อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ที่ตั้ง | จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย |
พิกัด | 6°28′01″N 101°37′48″E / 6.467°N 101.630°E[1] |
พื้นที่ | 294 km2 (114 sq mi) |
จัดตั้ง | พ.ศ. 2542 |
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นส่วนใต้สุดของเทือกเขาตะนาวศรีก่อนที่แนวเทือกเขาจะทอดตัวยาวเข้าไปในมาเลเซีย[2]
อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ 294 ตารางกิโลเมตร (114 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เป็นที่ตั้งของแนวเทือกเขาบูโด ส่วนหนึ่งของป่าฝนเขตร้อนอินโด-มลายูซึ่งมีความชื้นสูงและมีฝนตกตลอดทั้งปี ภายในอุทยานมีน้ำตกหลายแห่ง อาทิ น้ำตกภูแว น้ำตกปาโช และน้ำตกปาโก ซึ่งน้ำตกปาโชบนหน้าผาสูง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงที่สุด โดยคำว่า "ปาโช" ผันมาจากคำภาษามลายูที่แปลว่า "น้ำตก"
ความหลากหลายทางชีวภาพ
[แก้]พันธุ์พืชที่มีชื่อเสียงของอุทยานแห่งนี้คือ "ใบทอง" หรือ "ยันเดา" ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกที่นี่ใน พ.ศ. 2531 สัตว์หายากที่พบในเขตอุทยานได้แก่ แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ เลียงผาเหนือ ค่างแว่นถิ่นใต้ ค่างดำมลายู และค่างหนุมาน โดยค่างมักอาศัยอยู่ในป่าลีกและบนภูเขาสูง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 30-40 ตัว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Budo-Sungai Padi National Park". protectedplanet.net.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Budo - Su-ngai Padi National Park". Department of National Parks (DNP) Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 July 2015.