ข้ามไปเนื้อหา

เฮดี ลามาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮดี ลามาร์
ลามาร์ในภาพยนตร์เรื่อง The Heavenly Body (1944)
เกิดเฮดวิก อีวา มาเรีย คีส์เลอร์
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914(1914-11-09)[a]
เวียนนา, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต19 มกราคม ค.ศ. 2000(2000-01-19) (85 ปี)
คาสเซิลแบร์รี, สหรัฐอเมริกา
พลเมืองออสเตรีย
สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี 1953)
อาชีพนักแสดง นักประดิษฐ์
ปีปฏิบัติงาน1930–1958
คู่สมรสฟรีดริช แมนดัล
(1933–1937; หย่า)
ยีน มาร์คีย์
(1939–1941; หย่า; บุตร 1 คน)
จอห์น โลเดอร์
(1943–1947; หย่า; บุตร 2 คน)
เท็ดดี สตาฟเฟอร์
(1951–1952; หย่า)
ดับเบิลยู. ฮาเวิร์ด ลี
(1953–1960; หย่า)
ลูอิส เจ. โบล์ส
(1963–1965; หย่า)

เฮดี ลามาร์ (อังกฤษ: Hedy Lamarr; 9 พฤศจิกายน 1914 – 19 มกราคม 2000)[a] หรือชื่อเกิดว่า เฮดวิก อีวา มาเรีย คีส์เลอร์ (Hedwig Eva Maria Kiesler) เป็นนักแสดงภาพยนตร์และนักประดิษฐ์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน[1] ในระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงต้นในอาชีพการแสดงในปี 1930 เธอได้เล่นหนังสัญชาติเยอรมันเป็นเรื่องแรกใน Ecstasy (1933) ซึ่งในภาพยนตร์มีภาพเปลือยและฉากรักจำนวนมากทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นกับสามีของเธอ ลามาร์จึงหนีออกจากสามีไปอยู่ที่ปารีส และขณะที่เธออยู่ที่นั่นก็ได้พบกับเอ็มจีเอ็ม หลุยส์ บี. เมเยอร์ เขาเสนอให้เธอเซ็นสัญญาเพื่อภาพยนตร์ในฮอลลีวูด และทำให้เธอกลายเป็นดาราภาพยนตร์ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ถึง 1950[2]

ลามาร์ ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมหลายเรื่อง เช่น Algiers (1938), I Take This Woman (1940), Comrade X (1940), Come Live With Me (1941), H.M. Pulham, Esq. (1941) และ Samson and Delilah (1949)[3]

ในตอนต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ลามาร์และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน จอร์จ แอนเทม ได้พัฒนาระบบการสื่อสารอาวุธตอร์ปิโดของกองทัพสหรัฐอเมริกา ในการพัฒนาวิธีการสื่อสารโทรคมนาคมแบบการกระจายคลื่นและความถี่ ที่ปล่อยสัญญาณแบบหลายระดับและช่วยป้องกันการดักจับจากศัตรูได้[4] ในปี 1942 เฮดีและจอร์จได้รับการยอมรับจากกองทัพสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อ ระบบการสื่อสารซึ่งเป็นความลับ (Secret Communications System) หลังจากนั้นในปี 1950 เฮดีและจอร์จกลับมาเปิดบริษัทแห่งหนึ่งเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายที่ชื่อว่า CDMA ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีของเธอได้รับการประยุกต์ใช้ทางพาณิชย์เป็นสัญญาณโทรศัพท์มือถือบลูทูธและไวไฟ[5][6][7] และทำให้เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นนักประดิษฐ์แห่งชาติฮอลล์ออฟเฟมในปี 2014[4][8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hedy Lamarr: Inventor of more than the 1st theatrical-film orgasm". Los Angeles Times. 28 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2012.
  2. "Hedy Lamarr: Secrets of a Hollywood Star". Edition Filmmuseum 40. Edition Filmmuseum.com. Retrieved 3 May 2014.
  3. Haskell, Molly (10 ธันวาคม 2010). "European Exotic". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2012.
  4. 4.0 4.1 "Movie Legend Hedy Lamarr to be Given Special Award at EFF's Sixth Annual Pioneer Awards" (Press release). Electronic Frontier Foundation. 11 มีนาคม 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014.
  5. "Hollywood star whose invention paved the way for Wi-Fi" เก็บถาวร 2016-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, New Scientist, 8 December 2011. Retrieved 4 February 2014.
  6. Craddock, Ashley (11 มีนาคม 1997). "Privacy Implications of Hedy Lamarr's Idea". Wired. Condé Nast Digital. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2013.
  7. "Hedy Lamarr Inventor" (PDF). The New York Times. 1 ตุลาคม 1941. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014.
  8. "Spotlight – National Inventors Hall of Fame". invent.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]