ข้ามไปเนื้อหา

COPINE Scale

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

COPINE Scale เป็นมาตราสำหรับประเมินที่สร้างขึ้นในประเทศไอร์แลนด์แล้วต่อมาใช้ในสหราชอาณาจักรเพื่อจัดลำดับความร้ายแรงของรูปทารุณเด็กทางเพศ โดยตามกฎหมายของประเทศ คำว่า "เด็ก" หมายถึงบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี[1] เจ้าหน้าที่ของโปรเจ็กต์ COPINE (Combating Paedophile Information Networks in Europe แปลว่า เครือข่ายข้อมูลต่อสู้คนใคร่เด็กในยุโรป) พัฒนามาตราสำหรับประเมินนี้ขึ้น[2] โดยเป็นโปรเจ็กต์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 และมีสำนักงานอยู่ที่คณะจิตวิทยาประยุกต์ที่ยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจ คอร์ก (University College Cork) ในประเทศไอร์แลนด์

การใช้มาตรา

[แก้]

เพื่อการรักษา

[แก้]

มาตรานี้พัฒนาขึ้นดั้งเดิมเพื่อการบำบัดรักษาทางจิตวิทยา โดยเฉพาะแล้ว เป็นมาตราที่ใช้แยกแยะสื่ออนาจารเด็ก (child erotica) จากสื่อลามกอนาจารเด็ก (child pornography) นักจิตวิทยานิติเวชศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำงานในโปรเจ็กต์ COPINE ศ.แม็กซ์ เทย์เลอร์ เขียนไว้ว่า "ความสำคัญของการแยกแยะเช่นนี้ก็เพื่อเน้นคุณลักษณะทางเพศที่เป็นไปได้ของประเภทต่าง ๆ ของภาพถ่าย (และสื่ออื่น ๆ) ซึ่งทั้งหมดอาจจะไม่ผ่านกฎเกณฑ์ความลามกอนาจาร"[3]

กระบวนการยุติธรรม

[แก้]

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 โปรเจ็กต์ COPINE ได้ร่วมมือกับหน่วยคนใคร่เด็กของเจ้าหน้าที่ตำรวจลอนดอน พัฒนาแบบลักษณ์ (typology) เพื่อจัดหมวดหมู่ภาพทารุณเด็กทางเพศเพื่อใช้ทั้งในงานวิจัยและงานบังคับกฎหมาย[4] แบบลักษณ์ 10 ขั้นที่ตั้งขึ้น อาศัยการวิเคราะห์ภาพที่มีตามเว็บไซต์และตามกลุ่มข่าวทางอินเทอร์เน็ต (internet newsgroups) ต่อมานักวิจัยอื่น ๆ จึงเริ่มใช้มาตรา 10 ขั้นที่คล้าย ๆ กัน[5]

COPINE Scale
1 Indicative (ชี้) ภาพที่ไม่อนาจาร ไม่แสดงสภาวะทางเพศ ที่แสดงเด็กในชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ มาจากแหล่งการค้าหรืออัลบั้มรูปของครอบครัว หรือภาพเด็กเล่นในสิ่งแวดล้อมปกติ แต่ว่าเป็นภาพที่อยู่ในบริบทหรือการจัดหมวดหมู่ของผู้สะสมที่ชี้ความไม่สมควร
2 Nudist (เปลือย) ภายเด็กเปลือยหรือกึ่งเปลือยในสิ่งแวดล้อมเปลือยที่สมควร และมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมายต่าง ๆ
3 Erotica (อนาจาร) รูปแอบถ่ายเด็กในที่เล่นหรือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่าง ๆ แสดงชุดชั้นในหรือการเปลือยกายในระดับต่าง ๆ
4 Posing (วางท่า) รูปวางท่าของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย (ที่ปริมาณความเปลือย บริบท หรือการจัดภาพแสดงความสนใจทางเพศ)
5 Erotic Posing (วางท่าอนาจาร) รูปวางท่าของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย ที่แสดงลักษณะทางเพศหรือเร้าอารมณ์
6 Explicit Erotic Posing (วางท่าอนาจารชัดแจ้ง) ภาพที่เน้นบริเวณอวัยวะเพศของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย
7 Explicit Sexual Activity (กิจกรรมทางเพศชัดแจ้ง) ภาพที่แสดงการสัมผัส การสำเร็จความใคร่ร่วมกันหรือด้วยตนเอง การร่วมเพศทางปาก และการร่วมเพศ ของเด็ก ที่ไม่เกี่ยวกับผู้ใหญ่
8 Assault (การทำร้าย) ภาพเด็กถูกทำร้ายทางเพศ รวมทั้งการจับต้องด้วยนิ้ว ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่
9 Gross Assault (การทำร้ายอย่างร้ายแรง) รูปทำร้ายทางเพศที่ลามกอนาจารอย่างร้ายแรง รวมทั้งกิจกรรมทางเพศที่มีการสอดใส่ (penetrative sex) การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การร่วมเพศทางปาก ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่
10 Sadistic/Bestiality (เกี่ยวกับความซาดิสม์หรือสัตว์) ก. ภาพที่แสดงเด็กถูกมัด ผูก ตี เฆี่ยน หรือการอื่นที่ส่องให้เห็นความเจ็บปวด

