ข้ามไปเนื้อหา

โกเมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกเมน
การจำแนก
ประเภทซิลิเกต
สูตรเคมีX3Y2 (SiO4)3
คุณสมบัติ
สีvirtually all colors, blue very rare
รูปแบบผลึกRhombic dodecahedron or cubic
โครงสร้างผลึกIsometric
แนวแตกเรียบIndistinct
รอยแตกconchoidal to uneven
ค่าความแข็ง6.5–7.5
ความวาวvitreous to resinous
ความวาวจากการขัดเงาvitreous to subadamantine
ดรรชนีหักเห1.72–1.94
คุณสมบัติทางแสงSingle refractive, often anomalous double refractive
ค่าแสงหักเหสองแนวไม่มี
การเปลี่ยนสีไม่มี
การเรืองแสงอัลตราไวโอเลตvariable
สีผงละเอียดสีขาว
ความถ่วงจำเพาะ3.1–4.3
คุณสมบัติอื่นvariable magnetic attraction
Major varieties
PyropeMg3Al2Si3O12
AlmandineFe3Al2Si3O12
SpessartineMn3Al2Si3O12
AndraditeCa3Fe2Si3O12
GrossularCa3Al2Si3O12
UvaroviteCa3Cr2Si3O12

โกเมน หรือชื่อทางวิชาการว่า การ์เนต (อังกฤษ: Garnet) มาจากภาษาละตินว่า granatus แปลว่า เมล็ดพืช เป็นแร่ในกลุ่มซิลิเกต ที่ถูกใช้เป็นอัญมณีมาตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์

คุณสมบัติ

[แก้]
  • โกเมนจะอยู่ในระบบผลึกแบบ Cubic
  • มีรูปผลึกเป็นรูปเหลี่ยม 12 หน้า (rhombic-dodecahedral)
  • มีความแข็งประมาณ 6.5 - 7.5
  • มีหลายสีแต่ที่เด่นที่สุดคือสีแดง
  • ความวาวที่พบจะมีความวาวคล้ายแก้ว
  • มีรอยแตกแบบก้นหอย
  • ความคงทนค่อนข้างดีนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ

ชนิดและชื่อทางการค้าของโกเมน

[แก้]

ไพโรป (Pyrope)

[แก้]

จะมี สีส้มดูดดาว ถึงแดงอมม่วงเล็กน้อย สีสดกว่าการ์เนตชนิดอื่น (Cr3+, Fe2+) มีแหล่งกำเนิดสำคัญบริเวณแอฟริกาใต้ เชโกสโลวาเกีย และแทนซาเนีย ซึ่งเราสามารถจำแนกความแตกต่างของไพโรปออกจากการ์เนตอื่น ๆ โดยใช้

  • ค่าดัชนีหักเห 1.720 - 1.756 ปรกติ 1.746
  • ความถ่วงจำเพาะที่มีค่า 3.62 - 3.87 ปรกติ 3.78

อัลแมนดีน (Almandine)

[แก้]
Almandine in metamorphic rock

จะมี สีส้มอมแดง แดงอมม่วงเล็กน้อย โทนสีออกจะมืดตลอด (Fe2+, Cr3+) ลักษณะเด่นของอัลแมนดีนคือมลทินภายในจะมีลักษณะคล้ายเข็มตัดกันด้วยมุม 70/110° หรือ เห็นผลึกเซอร์คอนล้อมด้วยวงแหวน แหล่งกำเนิดจะอยู่ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา และ มาดากัสการ์ เนื่องจากอัลแมนดีนเป็นการ์เนตที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยมในการนำมา ใช้เป็นพลอยปะ ด้านบนของแก้ว (Garnet - glass doublets) เพื่อเลียนแบบทับทิม หรือ ไพลินที่เป็นอัญมณีราคาแพง

  • ค่าดัชนีหักเห 1.760 - 1.820 ปรกติ 1.790 (จะสูงกว่าไพโรป เพราะมี Feในองค์ประกอบ)
  • ค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.93 - 4.30 ปรกติ 4.05 (จะสูงกว่าไพโรป เพราะมี Feในองค์ประกอบ)

โรโดไลต์ (Rhodolite)

[แก้]

จะมีสีแดงอมม่วง ถึงม่วงอมแดง แต่จะมีสีม่วงปนอยู่เสมอซึ่งเป็นลักษณะเด่น ชื่อนี้ได้มาจากภาษากรีก แปลว่า “สีชมพู” ในทางการค้า พลอยการ์เนตสีม่วงจะถูกเรียกเป็นโรโดไลต์ จะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศศรีลังกา แอฟริกาตะวันออก และอินเดีย

  • ค่าดัชนีหักเห 1.740 - 1.770 ปรกติ 1.760 (อยู่ระหว่างไพโรปอัลแมนดีน)
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.74 - 3.94 ปรกติ 3.84 (อยู่ระหว่างไพโรปอัลแมนดีน)

สเปสซาไทท์ (Spessartite)

[แก้]

