วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/ผัง
หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปซึ่งผู้ใช้ควรถือปฏิบัติ แม้ควรปฏิบัติโดยสามัญสำนึก และอาจมีข้อยกเว้นในบางโอกาส การแก้ไขใจความสำคัญของหน้านี้ควรสะท้อนความเห็นพ้อง หากไม่มั่นใจให้อภิปรายก่อน |
คู่มือนี้นำเสนอผังโดยทั่วไปของบทความวิกิพีเดีย ซึ่งรวมส่วนที่ปกติบทความมี การเรียงลำดับส่วน และลีลาการจัดรูปแบบสำหรับส่วนย่อยต่าง ๆ ของบทความ
ลำดับส่วนย่อยของบทความ
บทความสั้นควรมีอย่างน้อยส่วนนำและอ้างอิง เมื่อผู้เขียนต่อเติมบทความ ส่วนย่อยที่ใช้ตรงแบบจะปรากฏตามลำดับดังนี้ แม้อาจไม่ปรากฏในบทความเดียวกันพร้อมกันก็ได้
- ก่อนส่วนนำ
- หมายเหตุบน (hatnote)
- คำอธิบายอย่างสั้น
- แม่แบบ {{บทความคัดสรร}} หรือ {{บทความคุณภาพ}} ตามสถานภาพของบทความ
- ป้ายระบุลบ/ป้องกัน
- ป้ายระบุบำรุงรักษา/พิพาท
- กล่องข้อมูล
- กล่องเตือนอักขระต่างประเทศ
- ภาพ
- กล่องนำทาง (กล่องนำทางส่วนหัว)
- เนื้อความ
- ส่วนนำ (หรือเรียกบทนำ)
- สารบัญ
- เนื้อหา
- ภาคผนวก
- ผลงานหรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่ (สำหรับชีวประวัติ)
- ดูเพิ่ม
- หมายเหตุและอ้างอิง (สามารถแบ่งเป็นสองส่วนในระบบการอ้างอิงบางระบบ)
- เอกสารอ่านเพิ่ม
- แหล่งข้อมูลอื่น (External links)[1]
- ส่วนล่าง
- กล่องสืบตำแหน่งและกล่องภูมิศาสตร์
- แม่แบบนำทางอื่น (กล่องนำทางส่วนล่าง)
- พิกัดภูมิศาสตร์ (ถ้าไม่ระบุในกล่องข้อมูล)
- แม่แบบ Authority control (ให้ taxonbar อยู่เหนือ Authority control)
- การเรียงลำดับโดยปริยาย
- หมวดหมู่
- แม่แบบโครง
ส่วนเนื้อความ
บทความที่ยาวกว่าโครงโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และส่วนที่มีความยาวระดับหนึ่งมักแบ่งออกเป็นย่อหน้าต่าง ๆ การแบ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมความน่าอ่านของบทความ ชื่อและลำดับของพาดหัวส่วนมักตัดสินจากโครงการวิกิที่เกี่ยวข้อง ทว่าบทความยังควรยึดหลักการจัดระเบียบและเขียนอย่างดีที่เกี่ยวข้องกับส่วนและย่อหน้าอยู่
พาดหัวและส่วน
พาดหัวนำเสนอส่วนและส่วนย่อย ทำให้บทความกระจ่างโดยแบ่งข้อความ จัดระเบียบเนื้อหา และเติมสารบัญ ส่วนและส่วนย่อยที่สั้นมากหรือยาวมากในบทความดูเกะกะและขัดขวางความลื่นไหลของร้อยแก้ว ย่อหน้าสั้นและประโยคเดี่ยวไม่ควรมีส่วนหัวของตัวเอง
พาดหัวมีลำดับขั้นหกระดับ เรียงตั้งแต่ 1 ถึง 6 ระดับของพาดหัวนิยามจากจำนวนเครื่องหมายเท่ากับที่อยู่ขนาบชื่อพาดหัวนั้น พาดหัว 1 (=พาดหัว 1=
) ก่อกำเนิดอัตโนมัติเป็นชื่อบทความ และไม่เหมาะสมที่จะอยู่ในเนื้อความของบทความ ส่วนจะเริ่มจากระดับสอง (==พาดหัว 2==
