อาการเพ้อ
อาการเพ้อ Delirium | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F05 |
ICD-9 | 780.09 |
DiseasesDB | 29284 |
MedlinePlus | 000740 |
eMedicine | med/3006 |
MeSH | D003693 |
อาการเพ้อ (อังกฤษ: delirium) หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute confusional state) เป็นการเสื่อมจากระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้เดิมที่เคยมีอันมีสาเหตุจากพยาธิสภาพทางกาย ตรงแบบเป็นขึ้น ๆ ลง ๆ ขาดความใส่ใจและความไม่สมประกอบของพฤติกรรมอย่างรุนแรงทั่วไป ตรงแบบเกี่ยวข้องกับการขาดการรู้อย่างอื่น สภาวะตื่นตัวเปลี่ยนแปลง (ตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม) การขาดการรับรู้ วงจรหลับ-ตื่นเปลี่ยนแปลงและลักษณะโรคจิตอย่างประสาทหลอนและอาการหลงผิด
อาการเพ้อเองมิใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการทางคลินิก ซึ่งมีสาเหตุจากโรคพื้นเดิม จากยารักษาโรคที่ให้ระหว่างการรักษาโรคนั้นในระยะวิกฤต จากปัญหาใหม่ทีมีการคิดหรือจากปัจจัยเหล่านี้ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปผสมกัน เกณฑ์การวินิจฉัยอาการเพ้อไม่สามารถทำได้หากไม่มีการประเมินหรือความรู้มาก่อนซึ่งระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้ของบุคคลที่เป็นนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมซึ่งกำลังทำงานที่ระดับความสามารถทางจิตเส้นฐานจะถูกคาดว่าดูมีอาการเพ้อหากไม่มีสถานะการทำหน้าที่ของจิตเส้นฐานให้เปรียบเทียบ
อาการเพ้ออาจแสดงตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม ในรูปตื่นตัวมาก อาการแสดงเป็นความสับสนและความงุนงงสับสนรุนแรง ดำเนินโดยมีการเริ่มต้นค่อนข้างเร็วและมีความรุนแรงขึ้น ๆ ลง ๆ ในรูปตื่นตัวน้อย อาการแสดงโดยการถอนตัวจากอันตรกิริยากับโลกภายนอกเฉียบพลันเท่ากัน อาการเพ้ออาจเกิดในรูปผสม ซึ่งบางคนอาจขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างทั้งระยะตื่นตัวมากและตื่นตัวน้อย อาการเพ้อเป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า ทว่า พบว่าเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยและสูงอายุได้ในอัตราพอ ๆ กันเมื่อเกิดในระหว่างการเจ็บป่วยวิกฤต
อาการเพ้ออาจเกิดจากกระบวนการของโรคนอกสมองแต่มีผลต่อสมอง เช่น การติดเชื้อ (การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม) หรือผลของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนติโคลิเนอร์จิกหรือยากดระบบประสาทส่วนกลางอื่น (เบนโซไดอาซีพีนและโอปิออยด์)[1] แม้ประสาทหลอนและอาการหลงผิดปรากฏในอาการเพ้อบ้าง แต่ไม่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัย และอาการของอาการเพ้อทางคลินิกต่างจากอาการที่เกิดจากการชักนำโดยโรคจิตหรือสารก่อประสาทหลอน (ยกเว้นสารก่ออาการเพ้อ) ตามบทนิยาม อาการเพ้อต้องเกิดจากกระบวนการทางกาย เช่น ปัญหาทางโครงสร้าง การทำหน้าที่หรือเคมีที่สามารถระบุได้เชิงกายภาพในสมอง ฉะนั้น การคิดขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการหรือโรคจิตเวช เช่น โรคจิตเฉียบพลันจากจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้วจึงไม่เรียกอาการเพ้อ
เช่นเดียวกับองค์ประกอบของมัน (การไม่สามารถมุ่งความใส่ใจ ความสับสนทางจิตและการบกพร่องของความตระหนักหลายอย่างและการรับรู้กาลเทศะ) อาการเพ้อเป็นการปรากฏอาการทั่วไปของการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมองจากพยาธิสภาพทางกายใหม่ (ไม่ว่าด้วยเหตุใด) อาการเพ้อต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงการคิดเฉียบพลันและสาเหตุทางกาย ฉะนั้น หากไม่มีการประเมินโดยระวังและประวัติ อาการเพ้อสามารถสับสนกับความผิดปกติจิตเวชจำนวนหนึ่งหรือกลุ่มอาการของสมองจากพยาธิสภาพทางกายระยะยาวได้ง่าย เพราะอาการและอาการแสดงหลายอย่างของอาการเพ้อเป็นภาวะที่ยังพบในโรคสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าและโรคจิต[2] อาการเพ้ออาจปรากฏใหม่บนพื้นหลังความเจ็บป่วยทางจิต ความพิการทางเชาวน์ปัญญาเส้นฐานหรือโรคสมองเสื่อม โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัญหาดังกล่าว
การรักษาอาการเพ้อต้องรักษาเหตุทางกายพื้นเดิม ในผู้ป่วยบางคน ใช้การรักษาชั่วคราวหรือประทังหรือตามอาการเพื่อประโลมผู้ป่วยหรือให้จัดการผู้ป่วยได้ดีขึ้น (ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจพยายามดึงท่อช่วยหายใจซึ่งจำเป็นต่อการรอดชีวิต) อาการเพ้ออาจเป็นความผิดปกติเฉียบพลันที่พบมากที่สุดในผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลทั่วไป โดยพบใน 10-20% ของผู้ใหญ่นอนโรงพยาบาลทั้งหมด และ 30-40% ของผู้ป่วยสูงอายุที่นอนโรงพยาบาลและมากถึง 80% ของผู้ป่วยหน่วยอภิบาล ในผู้ป่วยหน่วยอภิบาลหรือในผู้ป่วยอื่นที่ต้องดูแลวิกฤต อาากรเพ้อมิใช่เพียงความผิดปกติของสมองเฉียบพลันแต่ที่จริงเป็นการเพิ่มโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากใน 12 เดือนให้หลังการจำหน่ายผู้ป่วยหน่วยอภิบาลออกจากโรงพยาบาล[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Clegg, A; Young, JB (January 2011). "Which medications to avoid in people at risk of delirium: a systematic review". Age and ageing. 40 (1): 23–9. doi:10.1093/ageing/afq140. PMID 21068014.
- ↑ Gleason OC (March 2003). "Delirium". Am Fam Physician. 67 (5): 1027–34. PMID 12643363.
- ↑ Ely EW, Shintani A, Truman B, Speroff T, Gordon SM, Harrell FE, และคณะ (April 2004). "Delirium as a predictor of mortality in mechanically ventilated patients in the intensive care unit". JAMA. 291 (14): 1753–62. doi:10.1001/jama.291.14.1753. PMID 15082703.