เทวฤทธิ์ นิกรเทศ
เทวฤทธิ์ นิกรเทศ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2517 อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2538–2543) ไทยรักไทย (2543–2549) พลังประชาชน (2550–2551) กิจสังคม (2551–2557) ชาติไทยพัฒนา (2557–2561) อนาคตใหม่ (2561–2563) เพื่อไทย (2557–2561, 2564–ปัจจุบัน) |
เทวฤทธิ์ นิกรเทศ (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2517) อดีตโฆษกพรรคกิจสังคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคกิจสังคม
ประวัติ
[แก้]เทวฤทธิ์ นิกรเทศ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2517[1] เป็นบุตรของนายบุญนำ กับนางคำแหวน นิกรเทศ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสิงหราชพิทยาคม ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การทำงาน
[แก้]เทวฤทธิ์ นิกรเทศ เคยทำงานเป็นวิศวกรประจำบริษัทเอกชนหลายแห่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 จึงได้หันเข้าสู่งานการเมือง โดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคไทยรักไทย กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครในแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน เทวฤทธิ์ นิกรเทศ จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม พร้อมกับนายสุวิทย์ คุณกิตติ
เทวฤทธิ์ นิกรเทศ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีส่วนในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เนื่องจากเป็น ส.ส. ที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ดังกล่าวด้วย[2]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายเทวฤทธิ์ ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 2 รองจากนายนิพนธ์ คนขยัน[4]
ในปี พ.ศ. 2561 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคอนาคตใหม่[5] ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 56 ของพรรค ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาจึงย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชาว อ.บึงกาฬ เฮ!! มท.เตรียมเสนอเรื่องเข้า ครม. ยกระดับเป็นจังหวัดที่ 77". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ 2011-02-03.
- ↑ "กิจสังคม"แตกส.ส.ย้ายซบชาติพัฒนาฯ+ชาติไทยฯ
- ↑ การเลือกตั้งนายก อบจ บึงกาฬ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 เก็บถาวร 2014-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 4 มกราคม 2555
- ↑ อดีตส.ส.ไทยรักไทย เปิดตัวร่วมงานพรรค “อนาคตใหม่” ชี้ อุดมการณ์ตรงกัน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2517
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดบึงกาฬ
- วิศวกรชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคอนาคตใหม่
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
- บุคคลจากคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.