) โดยมีส่วนย่อยเริ่มที่ระดับสาม (===พาดหัว 3===
) และส่วนย่อยระดับถัดไปที่ระดับสี่ (====พาดหัว 4====
) ห้าและหก ส่วนควรเรียงลำดับกันไป คือให้เรียงจากส่วนไปยังส่วนย่อยระดับที่ติดกัน ระหว่างส่วนควรคั่นด้วยการแบ่งบรรทัดเดี่ยว เพราะบรรทัดว่างหลายบรรทัดในหน้าต่างแก้ไขจะทำให้เกิดที่ว่างสีขาวมากเกินไปในบทความ ไม่มีความจำเป็นต้องใส่บรรทัดว่างระหว่างพาดหัวและพาดหัวย่อย เมื่อเปลี่ยนหรือลบพาดหัว ลองเพิ่มแม่แบบ:Anchor ที่มีชื่อส่วนหัวเดิมเพื่อรองรับแหล่งข้อมูลอื่นที่เข้ามาและวิกิลิงก์
ชื่อและลำดับของพาดหัวส่วน
เนื่องจากความหลากหลายของหัวข้อในวิกิพีเดีย จึงไม่มีมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติโดยทั่วไปว่าด้วยชื่อหรือลำดับของพาดหัวส่วนภายในเนื้อความของบทความ การปฏิบัติที่ยึดถือกันทั่วไปคือให้ตั้งชื่อและเรียงลำดับส่วนโดยอาศัยบทความคล้ายกันเป็นแบบอย่าง ผู้มีส่วนร่วมควรยึดแบบจำลองความเห็นพ้องเพื่อตั้งระเบียบ
แม่แบบส่วนและลีลาสรุป
เมื่อส่วนเป็นบทสรุปของบทความอื่นซึ่งให้อรรถาธิบายสมบูรณ์ของส่วนนั้น ควรปรากฏลิงก์ไปยังบทความนั้นทันทีหลังพาดหัวส่วน คุณสามารถใช้แม่แบบ {{บทความหลัก}} เพื่อก่อกำเนิดลิงก์ "บทความหลัก" ในลีลาหมายเหตุบนของวิกิพีเดีย
หากบทความตั้งแต่หนึ่งบทความขึ้นไปให้สารสนเทศหรือรายละเอียดเพิ่มเติม (นอกเหนือจากอรรถาธิบายสมบูรณ์ ดูข้างต้น) การพาดพิงถึงบทความเช่นว่าอาจวางไว้ทันทีหลังพาดหัวส่วนสำหรับส่วนนั้น หากทำแล้วไม่ซ้ำซ้อนกับวิกิลิงก์ในข้อความ การพาดพิงเพิ่มเติมควรจัดกลุ่มร่วมกับแม่แบบ {{บทความหลัก}} (ถ้ามี) คุณสามารถใช้แม่แบบต่อไปนี้เพื่อก่อกำเนิดต่อไปนี้
{{ข้อมูลเพิ่มเติม}}
– ก่อกำเนิดลิงก์ "สารสนเทศเพิ่มเติม"{{ดูเพิ่มที่}}
– ก่อกำเนิดลิงก์ "ดูเพิ่มที่"
ย่อหน้า
ส่วนปกติประกอบด้วยร้อยแก้วหลายย่อหน้า ระหว่างย่อหน้าควรเว้นบรรทัดว่างบรรทัดเดียวเช่นเดียวกับส่วนต่าง ๆ ไม่ควรใช้จุดนำ (bullet) ในส่วนนำของบทความ และไม่ควรใช้ในเนื้อความยกเว้นเพื่อแบ่งข้อความปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหัวข้อนั้นต้องใช้ความพยายามเข้าใจอย่างมาก ทว่า รายการจุดนำใช้ในส่วนอ้างอิงและเอกสารอ่านเพิ่มท้ายบทความ จุดนำปกติไม่คั่นด้วยบรรทัดว่าง เพราะจะทำให้เกิดปัญหาด้านความน่าอ่าน
ควรให้มีย่อหน้าประโยคเดียวน้อยที่สุด เพราะสามารถยับยั้งความลื่นไหลของข้อความได้ เช่นเดียวกับที่ย่อหน้าที่มีความยาวมากเกินไปจะทำให้อ่านยาก ย่อหน้าสั้นและประโยคเดียวโดยทั่วไปไม่ควรมีพาดหัวย่อยของมันเอง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ควรใช้จุดนำแทน
