ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(ปลด กิตฺติโสภโณ)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ดำรงพระยศ4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (2 ปี 44 วัน)
สถาปนา4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
ก่อนหน้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ถัดไปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย)
พรรษา53
สถิตวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
ประสูติ27 พฤษภาคม พ.ศ. 2432
ปลด
สิ้นพระชนม์17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (73 ปี)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
พระชนกขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต)
พระชนนีปลั่ง เกตุทัต

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม ปลด เกตุทัต ฉายา กิตฺติโสภโณ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี 1 เดือน 13 วัน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริพระชันษา 73 ปี 21 วัน

พระประวัติ

[แก้]

พระกำเนิด

[แก้]

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า ปลด เกตุทัต ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ตรงกับแรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู ณ บ้านในตรอกหลังตลาดพาหุรัด ติดกับวัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นบุตรขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต) กับนางปลั่ง พระชนกของพระองค์เป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจึงได้กราบทูลลาออกก่อนที่จะทรงกรมหลวง

บรรพชา

[แก้]

ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2444 ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เริ่มเรียนภาษาบาลีตั้งแต่พระชนมายุ 8 ปี เรียนมูลกัจจายน์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ประโยค 1 ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้อยู่ที่วัดเบญจมบพิตร ต่อมาได้เข้าแปลประโยค 2 และประโยค 3 ได้ สอบได้ประโยค 4 เมื่อพระชันษาได้ 13 ปี ประโยค 5 ถึงประโยค 7 เมื่อพระชันษาได้ 14, 15, 16 ปี ตามลำดับ สอบประโยค 8 ได้เมื่อพระชันษาได้ 19 ปี[1] และประโยค 9 เมื่อพระชันษาได้ 20 ปี[2] ในปี พ.ศ. 2451

อุปสมบท

[แก้]

ทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงสายเปรียญธรรม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2452 สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมเจดีย์ (เข้ม ธมฺมสโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "กิตฺติโสภโณ"[3]

ตำแหน่ง

[แก้]

สมณศักดิ์

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม
พะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พ.ศ. 2457 เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิวงษ์[8]
  • พ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูษิต ธรรมบัณฑิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
  • พ.ศ. 2469 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธศีลาจารย์ ญาณนายก ตรีปิฎกธรา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
  • พ.ศ. 2473 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
  • พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองหนกลางที่ พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูษิต มัชฌิมคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สังฆนายก[12]
  • พ.ศ. 2490 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาคณะปธานาดิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[13]
  • พ.ศ. 2503 เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชอนุศาสนาจารย์ กิตติโสภณาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตตมโศภน วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุนทร บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช[14]

พระกรณียกิจ

[แก้]

พระองค์ทรงกระทำกิจทางพระศาสนามาโดยตลอด ด้วยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก ตลอดพระชนมชีพ พอประมวลสรุปได้ดังนี้

สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) เมื่อครั้งยังเป็นสามเณรปลด
  1. ด้านการปกครอง เริ่มตั้งแต่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะมณฑล กรรมการเถรสมาคม ประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช สังฆนายก และรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
  2. ด้านการศึกษา เริ่มตั้งแต่การศึกษาในสำนักวัดเบญจมบพิตร ฯ การศึกษาในมณฑลพายัพ ทั้ง 7 จังหวัด และแขวงกลางจังหวัดพระนคร เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
  3. ด้านการเผยแผ่ มีหนังสือธรรมที่ทรงนิพนธ์ พิมพ์ออกเผยแผ่ เป็นอันมาก เช่น มงคลภาษิต ปราภวภาษิต ศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งงานพระธรรมเทศนา ในโอกาสต่าง ๆ ที่ได้รับการยอย่องว่า มีสำนวนโวหารง่าย ๆ เป็นที่เข้าใจซาบซึ้ง
  4. ด้านการต่างประเทศ ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อการพระศาสนาหลายครั้ง คือ
    • พ.ศ. 2482 ไปตรวจการณ์คณะสงฆ์ ไทรบุรี และปีนัง แทนสมเด็จพระสังฆราช
    • พ.ศ. 2498 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาจตุตถสันนิบาต (สมัยไทย) โดยเป็นประธาน กระทำพิธีเปิดประชุมสังคายนา ณ สหภาพพม่า
    • พ.ศ. 2499 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลอง พุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกา และไปสังเกตการพระศาสนาในประเทศอินเดีย
    • พ.ศ. 2501 เป็นหัวหน้าคณะไปเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุ ณ วัดบุปผาราม เมืองปีนัง สหพันธรัฐมาลายา
    • พ.ศ. 2502 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลองพระพุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น และในปีเดียวกันนี้ ได้นำพระสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้เสด็จไปมนัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ที่อินเดีย
    • พ.ศ. 2504 เสด็จไปสังเกตการพระศาสนา ในสหรัฐอเมริกา ตามคำทูลอาราธนาของมูลนิธิเอเซีย

