อำเภอห้างฉัตร
อำเภอห้างฉัตร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Hang Chat |
คำขวัญ: ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เกรียงไกรเจ้าพ่อขุนตาน ตำนานวิหารจามเทวี ของดีตลาดทุ่งเกวียน | |
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอห้างฉัตร | |
พิกัด: 18°19′19″N 99°19′4″E / 18.32194°N 99.31778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลำปาง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 684.8 ตร.กม. (264.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 50,111 คน |
• ความหนาแน่น | 73.18 คน/ตร.กม. (189.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 52190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5212 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอห้างฉัตร 91 ถนนลำปาง-เชียงใหม่ หมู่ที่ 10 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ห้างฉัตร (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง ตั้งเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2445 ชื่อว่า "แขวงหางสัตว์" แยกออกจากแขวงเวียงเหนือ (อำเภอเมืองลำปาง)[1] ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ห้างฉัตร" ในปี พ.ศ. 2483 เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นหลายแห่ง เช่น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตลาดทุ่งเกวียน เป็นต้น
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอห้างฉัตรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่ทา (จังหวัดลำพูน) และอำเภอเมืองลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองลำปาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเกาะคาและอำเภอเสริมงาม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่ทา (จังหวัดลำพูน)
ประวัติ
[แก้]ห้างฉัตร เป็นอำเภอที่มีความเจริญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้ใช้เส้นทางห้างฉัตรเป็นทางติดต่อ เมื่อเดินทางถึงห้วยแม่ตาลได้หยุดพักพลที่นี้ บรรดาชาวเมืองจึงตกแต่งที่ประดับด้วยราชวัตรฉัตรอันงดงาม ภายหลังที่แห่งนั้นได้เป็นเมืองขึ้นมา จึงเรียกว่าเมืองนั้นว่า เมืองห้างฉัตร แต่ต่อมาชาวบ้านออกเสียงเพี้ยนเป็น "หางสัตว์" เมื่อตั้งเป็นอำเภอจึงเรียกว่า อำเภอหางสัตว์[2] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงประกาศเปลี่ยนนามอำเภอนี้เป็น อำเภอห้างฉัตร เพื่อให้ถูกต้องตามความหมายเดิม
- วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 แยกพื้นที่แคว้นหางสัตว์ แคว้นบันเง้า แคว้นยางคก แคว้นแม่ปุ้ม แคว้นแม่สัน แคว้นเมืองยาว แคว้นป่าไค้ และแคว้นหนองโหล่ม ของแขวงเวียงเหนือ เมืองนครลำปาง มาจัดตั้งเป็น แขวงหางสัตว์[1] ตั้งที่ว่าการแขวงที่บ้านหางสัตว์
- วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2452 ทำถนนแต่ฝั่งตะวันออกห้วยแม่ตาล อำเภอหางสัตว์ ถึงบ้านเง้าตึงต่อเขตอำเภอเมือง เมืองนครลำปาง[3]
- วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2452 สร้างที่ว่าการอำเภอหางสัตว์[2] ขึ้นในท้องที่อำเภอหางสัตว์ เมืองนครลำปาง
- วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดลำปาง (1,2,3)[4][5]
- (1) ยุบตำบลปันง้าว และโอนพื้นที่หมู่ 1,2,3,4,5,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลปันง้าว ไปขึ้นกับตำบลหางสัตว์ และโอนพื้นที่หมู่ 6,7,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลปันง้าว ไปขึ้นกับตำบลปงยางคก
- (2) ยุบตำบลแม่สัน และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่สัน ไปขึ้นกับตำบลหางสัตว์ และโอนพื้นที่หมู่ 2,3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่สัน ไปขึ้นกับตำบลเมืองยาว
- (3) ยุบตำบลบ้านอ้อ รวมกับตำบลหนองหลุ่ม (ตำบลหนองหล่ม) ขนานนามว่า ตำบลหนองหลุ่ม
- วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหางสัตว์ เป็น ตำบลห้างฉัตร และอำเภอหางสัตว์ จังหวัดลำปาง เป็น อำเภอห้างฉัตร[6]
- วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลห้างฉัตร ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้างฉัตร[7]
- วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร[8]
- วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ตั้งตำบลเวียงตาล แยกออกจากตำบลห้างฉัตร[9]
- วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลเวียงตาล ไปตั้งเป็นหมู่ 1 ของตำบลห้างฉัตร[10]
- วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2505 ตั้งตำบลวอแก้ว แยกออกจากตำบลหนองหล่ม และตั้งตำบลแม่สัน แยกออกจกาตำบลเมืองยาว[11]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลห้างฉัตร เป็นเทศบาลตำบลห้างฉัตร[12] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเวียงตาล[13]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอห้างฉัตรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 63 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[14] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ห้างฉัตร | Hang Chat | 9 | 3,896 | 9,952 | |
