ข้ามไปเนื้อหา

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ (OPV-552)
ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นริเวอร์
ชื่อเรือหลวง ประจวบคีรีขันธ์
ตั้งชื่อตามจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อู่เรืออู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย
ปล่อยเรือ23 มิถุนายน พ.ศ. 2560
เดินเรือแรก2 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เข้าประจำการ27 กันยายน พ.ศ. 2562
รหัสระบุ
คำขวัญ
  • ด่านหน้า กล้าหาญ
  • Frontier Fearless
สถานะยังอยู่ในประจำการ
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): เต็มที่ 1,960 ตัน
ความยาว: 90.5 เมตร
ความกว้าง: 13.5 เมตร
ความลึก: 3.8 เมตร
ระบบพลังงาน: เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel 16V 23/33D กำลัง 7,200 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
ระบบขับเคลื่อน: 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
ความเร็ว: 23 นอต (43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด
พิสัยเชื้อเพลิง: 3500 ไมล์ทะเล ที่ 15 นอต
อัตราเต็มที่: 116 นาย
ลูกเรือ: 99 นาย
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • 2 × เรดาร์เดินเรือ Northrop Grumman Sperry Marine และ Furuno
  • 1 × เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant
  • 1 × เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง STIR 1.2 EO Mk.2
  • 1 × ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSB2525 (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Variant)
  • 1 × ระบบอำนวยการรบ ESM VIGILE Mk2 Tactical multi-purpose R-ESM
  • 1 × ระบบรวมการสื่อสาร (ICS) Thales FICS (Fully Integrated Communications System)
  • 1 × ระบบรวมการควบคุมเครื่องจักร (IPMS) Servowatch
  • 1 × ระบบสื่อสารใต้น้ำ Aquacom
  • 1 × ระบบเรดาร์นำทาง Thales Scout
  • 1 × ระบบลิ้ง link Y Mk2 + link RTN
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: 2 × เครื่องยิงเป้าลวง (Decoy Launcher) SKWS DL-12T
ยุทโธปกรณ์:
  • 1 × ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76/62 แท่นเดี่ยว
  • 2 × ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30/70แท่นเดี่ยว
  • 2 × ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50
  • 2 × อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Harpoon Block II แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System จำนวน 1 ระบบ แท่นละ 4 ท่อยิง
  • 1 × เครื่องยิงเป้าลวง จำนวน 2 แท่น
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: 1 × ดาดฟ้าบินเฮลิคอปเตอร์เฮลิคอปเตอร์ขนาดไม่ต่ำกว่า 11.5 ตัน

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ (OPV-552) (อังกฤษ: HTMS Prachuap Khiri Khan) เป็นเรือลำที่สองในเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ พัฒนามาจากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น ริเวอร์

เรือหลวงประจวบคิรีขันธ์ มีหมายเลขตัวเรือ 552 ประจำการอยู่ในสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยเรือมีขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 1,960 ตัน และเป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยสร้างมา[2]

ประวัติ

[แก้]

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือไทย สอดคล้องตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่สนับสนุนให้กองทัพเรือต่อเรือไว้ใช้ในราชการภายในประเทศ เริ่มตนจากเรือ ต.91 และขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม โดยโครงการดังกล่าวดำเนินการเป็นระยะเวลา 4 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งเป็น 2 ระยะ[3] คือ

  • ระยะที่ 1 จัดหาตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบไปด้วยแบบของเรือและวัสดุในการสร้างเรือ ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบบริการด้านเคนิค ระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 - 2561
  • ระยะที่ 2 จัดหาระบบควบคุม บังคับบัญชา ตรวจการ และระบบอาวุธของเรือ ใช้ระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2559 - 2561 โดยทั้งสองระยะนั้นดำเนินการก่อสร้างที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และกองทัพเรือขึ้นประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562[3] โดยมีพิธีรับมอบเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562[4]

ภารกิจ

[แก้]

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจในการลาดตระเวนตรวจการณ์และรักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย[2][3]

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

การออกแบบ

[แก้]

คุณลักษณะ

[แก้]

เรือหลวงประจวบคิรีขันธ์ ประกอบด้วยคุณลักษณะ[2] ดังนี้

  • ขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 1,960 ตัน[4]
  • ความยาวตลอดลำ 90.5 เมตร[4]
  • ความกว้าง 13.5 เมตร[4]
  • ความยาวแนวน้ำ 83.00 เมตร[3]
  • กินน้ำลึก 3.7 เมตร[3]
  • อัตราการทนคลื่นลมรุนแรง ระดับ Sea State 5[3]
  • ความเร็วสูงสุด 23 น็อต[3]
  • ความเร็วเดินทาง 15 น็อต[3]
  • รัศมีทำการสูงสุด 3,500 ไมล์ทะเล[3]
  • กำลังพล 115 นาย
    • ประจำเรือ 99 นาย[3]
    • ปฏิบัติการทางอากาศ 16 นาย[3]

ระบบขับเคลื่อนตัวเรือ

[แก้]
  • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel 16V 23/33D กำลัง 7,200 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง[5]
  • ชุดเกียร์แบบ ZF Marine 53600 NR2H[7]
  • เพลาใบจักรจำนวน 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้[7]

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ประจำเรือ

[แก้]
  • เรดาร์เดินเรือ Northrop Grumman Sperry Marine และ Furuno[7]
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant[7]
  • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง STIR 1.2 EO Mk.2[7]
  • ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSB2525 (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Variant)[7]
  • ระบบอำนวยการรบ ESM VIGILE Mk2 Tactical multi-purpose R-ESM[7]
  • ระบบรวมการสื่อสาร (ICS) Thales FICS (Fully Integrated Communications System)[7]
  • ระบบสื่อสารใต้น้ำ Aquacom[7]
  • ระบบเรดาร์นำทาง Thales Scout[7]
  • ระบบลิ้ง link Y Mk2 + link RTN[7]

ระบบอาวุธประจำเรือ

[แก้]
ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 นิ้ว
  • ระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ 1 ระบบ[3]
  • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น[3]
  • ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น[3]
  • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 นิ้ว แท่นเดี่ยว 2 แท่น[3]
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Harpoon Block II แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System จำนวน 1 ระบบ 2 แท่นยิง แท่นละ 4 ท่อยิง[3]
  • เครื่องยิงเป้าลวง (Decoy Launcher) SKWS DL-12T จำนวน 2 แท่น[3][7]

ระบบสนับสนุนการรบ

[แก้]
  • ปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ขนาดไม่ต่ำกว่า 11.5 ตัน ปฏิบัติงานได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:5923762/mmsi:567544000/imo:9803948/vessel:RTN_552
  2. 2.0 2.1 2.2 "ชม เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV ยิงจรวดนำวิถีปราบเรือผิวน้ำ Harpoon". www.thairath.co.th. 2023-03-29.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 "ยลโฉม! เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ฝีมือทร.ไทย เสริมเขี้ยวเล็บกำลังรบ". pptvhd36.com. 2019-08-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "พิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 admin (2022-09-28). "ครบรอบ 3 ปี เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์". มติรัฐออนไลน์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "Royal Thai Navy - Detail History". www.fleet.navy.mi.th. สืบค้นเมื่อ 2024-09-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 "เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).