ผลงาน

[แก้]

งานด้านวิชาการและงานพิเศษ มีงานสำคัญคือ

สิ้นพระชนม์

[แก้]

หลังจากเสวยภัตตาหารเพลในงานทำบุญบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงกลับวัด ถึงเวลา 15.00 น. หลังสรงน้ำ ทรงปวดพระเศียรอย่างรุนแรง พระอุปฐากเชิญแพทย์มาดูพระอาการ พระองค์ตรัสกับแพทย์ได้ไม่กี่คำก็สิ้นพระชนม์ แพทย์ลงความเห็นว่าเส้นพระโลหิตใหญ่ในพระมัตถลุงค์แตก[15] เมื่อเวลา 16.27 น. สิริพระชันษาได้ 73 ปี 21 วัน สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศให้สถานที่ราชการลดธงครึ่งเสา 3 วัน และข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน เพื่อถวายความอาลัย และได้มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส[16]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี [เรื่อง การสอบไล่พระปริยัติธรรมประจำ ศก ๑๒๖ กับรายนามพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่ได้], เล่ม 25, 12 เมษายน ร.ศ. 127, หน้า 35
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี [เรื่อง รายนามพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้], เล่ม 25, 28 มีนาคม ร.ศ. 127, หน้า 1489
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การอุปสมบทสามเณรปลด ปเรียญ ๙ ประโยค, เล่ม ๒๖, ๑๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘, หน้า ๖๒๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งพระคณาจารย์โทในทางบาลี, เล่ม 37, ตอน 0, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2463, หน้า 2834
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าคณะมณฑลพายัพ, เล่ม 44, ตอน 0 ง, วันที่ 24 เมษายน 2470, หน้า 259
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง, เล่ม 45, ตอน 0 ง, วันที่ 4 พฤศจิกายน 2471, หน้า 2300-1
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งสังฆนายก, เล่ม 68, ตอนที่ 50, วันที่ 31 กรกฎาคม 2494, หน้า 3085-6
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม 31, วันที่ 11 พฤศจิกายน 2457, หน้า 1844
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณะศักดิ์, เล่ม 40, วันที่ 25 พฤศจิกายน 2466, หน้า 2597
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 43, วันที่ 26 พฤศจิกายน 2469, หน้า 3047
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 47, วันที่ 9 พฤศจิกายน 2473, หน้า 2907
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 56, วันที่ 4 มีนาคม 2482, หน้า 3529-3532
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 27, เล่ม 64, วันที่ 17 มิถุนายน 2490, หน้า 430-434
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม ๗๗, ตอน๓๘ ก ฉบับพิเศษ, ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓, หน้า ๑
  15. พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๙ พระองค์, หน้า 211
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์, เล่ม 79 ฉบับพิเศษ, ตอนที่ 55, 18 มิถุนายน 2505, หน้า 1
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • วัดบวรนิเวศวิหาร. พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๙ พระองค์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อุดมศึกษา, 2552. ISBN 978-974-235-262-2
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) ถัดไป
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2505)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย)
พระศาสนโศภน (จวน อุฏฺฐายี)
สังฆนายก
(พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2503)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี)
พระพรหมมุนี (อ้วน ติสฺโส)
เจ้าคณะรองหนกลาง
(พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2484)
(ตำแหน่งถูกยกเลิกตาม
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484)
สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)
เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
(พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2505)
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)