ข. ภาพที่มีสัตว์แสดงพฤติกรรมทางเพศเกี่ยวกับเด็ก

SAP scale

[แก้]

คดีศาลอุทธรณ์ปี 2002[6] ตั้งมาตราอีกอย่างที่จัดระดับภาพลามกอนาจารเด็ก คือ คณะแนะนำการตัดสิน (Sentencing Advisory Panel) ของสหราชอาณาจักรได้ยอมรับมาตรา 5 ขั้นที่เรียกว่า SAP scale ซึ่งทำโดยใช้ศัพท์ต่าง ๆ จากมาตรา COPINE ดังนั้น จึงมักจะมีความเข้าใจสับสนกัน[7]

SAP Scale
1 เปลือยหรือแสดงท่าทางอนาจารที่ไม่มีกิจกรรมทางเพศ
2 กิจกรรมทางเพศระหว่างเด็ก หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเดี่ยวของเด็ก
3 กิจกรรมทางเพศที่ไม่มีการล่วงล้ำระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
4 กิจกรรมทางเพศที่มีการล่วงล้ำระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
5 ภาพเกี่ยวกับความซาดิสม์หรือสัตว์

เอกสารของ SAP อธิบายอย่างละเอียดว่ากฎเกณฑ์ของ COPINE ได้นำมาใช้อย่างไร โดยกล่าวด้วยว่า COPINE scale มีจุดประสงค์เพื่อการรักษา ไม่ใช่ให้ใช้ในศาล แต่เมื่อตรวจสอบก็จะพบได้ว่า หมวด 2–5 ของมาตรานี้ เท่ากับหมวด 7–10 ของ COPINE scale ส่วนหมวด 1 ของมาตรานี้ดูเหมือนจะคล้าย ๆ กับหมวด 4–6 ของ COPINE scale ส่วนหมวด 1 ของ COPINE scale ไม่รวมอยู่ในมาตรานี้ เพราะว่า "ภาพที่มีลักษณะเช่นนี้จะไม่จัดหมวดว่าเป็นรูปลามกอนาจาร" ส่วนคณะที่ออกมาตรานี้พบว่า หมวด 2–3 ของ COPINE ไม่ชัดเจนว่าเป็นรูปอนาจารหรือไม่[7]

แนวทางการตัดสินความผิดทางเพศ

[แก้]

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014 มีการออกแนวทางการตัดสินความผิดทางเพศใหม่ คือ[8][9]

แนวทางการนิยามการทำผิดทางเพศ
(Sexual Offences Definitive Guideline)

หมวด A

ภาพกิจกรรมทางเพศที่มีการล่วงล้ำ และ/หรือภาพกิจกรรมทางเพศกับสัตว์หรืออย่างซาดิสม์

หมวด B

ภาพกิจกรรมทางเพศที่ไม่มีการล่วงล้ำ

หมวด C

ภาพลามกอนาจารอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในหมวด A หรือ B

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Family Law Reform Act 1969". Legislation.gov.uk (National Archives). สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
  2. "COPINE Project News and Upcoming Events". COPINE Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007.
  3. Taylor, Max; Holland, G; Quayle, E. (2001). "Typology of Paedophile Picture Collections" (PDF). The Police Journal. 74: 97–107. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2012.
  4. Quayle, Ethel (กันยายน 2008). "The COPINE Project". Irish Probation Journal. Probation Board for Northern Ireland. 5. ISSN 1649-6396.
  5. Taylor, M.; Quayle, E.; Holland, G. (2001). "Child Pornography, the Internet and Offending". The Canadian Journal of Policy Research. ISUMA. 2 (2): 94–100.
  6. "Regina v. Oliver (case summary)". 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
  7. 7.0 7.1 Vella, Paul. "Understanding Computer Evidence" (PDF). Evidence Matters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
  8. "Sentencing Council - Sexual Offences Definitive Guideline" (PDF). sentencingcouncil.org.uk. Sentencing Council. 2013. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2023.
  9. "Assessment Levels". IWF. Internet Watch Foundation (IWF). สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]