ข้ามไปเนื้อหา

เลนส์ตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปรับรูปร่างของเลนส์ตาเพื่อมองภาพใกล้และไกล
องค์ประกอบภายในตาของมนุษย์

เลนส์ตา (crystalline lens) เป็นเนื้อเยื่อในตาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หลากการทำงานคล้ายกับเลนส์นูนในกล้องถ่ายภาพ

เลนส์ตาของมนุษย์

[แก้]

เลนส์ตาของมนุษย์ความหนาประมาณ 4 มม. และเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 9 มม. โปร่งใส ไม่มีสี มีรูปร่างเหมือนเลนส์นูน ทำหน้าที่ 1/4 ถึง 1/3 ของกำลังการหักเหแสงภายในลูกตา

เมื่อมองวัตถุที่อยู่ใกล้ กล้ามเนื้อปรับเลนส์จะหดตัวและส่วนต่าง ๆ จะคลายตัวและหนาขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อมองจากระยะไกล กล้ามเนื้อปรับเลนส์จะคลายตัว และส่วนต่าง ๆ จะยืดออกและบางลง นี่คือวิธีที่ทำให้มนุษย์สามารถโฟกัสไปที่ระยะทางต่าง ๆ ที่ต้องการได้

เลนส์ตาจะแข็งตัวขึ้นเปลี่ยนรูปร่างยากขึ้นตามอายุ ทำให้ยิ่งสูงอายุก็ยิ่งยากต่อการโฟกัสภาพ