เค็นจิ มิยาซาวะ
เค็นจิ มิยาซาวะ | |
---|---|
เค็นจิ มิยาซาวะ | |
ชื่อท้องถิ่น | 宮沢 賢治 |
เกิด | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1896 เมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 21 กันยายน ค.ศ. 1933 เมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น | (37 ปี)
อาชีพ | นักเขียน, นักกวี, ครู, นักธรณีวิทยา |
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
ช่วงเวลา | ยุคไทโชและต้นยุคโชวะ |
แนว | วรรณกรรมเด็ก, บทกวี |
เค็นจิ มิยาซาวะ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
ชินจิไต | 宮沢 賢治 | ||||
คีวจิไต | 宮澤 賢治 | ||||
ฮิรางานะ | みやざわ けんじ | ||||
คาตากานะ | ミヤザワ ケンジ | ||||
|
เค็นจิ มิยาซาวะ (ญี่ปุ่น: 宮沢 賢治 หรือ 宮澤 賢治; โรมาจิ: Miyazawa Kenji; เอสเปรันโต: Mijazaŭa Kenĝi; 27 สิงหาคม ค.ศ. 1896 – 21 กันยายน ค.ศ. 1933) เป็นนักเขียนวรรณกรรมเด็กและนักกวีชาวญี่ปุ่นจากเมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ในช่วงปลายยุคไทโชและต้นยุคโชวะ มิยาซาวะยังเป็นที่รู้จักว่าเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร, ผู้รับประทานมังสวิรัติ, นักเล่นเชลโล, พุทธศาสนิกชนผู้เคร่งครัด และนักเคลื่อนไหวทางสังคมแบบอุตมรัฐ[1]
ผลงานสำคัญส่วนหนึ่งของมิยาซาวะ ได้แก่ รถไฟสายทางช้างเผือก, คาเซะ โนะ มาตาซาบูโร, โกซุ อัจฉริยะนักเซลโล่ และ ทาเนยามากาฮาระ โนะ โยรุ เค็นจิหันมานับถือพุทธศาสนานิกายนิจิเร็งหลังจากได้อ่านสัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเข้าร่วมโคกูชูไกซึ่งเป็นองค์กรของนิกายนิจิเร็ง ความเชื่อทางศาสนาและสังคมของมิยาซาวะสร้างความร้าวฉานระหว่างเขาและครอบครัวที่มั่งคั่งของเขาโดยเฉพาะบิดา แม้ว่าหลังการเสียชีวิตของมิยาซาวะครอบครัวของเขาก็หันมานับถือนิกายนิจิเร็งตามมิยาซาวะในที่สุด เค็นจิก่อตั้งสมาคมเกษตรกรราซุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาในจังหวัดอิวาเตะ มิยาซาวะยังเป็นนักพูดภาษาเอสเปรันโตและแปลบทกวีบางส่วนของเขาเป็นภาษาเอสเปรันโต
มิยาซาวะเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมในปี ค.ศ. 1933 เกือบตลอดชีวิตของมิยาซาวะไม่เป็นที่รู้จักในฐานะนักกวี ผลงานของมิยาซาวะมีชื่อเสียงขึ้นมาหลังการเสียชีวิตของเขา[2] และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ในโอกาสอายุครบรอบหนึ่งร้อยปีของมิยาซาวะ [3] พิพิธภัณฑ์ที่สร้างอุทิศให้ชีวิตและผลงานของมิยาซาวะเปิดตัวในปี ค.ศ. 1982 ในเมืองบ้านเกิดของมิยาซาวะ วรรณกรรมเด็กหลายเรื่องของมิยาซาวะได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ โดยเรื่องที่โดดเด่นมากที่สุดคือ รถไฟสายทางช้างเผือก ผลงานบทกวีทังกะและบทกวีอิสระอื่น ๆ หลายบทของมิยาซาวะได้รับการแปลเป็นหลายภาษาและยังคงได้รับความนิยมในทุกวันนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Curley, Melissa Anne-Marie, "Fruit, Fossils, Footprints: Cathecting Utopia in the Work of Miyazawa Kenji", in Daniel Boscaljon (ed.), Hope and the Longing for Utopia: Futures and Illusions in Theology and Narrative, James Clarke & Co./ /Lutterworth Press 2015. pp.96–118, p.96.
- ↑ Makoto Ueda, Modern Japanese Poets and the Nature of Literature, Stanford University Press, 1983 pp.184–320, p.184
- ↑ Kilpatrick 2014, pp. 11–25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- e-texts of Kenji Miyazawa's works at Aozora Bunko
- The Miyazawa Kenji Museum in Hanamaki เก็บถาวร 2015-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kenji Miyazawa's grave
- J'Lit | Authors : Kenji Miyazawa | Books from Japan เก็บถาวร 2019-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Public Domain Audiobooks of Kenji Miyazawa's works เก็บถาวร 2014-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Japanese Classical Literature at Bedtime
- ผลงานโดย เค็นจิ มิยาซาวะ บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)