21632 สุวรรณศรี
หน้าตา
การค้นพบ | |
---|---|
ค้นพบโดย: | โครงการวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น |
ค้นพบเมื่อ: | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 |
ชื่อตามระบบ MPC: | 21632 |
ชื่ออื่น ๆ: | 1999 NR11 |
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย: | แถบดาวเคราะห์น้อย |
ลักษณะของวงโคจร | |
ต้นยุคอ้างอิง 14 พฤษภาคม 2008 | |
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 3.0547781 AU |
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1.7134193 AU |
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.2813136 |
คาบดาราคติ: | 1344.5742228 d |
มุมกวาดเฉลี่ย: | 131.73185 |
ความเอียง: | 5.91898° |
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 295.45022 |
มุมของจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 37.70878 |
ลักษณะทางกายภาพ |
21632 สุวรรณศรี (1999 NR11) เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งในแถบหลัก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โดยทีมวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น เมืองโซคอร์โร รัฐนิวเม็กซิโก
ชื่อนี้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ครองรัฐ สุวรรณศรี อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หนึ่งในคณะผู้ร่วมทำโครงงานพฤกษศาสตร์ “การแตกตัวของฝักต้อยติ่ง” และได้รับรางวัลที่ 2 ในงาน Intel International science and Engineering Fair (ISEF) เมื่อ พ.ศ. 2549 ตามที่เสนอโดยโครงการ Ceres Connection ของหอดูดาวลินคอล์น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นสถาบันที่ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้
อ้างอิง
[แก้]- 21632 Suwanasri (1999 NR11) - JPL/NASA
- ครองรัฐ สุวรรณศรี เก็บถาวร 2009-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา
- Ceres Connection เก็บถาวร 2009-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - MIT