ภาคผนวกและข้อความท้ายหน้ามาตรฐาน
พาดหัว
เมื่อใช้ส่วนภาคผนวก ควรปรากฏที่ท้ายบทความ พร้อมกับ ==พาดหัวระดับ 2==
[2] ตามด้วยข้อความท้ายเรื่องต่าง ๆ เมื่อเป็นประโยชน์ในการแบ่งส่วนนี้ย่อยลงไป (ตัวอย่างเช่น เพื่อแยกรายการบทความนิตยสารจากรายการหนังสือ) ให้ใช้พาดหัวระดับ 3 (===หนังสือ===
) แทนพาดหัวรายการนิยาม (;หนังสือ
)
งานหรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่
เนื้อหา: งานที่สร้างโดยสิ่งที่เป็นหัวเรื่องของบทความในลักษณะรายการจุดนำที่ปกติเรียงลำดับตามเวลา
ชื่อเรื่อง: มีใช้หลายชื่อขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง มักใช้ "งาน" เมื่อรายการนั้นรวมสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์เผยแพร่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย (เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ จิตรกรรม การออกแบบการเต้น หรือการออกแบบสถาปัตยกรรม) หรือหากรวมงานหลายประเภท "บรรณานุกรม" "งานเพลง" หรือ "งานภาพยนตร์" บางทีใช้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดาม ไม่ควรใช้ "บรรณานุกรม" เพราะไม่ชัดเจนว่าจำกัดรวมเฉพาะงานของสิ่งที่เป็นของหัวเรื่องบทความหรือไม่
ส่วน "ดูเพิ่ม"
เนื้อหา: รายการจุดนำซึ่งรวบรวมลิงก์ภายในไปยังบทความวิกิพีเดียที่สัมพันธ์ พิจารณาใช้ {{Columns-list}}
หรือ {{Div col}}
ถ้ารายการยาวมาก รายการควรรเรียงลำดับตามตรรกะ ตามเวลา หรืออย่างน้อยตามพยัญชนะ ลิงก์ในส่วน "ดูเพิ่ม" จะเป็นหน้าที่มีความเกี่ยวข้องโดยอ้อมกับหัวข้อบทความก็ได้ เพราะวัตถุประสงค์หนึ่งของลิงก์ "ดูเพิ่ม" คือเพื่อให้ผู้อ่านสำรวจหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กันผิวเผินด้วย
ผู้เขียนควรใส่ความเห็นประกอบสั้น ๆ เมื่อความเกี่ยวข้องของลิงก์ไม่ได้ชัดเจนทันที เมื่อความหมายของคำนั้นไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วไป หรือคำนั้นกำกวม ตัวอย่างเช่น
- บุคคลที่เกี่ยวข้อง – ผู้ประสบความสำเร็จอย่างเดียวกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2548
- ฮอโลคอสต์ – พันธุฆาตโดยนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
การตัดสินว่าลิงก์ใดควรอยู่ในส่วน "ดูเพิ่ม" หรือไม่นั้นสุดท้ายเป็นปัญหาการวินิจฉัยทางบรรณาธิการและสามัญสำนึก ลิงก์ในส่วน "ดูเพิ่ม" ควรมีความเกี่ยวข้อง ควรสะท้อนลิงก์ที่จะมีการนำเสนอในบทความที่ครอบคลุมเกี่ยวกับหัวข้อนั้น และควรจำกัดอยู่ในจำนวนที่สมเหตุผล ส่วนนี้ไม่ได้บังคับว่าต้องมี เพราะบทความคุณภาพสูงและครอบคลุมจำนวนมากไม่มีส่วน "ดูเพิ่ม"
