ข้ามไปเนื้อหา

โซโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซโต
โซโตอายัม หรือโซโตไก่ น้ำซุปสีเหลือง กินกับเอิมปิงและกระเทียมเจียว
ชื่ออื่นโจโต เตาโต
มื้อจานหลัก
แหล่งกำเนิดอินโดนีเซีย
ภูมิภาคทั่วประเทศ
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้องอาหารอินโดนีเซีย
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักซุปไก่ เนื้อวัว หรือเครื่องในที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน
รูปแบบอื่นมีความแตกต่างกันทั่วประเทศ

โซโต (อินโดนีเซีย: soto) เป็นซุปแบบพื้นเมืองในอาหารอินโดนีเซีย ใส่เนื้อและผัก ในบางครั้งจัดเป็นอาหารประจำชาติ มีรับประทานตั้งแต่สุมาตราไปจนถึงปาปัว โดยมีความแตกต่างกันมากมีตั้งแต่ขายข้างถนนไปจนถึงในภัตตาคาร ผู้อพยพชาวชวาได้นำอาหารชนิดนี้ไปยังซูรินามและเรียกว่าซาโอโต[1]

จุดกำเนิด

[แก้]

โซโตเป็นอาหารที่พัฒนาขึ้นในหมู่เกาะอินโดนีเซีย โดยแต่ละบริเวณจะมีสูตรเฉพาะของตนเอง และได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น เช่น จีน อินเดีย[2] ชาวชวาเรียกอาหารนี้ว่าโซโต ชาวเปอรานากันเรียกเตาโต ชาวมากัสซาร์เรียกโจโต นักวิชาการบางคนเสนอว่าเป็นอาหารที่มีลักษณะผสมระหว่างอาหารพื้นเมืองจีนกับอินเดีย อิทธิพลของจีนเห็นได้จากการใส่เส้นบีหุนและกระเทียมเจียว การใส่ขมิ้นแสดงถึงอิทธิพลของอินเดีย

ความหลากหลาย

[แก้]
โซโตบังกงจากเซอมารังเป็นโซโตไก่กินกับสะเต๊ะ เทมเป้ทอด
โซโตอายัม อาหารเช้าในบันดุง
โซโตเบอตาวี ใส่เครื่องใน น้ำแกงใส่กะทิ

โซโตที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ได้แก่

  • โซโตในอัมบน ทำจากไก่ แต่งรสและสีด้วยขมิ้น ขิง ข่า กระเทียม ตะไคร้ และเครื่องเทศต่างๆ กินกับข้าว อาจเติมถั่วงอก ไก่ฉีก เซเลอรีหั่น กระเทียมเจียว มันฝรั่งทอด
  • โซโตในบันดุง เป็นโซโตเนื้อวัวแบบใส ใส่ผักกาดหัวหั่น[3]
  • โซโตในบันจาร์ ใส่เครื่องเทศ ตะไคร้ กานพลู ซัมบัลรสเปรี้ยว มันฝรั่ง
  • โซโตในบาญูมัต ใส่ซัมบัลถั่วลิสง กินกับเกอตูปัต
  • โซโตแบบเบอตาวี ทำจากเนื้อวัว ใส่นมวัวหรือกะทิ มันฝรั่งทอด มะเขือเทศ
  • โซโตในเกอดีรี เป็นโซโตไก่ใส่กะทิ
  • โซโตในกูดุส ทำจากเนื้อควาย
  • โซโตในลาโมงัน เป็นโซโตที่ขายริมถนนที่มีชื่อเสียง
  • โซโตในมาดูรา ทำจากไก่ เนื้อวัว หรือเครื่องใน น้ำซุปสีเหลือง
  • โซโตในมากัสซาร์[4] ทำจากเนื้อวัว ต้มกับน้ำซาวข้าว กินกับถั่วลิสงทอด
  • โซโตในเมดาน ทำจากไก่ หมู เนื้อวัว ใส่กะทิ มันฝรั่ง
  • โซโตในปาดัง ทำจากเนื้อวัว ใส่เนื้อวัวทอด บีหุน มันฝรั่งทอด
  • โซโตในเปอกาโลงัน[5] เป็นโซโตที่ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยว
  • โซโตในเซอมารัง เป็นโซโตไก่ ปรุงรสด้วยแคนเดิลนัท รับประทานกับสะเต๊ะไก่งวง
  • โซโตบังกง เป็นโซโตไก่ ที่เสิร์ฟเฉพาะคน ผสมกับข้าว ลูกชิ้น เทมเป้ และสะเต๊ะ
  • โซโตในเตอฆัล ลักษณะคล้ายโซโตในเปอกาโลงัน ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยว มีทั้งที่ทำจากไก่ เนื้อวัว และเครื่องใน

