ช่องรับแสง
ช่องรับแสง (อังกฤษ: Clerestory, Clearstory, Clerestory, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈklɪə(r)stɔəri/; Overstorey) หรือที่แปลตรงตัวว่า “ชั้นที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง” (clear storey) เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่หมายถึงชั้นบนของบาซิลิกาโรมัน หรือเหนือทางเดินกลางหรือบริเวณพิธีของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคของคริสต์ศาสนสถาน ผนังซึ่งสูงขึ้นไปจากทางเดินข้างและปรุด้วยหน้าต่าง จุดประสงค์ของการมี “ช่องรับแสง” ก็เพื่อให้แสงสว่างสามารถส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างได้
ประวัติ
[แก้]สมัยโบราณ
[แก้]วิธีการสร้างช่องรับแสงปรากฏในการสร้างวัดในอียิปต์ คำว่า “ช่องรับแสง” ที่ใช้ในวัดอียิปต์โบราณหมายถึงบริเวณโถงที่มีแสงส่องเข้ามาได้ระหว่างช่องที่สร้างด้วยหินแนวดิ่งจากในบริเวณที่มีคอลัมน์รับเพดานของทางเดินข้างที่ติดกัน ช่องรับแสงปรากฏในอียิปต์มาตั้งแต่สมัยอมาร์นา (Amarna)[1]
ในพระราชวังมิโนอันของครีตเช่นคนอสซอส นอกจากจะใช้ “ช่องรับแสง” แล้วก็ยังใช้ “lightwell” ด้วย[2]
ช่องรับแสงใช้ในสถาปัตยกรรมกรีก เมื่อมาถึงสมัยโรมันก็มีการใช้ในสิ่งก่อสร้างแบบบาซิลิกาที่รวมทั้งสถานที่อาบน้ำและวัง
บาซิลิกาของคริสเตียนยุคแรกและไบแซนไทน์
[แก้]การสร้างวัดคริสเตียนยุคแรกและบางวัดของสมัยไบแซนไทน์โดยเฉพาะในอิตาลีมีพื้นฐานมาจากสิ่งก่อสร้างแบบบาซิลิกาของโรมันซึ่งยังคงรักษาโถงทางเดินกลาง (nave) ขนาบด้วยทางเดินข้างที่เตี้ยกว่าสองข้าง ทางเดินกลางและทางเดินข้างแยกออกจากกันด้วยแนวเสาเหนือส่วนที่แยกกันเป็นผนังที่สูงขึ้นไปที่มีช่องรับแสงเป็นระยะๆ
สมัยโรมาเนสก์
[แก้]ระหว่างสมัยโรมาเนสก์วัดแบบบาซิลิกาก็สร้างกันทั่วไปในยุโรป วัดส่วนใหญ่มีหลังคาเป็นไม้และมีช่องรับแสงภายใต้ วัดบางวัดมีเพดานโค้งแบบประทุนที่ไม่มีช่องรับแสง แต่การวิวัฒนาการการก่อสร้างที่ใช้เพดานโค้งประทุนซ้อน (groin vault) และเพดานโค้งสัน (ribbed vault) สามารถทำให้สร้างช่องรับแสงได้
เดิมทางเดินกลางของวัดที่มีทางเดินกลางกว้างจะทำเป็นสองชั้นๆ ล่างเป็นซุ้มโค้งและเหนือขึ้นไปเป็นช่องรับแสง ระหว่างสมัยโรมาเนสก์ก็มีการเพิ่มชั้นขึ้นอีกชั้นหนึ่งระหว่างสองชั้นนี้เป็น “ระเบียงเหนือทางเดินข้าง” ระเบียงเหนือทางเดินข้างโดยทั่วไปจะเป็นบริเวณเปิดภายใต้หลังคาที่ลาดลงมาของทางเดินข้าง การก่อสร้างลักษณะนี้กลายมาเป็นมาตรฐานของการก่อสร้างของสมัยปลายโรมาเนสก์และวัดกอธิคขนาดใหญ่หรือมหาวิหาร บางครั้งก็จะมีการเพิ่มระเบียงขึ้นอีกระเบียงหนึ่งในผนังเหนือระเบียงเหนือทางเดินข้างและใต้ช่องรับแสง ลักษณะนี้พบในสิ่งก่อสร้างของสมัยปลายโรมาเนสก์และต้นกอธิคของฝรั่งเศส
สมัยกอธิค
[แก้]ถ้าเป็นวัดเล็กช่องรับแสงก็อาจจะเป็นมหาวิหาร สี่กลีบ (quatrefoil) หรือสามกลีบในวงกลม ในวัดในอิตาลีก็อาจจะเป็นหน้าต่างกลม ถ้าเป็นวัดใหญ่ช่องรับแสงเป็นสิ่งสำคัญของสิ่งก่อสร้างทั้งทางด้านความสวยงามและประโยชน์ทางการใช้สอย เพดานโค้งสันและครีบยันของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคเป็นตัวรับน้ำหนักและความกดดันของสิ่งก่อสร้างที่ทำให้สามารถสร้างช่องรับแสงที่กว้างขึ้นได้ ในสมัยกอธิคช่องรับแสงมักจะแบ่งเป็นช่วงๆ ตามการแบ่งของหลังคาโค้งที่แล่นลงไปตามคอลัมน์ที่เป็นซุ้มโค้งที่แยกระหว่างทางเดินกลางและทางเดินข้าง
แนวโน้มของการวิวัฒนาการช่องรับแสงตั้งแต่สมัยโรมานเนสก์มาจนถึงปลายสมัยกอธิคคือช่องรับแสงที่สูงขึ้นๆ และกว้างขึ้นๆ จนกว้างกว่าสัดส่วนของผนัง
สมัยใหม่
[แก้]การใช้ “ช่องรับแสง” ของสมัยใหม่คือการใช้ด้านบนของสิ่งก่อสร้างที่เป็นแนวหน้าต่างเหนือระดับตาในการให้แสงส่องเข้ามาในบริเวณภายในของสิ่งก่อสร้างโดยไม่ทำให้เสียความเป็นส่วนตัวและไม่ดึงความสนใจไปกับทิวทัศน์ภายนอก การก่อสร้างโรงงานมักใช้วิธีนี้ หรือบ้านสมัยใหม่บางทีก็มีส่วนประกอบนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือโรงละครครอสบีของโรงอุปรากรซานตาเฟที่ทางด้านหน้าและด้านหลังของหลังคาเชื่อมกันด้วยช่องรับแสง เพาโล โซเลอริใช้ “ช่องรับแสง” ที่เรียกว่า “ตวงแสง เก็บถาวร 2009-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน” (light scoops)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gwendolyn Leick and Francis J. Kirk, A Dictionary of Ancient Near Eastern Architecture, 1988, Routledge, 261 pages ISBN 0415002400
- ↑ C. Michael Hogan, Knossos fieldnotes, Modern Antiquarian (2007)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ช่องรับแสง