ข้ามไปเนื้อหา

โบนาเวนตูรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญโบนาเวนตูรา
ไฟรอาร์ มุขนายก
และนักปราชญ์แห่งคริสตจักร
เกิดค.ศ. 1221
เมืองบัญโญเรโจ ในประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1274
เมืองลียง ในประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน
นิกายโรมันคาทอลิก
เป็นนักบุญ14 เมษายน ค.ศ. 1482
โรม
โดย สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4
วันฉลอง15 กรกฎาคม

นักบุญโบนาเวนตูรา (อิตาลี: San Bonaventura) (ค.ศ. 122115 กรกฎาคมค.ศ. 1274) เป็นไฟรอาร์ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ดำรงตำแหน่งอัคราธิการคนที่ 7 ของคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าคณะฟรันซิสกัน ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลบิชอปแห่งอัลบาโน นอกจากนี้ยังเป็นนักปรัชญาและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยกลาง จนได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร มีสมญานามว่า “นักปราชญ์ชั้นเสราฟิม

ประวัติ

[แก้]

นักบุญโบนาเวนตูรา มีนามเดิมว่าโจวันนีแห่งฟีดันซา (Giovanni di Fidanza) เป็นชาวเมืองบัญโญเรโจ (Bagnoregio) ในวัยเด็กเคยล้มป่วยหนัก แต่นักบุญฟรันเชสโกแห่งอัสซีซีได้มาช่วยสวดอ้อนวอนพระเจ้าให้ท่านจนท่านหายป่วย และท่านได้เห็นอนาคตของเด็กน้อย จึงเปล่งอุทานว่า “โอ โบนา เวนตูรา” (ผู้นำโชค!)[1]

เมื่ออายุได้ 20 ปีได้ปฏิญาณตนเป็นไฟรอาร์สังกัดคณะฟรันซิสกัน[1] แล้วไปศึกษาสาขาวิชาปรัชญาและเทววิทยาที่ปารีส[2] และได้รู้จักสนิทสนมกับตอมมาโซแห่งอากวีโน [1] ซึ่งต่อมาผู้นี้ก็ได้กลายเป็นนักบุญและนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกคนหนึ่งของศาสนจักรคาทอลิก เมื่อท่านเรียนจบก็รับหน้าที่เป็นอาจารย์อยู่หลายปี

เมื่ออายุได้ 35 ปี ท่านถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งอัคราธิการของคณะ ซึ่งเป็นช่วงที่คณะของท่านกำลังประสบปัญหาความแตกแยกภายใน[1] ท่านได้ใช้ความรู้และความสามารถอย่างเต็มที่ในการปกครองและจัดการคณะให้เป็นระบบ จนได้รับขนานนามว่าเป็น “ผู้ก่อตั้งและบิดาคนที่สองของคณะ[2] เพราะนักบุญฟรันซิสซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งจริงนั้นไม่ได้วางระบบการบริหารคณะไว้

ท่านยังเป็นผู้ถ่อมตนถึงขั้นปฏิเสธการรับตำแหน่ง “อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก” จากสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 4 แต่ในสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 10 ท่านก็ถูกบังคับให้รับตำแหน่งพระคาร์ดินัลบิชอปแห่งอัลบาโน[1] เพื่อช่วยการจัดประชุมสังคายนาลียงครั้งที่สอง อันมีจุดประสงค์เพื่อรวมคริสตจักรคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ให้เป็นเอกภาพ[2]

มรณกรรม

[แก้]

ก่อนนักบุญโบนาเวนตูราจะถึงแก่มรณกรรม ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งอัคราธิการ[2] และสิ้นใจเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1274 ขณะยังทำหน้าที่อำนวยการงานสังคายนา โดยมีสมเด็จพระสันตะปาปาเฝ้าดูอยู่จนวาระสุดท้ายของท่าน[2]

หลังมรณกรรม

[แก้]

พระคาร์ดินัลโบนาเวนตูรา ได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4 เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1482 และในปี ค.ศ. 1588 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5 ก็ประกาศให้ท่านเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร

ผลงาน

[แก้]
Legenda maior, 1477
  • Life of St Francis of Assisi (ชีวิตของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี), TAN Books, 2010. ISBN 9780895551511
  • On the Reduction of the Arts to Theology (De Reductione Artium ad Theologiam) (การลดทอนศิลปศาสตร์ลงเป็นเทววิทยา), Franciscan Institute Publications, 1996. ISBN 978-1-57659-043-0
  • Itinerarium Mentis in Deum (การเดินทางของวิญญาณสู่พระเป็นเจ้า), (†)Philotheus Boehner, OFM, Franciscan Institute Publications, 2002. ISBN 978-1-57659-044-7
  • Saint Bonaventure’s Disputed Questions on the Mystery of the Trinity (คำถามเรื่องรหัสยภาวะของพระตรีเอกภาพ), Franciscan Institute Publications, 1979. ISBN 978-1-57659-045-4.
  • Bonaventure. Ewert Cousins, translator (The Classics of Western Spirituality ed.). Mahwah, New Jersey: Paulist Press. 1978. ISBN 0-8091-2121-2.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์).

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Bonaventure. Catholic online. เรียกข้อมูลวันที่ 13 ส.ค. พ.ศ. 2553.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมในประเทศไทย, 2550, หน้า 267 – 8