านเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า "ผู้สูงอายุ" เมื่อ พ.ศ. 2512 [13]
ด้านครอบครัว
[แก้]ด้านครอบครัวสมรสกับท่านผู้หญิงเนื่องสนิท สิทธิสุนทร มีบุตร-ธิดา 3 คน มีหญิง 2 คน ชาย 1 คน
อสัญกรรม
[แก้]พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2541 สิริอายุ 96 ปี 82 วัน ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มกราคม ปี พ.ศ. 2542 เวลา 17 นาฬิกา 35 นาที พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส (ในราชกิจจานุเบกษาได้เขียนว่ามียศเป็น พลตำรวจเอก)[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2501 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[18]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[19]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[20]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-13. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-26. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-23. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- ↑ ผู้ว่า-ผู้ถูกว่า, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 8 ธันวาคม 2545[ลิงก์เสีย]
- ↑ มารู้จักผู้สูงอายุกันเถอะ [ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๑๘๗)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๒๐๑, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๑๖๘, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๑๙, ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2445
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- ตำรวจชาวไทย
- องคมนตรี
- บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.5
- ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- อธิบดีกรมศุลกากร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์