ควินิน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | US: /ˈkwaɪnaɪn/, /kwɪˈniːn/ หรือ UK: /ˈkwɪniːn/ kwin-een |
ชื่อทางการค้า | Qualaquin, Quinate, Quinbisul, อื่น ๆ |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682322 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ปาก, กล้ามเนื้อ, หลอดเลือดดำ, ทวารหนัก |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การจับกับโปรตีน | 70–95%[1] |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ (mostly CYP3A4 and CYP2C19-mediated) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 8–14 ชั่วโมง (ผู้ใหญ่), 6–12 ชั่วโมง (เด็ก)[1] |
การขับออก | ไต (20%) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.004.550 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C20H24N2O2 |
มวลต่อโมล | 324.424 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 177 องศาเซลเซียส (351 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ควินิน[2] (อังกฤษ: quinine) เป็นสารแอลคาลอยด์ที่ได้จากการสกัดเปลือกต้นซิงโคนา (สกุล Cinchona) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของทวีปอเมริกาใต้[3] ควินินมีสูตรเคมีคือ C20H24N2O2 ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีจุดหลอมเหลวที่ 177 °ซ. และจุดเดือดที่ 496 °ซ.[4][5] ควินินถูกสกัดและตั้งชื่อครั้งแรกในปี ค.ศ. 1820 โดยปีแยร์ โฌแซ็ฟ แปลตีเย และโฌแซ็ฟ เบียงแนเม กาว็องตู เภสัชกรชาวฝรั่งเศส ตามคำ quina ในภาษาเกชัวซึ่งหมายถึงเปลือกต้นซิงโคนา[6]
มีหลักฐานว่าชาวเกชัว ชนพื้นเมืองหนึ่งในอเมริกาใต้ใช้ควินินในการรักษาไข้ในรูปของน้ำโทนิก[7] ก่อนที่คณะเยสุอิตจะนำเปลือกต้นซิงโคนาเข้ามายังทวีปยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการใช้เปลือกต้นซิงโคนาในการรักษาโรคมาลาเรียที่ระบาดรอบ ๆ กรุงโรม ความสำเร็จในการรักษาโรคมาลาเรียทำให้เปลือกต้นซิงโคนาเป็นสิ่งที่มีค่ามากและนำไปสู่การเพาะปลูกต้นซิงโคนาตามอาณานิคมต่าง ๆ ทั่วโลก[8]
ควินินใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรคมาลาเรียเรื่อยมาก่อนจะถูกแทนที่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ด้วยยาชนิดใหม่ เช่น คลอโรควีน ซึ่งให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า[9] อย่างไรก็ตาม ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลกยังประกาศให้ใช้ควินินเป็นหนึ่งในยารักษาโรคมาลาเรีย[10] ในปี ค.ศ. 2006 สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ (เอฟดีเอ) ประกาศห้ามใช้ควินินในการรักษาโรคตะคริวขาตอนกลางคืน เนื่องจากควินินอาจส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจอย่างร้ายแรงหากได้รับในปริมาณมาก[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Qualaquin (quinine) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more". Medscape Reference. WebMD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2014.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 244.
- ↑ "genus Cinchona". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
- ↑ "Quinine, anhydrous - MSDS". Fisher Scientific. สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
- ↑ Sabnis, Ram W. (2007). Handbook of Acid-Base Indicators. Boca Raton, Florida: CRC Press. p. 331. ISBN 9780849382192.
- ↑ "Quinine". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ July 21, 2019.
- ↑ "Where Does Tonic Come From?". Pratt Standard Cocktail Company. July 18, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-06. สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
- ↑ "Quinine and Empire". Scientific American Blog Network. August 20, 2015. สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
- ↑ Shah S (2010). The Fever: How Malaria Has Ruled Humankind for 500,000 Years (ภาษาอังกฤษ). Farrar, Straus and Giroux. p. 102.
- ↑ The selection and use of essential medicines: Twentieth report of the WHO Expert Committee 2015 (including 19th WHO Model List of Essential Medicines and 5th WHO Model List of Essential Medicines for Children) (PDF). WHO. 2015. ISBN 9789240694941.
- ↑ Allen RE, Kirby KA (2012). "Nocturnal Leg Cramps". American Family Physician. 86 (4): 350–355. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-29.