2. | หนองหล่ม | Nong Lom | 9 | 1,832 | 5,127 | |
3. | เมืองยาว | Mueang Yao | 15 | 2,740 | 8,160 | |
4. | ปงยางคก | Pong Yang Khok | 13 | 3,645 | 9,443 | |
5. | เวียงตาล | Wiang Tan | 11 | 3,089 | 8,771 | |
6. | แม่สัน | Mae San | 9 | 1,571 | 4,596 | |
7. | วอแก้ว | Wo Kaeo | 7 | 1,492 | 4,319 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอห้างฉัตรประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลห้างฉัตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้างฉัตร
- เทศบาลตำบลห้างฉัตรแม่ตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้างฉัตร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้างฉัตร)
- เทศบาลตำบลปงยางคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงยางคกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเมืองยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองยาวทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเวียงตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงตาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหล่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหล่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวอแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวอแก้วทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
[แก้]- ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ย้ายมาจากศูนย์ฝึกลูกช้างบ้านปางหละ อำเภองาว แต่ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่อาณาบริเวณสวนป่าทุ่งเกวียน และเป็นที่ตั้งของสถาบันคชบาลแห่งชาติและโรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเป็นสถานที่ฝึกฝนช้างให้มีความสามารถเหมือนมนุษย์ เช่น สามารถเล่นดนตรี กีฬา วาดรูปได้ อีกทั้งยังได้มีการแสดงโชว์ความสามารถของช้าง เป็นที่ประทับใจของชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมชมเป็นอันมาก
- ตลาดทุ่งเกวียน เป็นตลาดสินค้าพื้นเมือง มีสินค้าพื้นเมืองในท้องถิ่นทั้งอำเภอห้างฉัตรและต่างถิ่นในภาคเหนือมาวางขาย ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ เสื้อผ้า ของฝากของที่ระลึกต่าง ๆ อดีตตลาดทุ่งเกวียนเป็นตลาดค้าขายของป่าหรือสัตว์ป่า แต่ปัจจุบันได้วางขายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดลำปางไว้ทุกชนิด
- สถานีรถไฟห้างฉัตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตตำบลห้างฉัตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย [การจัดแบ่งแขวงเวียงเหนือออกเป็นอีกแขวงหนึ่ง (แบ่งแคว้นหางสัตว์ บันเงา ยางคก แม่ปุ้ม แม่สัน เมืองยาว ป่าไค้ และหนองโหล่ม รวม ๘ แค้น ขึ้นเป็น แขวงหางสัตว์ พร้อมทั้งตั้งนายแขวง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (17): 320. July 27, 1902.
- ↑ 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอหางสัตว์ ขึ้นในท้องที่อำเภอหางสัตว์ เมืองนครลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1518–1519. October 10, 1909.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การทำถนนแต่ฝั่งตะวันออกห้วยแม่ตาล ถึงบ้านเง้าตึงต่อเขตอำเภอเมือง เมืองนครลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 950. October 10, 1909.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3344–3348. January 9, 1938.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๖๓ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดลำปาง หน้า ๓๓๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4138. March 6, 1938.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 53–55. April 30, 1940. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-72. October 15, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเกาะคา และอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (63 ง): 1817–1821. August 15, 1961.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเกาะคา และอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (101 ง): 2421–2424. December 5, 1961.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอห้างฉัตร และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (35 ง): 993–999. April 17, 1962.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลเวียงตาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 204 ง): 12–13. September 8, 2020.
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- อำเภอห้างฉัตร เก็บถาวร 2008-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน