ข้ามไปเนื้อหา

อักษรครี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จารึกภาษาครีเขียนด้วยอักษรครีจารึกนี้ถอดเป็นอักษรโรมันได้ว่า
Êwako oma asiniwi mênikan kiminawak
ininiwak manitopa kaayacik. Êwakwanik oki
kanocihtacik asiniwiatoskiininiw kakiminihcik
omêniw. Akwani mitahtomitanaw askiy asay
êatoskêcik ota manitopa.

อักษรครี (Cree syllabary )ประดิษฐ์โดย เจมส์ อีวาน มิชชันนารีที่ทำงานที่ “บ้านนอร์เวย์” ในอ่าวฮัดสัน เขาประดิษฐ์อักษรสำหรับภาษาโอจิบเวขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2383 เขาพยายามใช้ระบบการออกเสียงของอักษรโรมันเป็นพื้นฐาน แต่ที่ได้ผลคืออักษรพยางค์ ที่บางส่วนอาศัยพื้นฐานจากชวเลข อักษรโอจิบเวประกอบด้วยสัญลักษณ์ 9 ตัว แต่ละตัวเขียนได้ 4 ทิศทาง เพื่อแสดงเสียงสระที่ต่างออกไป ซึ่งเพียงพอสำหรับภาษาโอจิบเว

อีก 20 ปี ต่อมา อีวานส์เรียนภาษาครี และพยายามหาทางเขียนภาษานั้น เขาทดลองใช้อักษรโรมันแต่ไม่สำเร็จ จึงนำอักษรโอจิบเวมาปรับปรุง และประสบความสำเร็จอย่างมากในหมู่ชาวครี จนอีวานส์ได้รับสมญาว่า “ชายผู้ทำให้เปลือกของต้น birch ได้”

ลักษณะ

[แก้]

อักษรครีประกอบด้วย เครื่องหมาย 12 ตัว แต่ละตัวเขียนได้ 4 ทิศทาง เพื่อแสดงเสียงสระ ในบางสำเนียงที่มีเสียงสระ 7 เสียง จะเพิ่มเครื่องหมายแสดงเสียงสระ

ใช้เขียน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]