โซโตหลายชนิด เรียกตามส่วนประกอบที่เป็นเครื่องปรุงหลัก เช่น

  • โซโตอายัม[6] เครื่องปรุงหลักคือไก่ น้ำซุปสีเหลือง กินกับลนตง นาซิเอิมปิต เกอตูปัต พบได้ทั่วไปในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
  • โซโต บาบัต ทำจากเนื้อวัวหรือเนื้อแพะ น้ำซุปใส่กะทิ สีเหลือง ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่ง และผัก กินกับข้าว พบได้ทั่วอินโดนีเซีย
  • โซโต กากี ทำจากเอ็นเนื้อและกระดูกอ่อนจากเท้าวัว น้ำซุปรสเผ็ดสีเหลือง ใส่กะทิ เส้นก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่ง ผักและกรูปุก กินกับข้าว เป็นอาหารเบอตาวีพบได้ในจาการ์ตา
  • โซโต ตังการ์ เป็นโซโตแบบเฉพาะของเบอตาวี ทำจากซี่โครงวัว ใส่กะทิ ปรุงรสด้วยขมิ้น กระเทียม หัวหอม พริก พริกไทย แคนเดิลนัท ยี่หร่า ข่า ผักชี อบเชย ใบเบย์ และใบมะกรูด
  • โซโตหมี่ เป็นโซโตรสเผ็ด สีเหลืองใส่ไก่ เส้นหมี่
  • โซโตบาบี เป็นโซโตหมู พบในเกาะบาหลี ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

ส่วนผสม

[แก้]

เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นเนื้อไก่และวัว อาจใส่ เครื่องใน เนื้อแพะหรือควายได้ หมูใช้เฉพาะในท้องถิ่นที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นฮินดู เช่นที่บาหลี[7] กินกับข้าว ลนตง หรือ เกอตูปัส ส่วนผสมอื่นของโซโตได้แก่บีหุน ถั่วงอก น้ำซุปเป็นสีเหลืองเพราะใส่ขมิ้น หรือข้นเพราะใส่กะทิ

รวมภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Saoto Soup (Surinamese-Javanese)". multiculticooking.com. สืบค้นเมื่อ April 29, 2013.
  2. Simatupang, Lono. Universitas Gadjah Mada Anthropology
  3. Albala, K. (2011). Food Cultures of the World Encyclopedia. Food Cultures of the World Encyclopedia. Greenwood. p. 2-PA109. ISBN 978-0-313-37626-9. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
  4. Rsp. Fav. ala Cake: Sop & Soto (ภาษาฟินแลนด์). Gramedia Pustaka Utama. p. 5. ISBN 978-979-22-3106-9. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
  5. Erwin, L.T. (2008). 100 PTM: Sop & Soto. Gramedia Pustaka Utama. p. 6. ISBN 978-979-22-3908-9. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
  6. Von Holzen, H.; Arsana, L. (2013). Authentic Recipes from Indonesia. Tuttle Publishing. p. 53. ISBN 978-1-4629-0535-5. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
  7. "Sup Babi ( Pig Soup ), Babi Guling Bu Rai Beras Merah" (ภาษาอินโดนีเซีย). December 5, 2011. สืบค้นเมื่อ August 15, 2014.