จะมีสีส้มอมเหลืองถึงส้มอมแดง มักจะต้องมีสีส้มติดอยู่เสมอ (อันเนื่องจากธาตุ Mn2+, Fe3+) ลักษณะเด่นของสเปสซาทีนคือเป็นแร่โปร่งใส ออกโทนสีส้มเสมอคล้ายเฮสโซไนต์ แต่แยกได้โดยใช้ค่าดัชนีหักเห แหล่งกำเนิดคุณภาพดีมาจากศรีลังกา สหรัฐอเมริกา บราซิล และ มาดากาสก้า

  • ค่าดัชนีหักเห 1.790 - 1.814 ปรกติ 1.810
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 4.12 - 4.20 ปรกติ 4.15

จะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ทานซาเนีย และ เคนยาสามารถจำแนกย่อยได้เป็น

กรอสซูลาร์แบบโปร่งใสทั่วไป (Transparent grossular)

[แก้]

จะมีสีเหลือง เหลืองอมเขียว

ซาโวไรท์ (Tsavorite)

[แก้]

คือกรอสซูลาร์โปร่งใสที่มีสีเขียว เขียวมรกต (Cr3+, V3+)

  • ค่าดัชนีหักเห 1.736 - 1.742 ปรกติ 1.740
  • ความถ่วงจำเพาะ 3.59 - 3.63 ปรกติ 3.61

เฮสโซไนต์ (Hessonite)

[แก้]

คือกรอสซูลาร์ที่มีสีเหลืองอมส้ม ส้มอมแดง (Fe3+) บางครั้งเรียก ซินนามอนสโตน (Cinnamon stone) เพราะสีคล้ายอบเชย หรือกระวาน มีลักษณะเด่นคือมีสีส้ม ลักษณะทั่วไปดูคล้ายคลื่นความร้อน (Heat wave effect) ทำให้พลอยดูซึม ๆ โดยมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศศรีลังกา

  • ค่าดัชนีหักเห 1.740 - 1.750 ปรกติ 1.740
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.57 - 3.73 ปรกติ 3.61

ไฮโดรกรอสซูลาร์ (Hydrogrossular)

[แก้]

หรือกรอสซูลาร์แบบโปร่งแสงที่เป็นเม็ดละเอียดเนื้อแน่น มีสีเขียว (Cr3+) เรียก “หยกทรานสเวิล” (Transvaal Jade) หรือ “หยกแอฟริกา” (African Jade) เพราะมีสีคล้ายหยก บางครั้งอาจพบมีสีแดง, ชมพู (Mn3+) ลักษณะเด่นที่พบในเนื้อแร่มักมีมลทินเป็นจุดดำ ๆ ของแร่โครไมต์ (Chromite) และแมกนีไทต์ (Magnetite) อาจมีรอยแตกเป็นเสี้ยน มีความวาวเป็นแบบขี้ผึ้ง แหล่งกำเนิดจะอยู่ที่แอฟริกาใต้ คานาดา

  • ค่าดัชนีหักเห 1.690 - 1.730 - เขียว, 1.700 - 1.712 - แดง
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.30 - 3.50 - เขียว, 3.32 - 3.36 - แดง

แอนดราไดต์ (Andradite)

[แก้]

ชนิดที่สำคัญใน แอนดราไดต์ การ์เนต คือ

ดีมานทอยด์ (Demantoid)

[แก้]

มีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม หรือเขียวอมเหลือง (Cr3+) มีชื่อมาจากภาษาดัตช์ แปลว่า “เพชร” เพราะมีการกระจายแสงสีรุ้งได้ดีมากกว่าเพชรจึงมีไฟดี สีสวย หายาก มีความวาวแบบเพชร ลักษณะเด่นภายในเนื้อแร่จะพบมลทินเส้นเข้มโค้งคล้าย “หางม้า” (Horse-tail) ที่มี สีน้ำตาลอมเหลืองของแร่บิสโซไลต์ (Byssolite) แหล่งกำเนิดคุณภาพดีมาจากรัสเซีย ใกล้เขายูราล ที่อื่น ๆ เช่น อิตาลี

  • ค่าดัชนีหักเห 1.855 - 1.895 ปรกติ 1.880 (สูงมาก)
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.81 - 3.87 ปรกติ 3.84

แอนดราไดท์เป็นอัญมณีประเภทหนึ่งในตระกูลของการ์เน็ทหรือโกเมน (Garnet) ลักษณะทั่วไปคือมีความโปร่งใส มีสีเขียวอมเหลืองถึงเขียว และมีการกระจายแสง (Dispersion) สูง

Malaya or Malaia Garnet (Mg,Mn) 3Al2 (SiO4) 3

[แก้]

จะออกสีส้มอมชมพู ส้มอมแดง ส้มอมเหลือง ส้มอมน้ำตาล ถึงชมพู ปรกติมีสีส้มเสมอ แหล่งกำเนิดจะอยู่ที่แทนซาเนีย

  • ค่าดัชนีหักเห 1.42 – 1.78 ปรกติ 1.76
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.78 - 3.85 ปรกติ 3.80 หรือน้อยกว่า

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูล

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โกเมน