ส่วน "ดูเพิ่ม" ไม่ควรโยงไปยังหน้าที่ยังไม่ได้สร้าง (ลิงก์แดง) หรือไปหน้าแก้ความกำกวม (ยกเว้นใช้แก้ความกำกวมในหน้าแก้ความกำกวมอีกทีหนึ่ง) เป็นกฏทั่วไปว่า ส่วน "ดูเพิ่ม" ไม่ควรซ้ำลิงก์ที่ปรากฏในเนื้อความของบทความแล้ว หรือกล่องนำทาง
ลิงก์ภายในอื่น: ลิงก์ {{สถานีย่อย}}
และ {{Wikipedia books}}
ปกติควรวางอยู่ในส่วนนี้
ชื่อ: ชื่อที่ใช้กันบ่อยที่สุดของส่วนนี้ คือ "ดูเพิ่ม"
หมายเหตุและการอ้างอิง
เนื้อหา: ส่วนนี้ หรือกลุ่มส่วนนี้ อาจประกอบด้วยเนื้อหาต่อไปนี้
- เชิงอรรถอธิบายซึ่งให้สารสนเทศที่มีรายละเอียดมากเกินหรือไม่สละสลวยจนใส่ในส่วนเนื้อความของบทความไม่ได้
- เชิงอรรถอ้างอิง (อาจเป็นการอ้างอิงแบบสั้นหรือสมบูรณ์ก็ได้) ซึ่งเชื่อมโยงเนื้อความจำเพาะในบทความกับแหล่งที่มาหนึ่ง ๆ
- การอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างสมบูรณ์ หากมีการใช้การอ้างอิงสั้นในเชิงอรรถแล้ว
- แหล่งอ้างอิงทั่วไป (การอ้างอิงบรรณานุกรมสมบูรณ์ซึ่งมีการค้นคว้าในการเขียนบทความแต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับเนื้อความอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจนในบทความ)
ผู้เขียนสามารถเลือกวิธีการอ้างอิงวิธีใดก็ได้
หากมีเชิงอรรถอ้างอิงและเชิงอรรถอธิบาย ผู้ใช้อาจรวมทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นส่วนเดี่ยว หรือแยกกันโดยใช้ฟังก์ชันเชิงอรรถจัดเป็นกลุ่ม (grouped footnotes) การอ้างอิงทั่วไปและการอ้างอิงสมบูรณ์อาจรวมหรือแยกกันได้ในทำนองเดียวกัน (เช่น "แหล่งอ้างอิง" และ "แหล่งอ้างอิงทั่วไป") เบ็ดเสร็จแล้วอาจมีส่วนได้ตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงสี่ส่วน
ชื่อเรื่อง: ผู้เขียนอาจเลือกชื่อเรื่องส่วนที่สมเหตุสมผลชื่อใดก็ได้ ตัวเลือกที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ "หมายเหตุ", "เชิงอรรถ" หรือ "งานที่อ้าง"
สำหรับชื่ออื่น (เช่น "บรรณานุกรม") อาจใช้ได้ แต่ "บรรณานุกรม" อาจสับสนกับรายการงานที่บุคคลที่เป็นหัวเรื่องพิมพ์
หนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่ม
เนื้อหา: รายการจุดนำที่ประกอบด้วยสิ่งพิมพ์เผยแพร่จำนวนสมเหตุสมผลซึ่งจะช่วยผู้อ่านที่สนใจให้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นหัวเรื่องของบทความเพิ่มเติม ปกติเรียงลำดับตามพยัญชนะ และจะมีหรือไม่มีก็ได้ ผู้เขียนอาจใส่ความเห็นประกอบสั้น ๆ ได้ สิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่แสดงรายการในส่วนนี้จะมีการอ้างในลีลาการอ้างอิงแบบเดียวกับที่ส่วนที่เหลือของบทความใช้ ส่วนหนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่มไม่ควรทำซ้ำเนื้อหาของส่วนแหล่งข้อมูลอื่น และปกติไม่ควรทำซ้ำเนื้อหาของส่วนอ้างอิง ยกเว้นส่วนอ้างอิงยาวเกินกว่าผู้อ่านจะใช้เป็นรายการอ่านทั่วไปได้ ส่วนนี้ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นที่เก็บแหล่งอ้างอิงทั่วไปหรือการอ้างอิงสมบูรณ์ที่ใช้สร้างเนื้อหาบทความ
แหล่งข้อมูลอื่น
เนื้อหา: รายการจุดนำที่ประกอบด้วยเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องแนะนำ ซึ่งแต่ละลิงก์มีคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ ไฮเปอร์ลิงก์เหล่านี้ไม่ควรปรากฏในข้อความส่วนเนื้อความของบทความ หรือลิงก์ที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงปกติไม่ควรใช้ซ้ำในส่วนนี้ ส่วนนี้อาจใส่ไว้ร่วมกับหรือแทนส่วน "หนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่ม" โดยขึ้นอยู่กับสภาพของเนื้อหาลิงก์
การเชื่อมโยงไปยังโครงการพี่น้อง
การเชื่อมโยงไปยังโครงการพี่น้องของวิกิพีเดียและ {{Spoken Wikipedia}}
(วิกิพีเดีย:โครงการวิกิบทความเสียง) ปกติควรปรากฏใน "แหล่งข้อมูลอื่น" ไม่ใช่ภายใต้ "ดูเพิ่ม" ถ้าบทความไม่มีส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" ให้วางลิงก์ข้ามโครงการไว้บนสุดของส่วนสุดท้ายของบทความ ยกเว้นวิกิพจนานุกรมและวิกิซอร์ซ ที่สามารถเชื่อมโยงในบรรทัดได้ (เช่น ไปยังคำที่ไม่คุ้นเคยหรือข้อความของเอกสารที่กำลังกล่าวถึง)
หากจะกล่าวให้แม่นยำขึ้น แม่แบบชนิดกล่องอย่าง {{คอมมอนส์-หมวดหมู่}}
ที่แสดงด้านขวามือจะต้องวางไว้ ณ จุดเริ่มต้นของส่วนสุดท้ายของบทความ (ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น") เพื่อให้กล่องปรากฏอยู่ข้าง ไม่ใช่ใต้ รายการ อย่าสร้างส่วนที่มีแม่แบบชนิดกล่องเป็นเนื้อหาเดียว
หากแม่แบบชนิดกล่องใช้ไม่ได้ ไม่ว่าเหตุผลทำให้เกิดลำดับกล่องจัดชิดขวายาวห้อยลงจากด้านล่างสุดของบทความ หรือเนื่องจากไม่มีแหล่งข้อมูลอื่นนอกจากโครงการพี่น้อง ให้พิจารณาใช้แม่แบบ "ในบรรทัด" แทน เช่น {{คอมมอนส์-หมวดหมู่-บรรทัด}}
ในส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" เพื่อให้การเชื่อมโยงไปยังโครงการพี่น้องปรากฏเป็นรายการ ดังเช่นตัวอย่าง
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Wikimedia Foundation
แม่แบบนำทาง
เนื้อหา: แม่แบบนำทางและกล่องนำทางท้ายเรื่อง อย่าง "กล่องสืบตำแหน่ง" และกล่องภูมิศาสตร์ (ตัวอย่างเช่น {{ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์}}
) กล่องนำทางส่วนใหญ่ไม่ปรากฏในบทความวิกิพีเดียฉบับพิมพ์